ดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน พ.ค. คืนชีพครั้งแรกรอบ 15 เดือน หลังดิ่งสุดรอบ 21 ปี 7 เดือน

ดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน .. คืนชีพครั้งแรกรอบ 15 เดือน หลังดิ่งสุดรอบ 21 ปี 7 เดือน

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจเปิดเผยว่า จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 2,248 ตัวอย่าง พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนพฤษภาคม 2563 ปรับตัวดีขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 15 เดือน อยู่ที่ระดับ 48.2 จากเดิม 47.2 ในเดือนเมษายน และปรับตัวดีขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือนนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ในช่วงเดือนมกราคม ที่ผ่านมา หลังจากรัฐบาลได้ผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์เฟส 1-2 ทำให้มีการกลับมาเริ่มต้นเปิดธุรกิจอีกครั้ง ประชาชนสามารถออกจากบ้านและสามารถเข้าไปในที่ต่างๆ ได้คล่องตัวมากขึ้น สร้างความเชื่อมั่นว่าสถานการณ์จะไม่แย่ลงไปกว่านี้ เพราะตัวเลขผู้ติดเชื้อลดลง แต่ยังคงเป็นดัชนีที่อยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ หรือต่ำสุดในรอบ 21 ปี 7 เดือน เนื่องจากมีการล็อกดาวน์ธุรกิจเกือบทั้งหมด และไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเลยภายในเดือนมีนาคมเมษายน ที่ผ่านมา โดยการปรับตัวของดัชนีความเชื่อมั่นฯ เป็นการหยุดทรุดตัวลง และพร้อมที่จะมีความเชื่อมั่นดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากสถานการณ์เป็นบวกต่อไป แต่ก็พร้อมจะปรับตัวลดลงอีกครั้ง หากสถานการณ์กลายเป็นลบเพิ่มเติม ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ที่ปรับเพิ่มขึ้นเพียง 1 เดือน ยังไม่สามารถชี้ได้ว่าความเชื่อมั่นจะกลับมาดีขึ้นได้มากหรือน้อยเท่าใด เพราะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ปัจจัยทางเศรษฐกิจในอนาคต สำหรับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในปัจจุบันปรับตัวดีข้ึนจากระดับ31.5 มาอยู่ที่ระดับ 32.2 ขณะท่ีดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอนาคต ระยะ 6 เดือนข้างหน้า ปรับตัวดีข้ึนจากระดับ54.6 มาอยู่ท่ีระดับ 55.7

นายธนวรรธน์กล่าวว่า ดัชนีอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 260 เดือนที่ทำการสำรวจมา จึงตีความว่าจะเป็นความเชื่อมั่นที่กลับมาบ้าง แม้จะเงยหัวขึ้นมาบ้าง แต่ไม่ได้เพิ่มขึ้นมาอย่างมีนัยยะสำคัญมากนัก ทำให้ประเมินว่าคนยังขาดความเชื่อมั่น นับตั้งแต่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 ทำให้การจับจ่ายใช้สอยยังไม่มีการฟื้นกลับมา การค้าขายไม่คล่องตัวโดยเฉพาะสินค้าคงทน หรือสินค้าที่ไม่จำเป็นในการดำเนินชีวิต ส่วนสินค้าที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตยังใช้ขายได้อยู่แม้ยอดขายจะยังไม่ดลับมา 100% เพราะมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม และกาาคัดกรองเข้มข้น ทำให้กำลังซื้อยังไม่กลับมาเต็มที่ และอาจยังไม่อยากออกจากบ้านมากนัก โดยความเชื่อมั่นที่ดีขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงสัญญาณการทรุดตัวของเศรษฐกิจยังไม่มีต่อเนื่อง หากไม่มีการกลับมาแพร่ระบาดระลอก 2 ของไวรัสโควิด-19 หากไม่มีเหตุการณ์เสี่ยงทางการเมืองจนทำให้เกิดความกังวลมากขึ้น และไม่มีความตึงเครียดของปัจจัยสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีนคาดว่าเศรษฐกิจน่าจะผ่านจุดต่ำสุดแล้วในเดือนพฤษภาคม หรือควรเป็นจุดต่ำสุดในในไตรมาส 2 นี้ แต่ยังถือเป็นการประเมินที่ยาก

เศรษฐกิจไทยมีโอกาสติดลบ -3.5% ถึง -5% โดยหอการค้ายังไม่ได้เปลี่ยนมุมมอง เพราะมองว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและธุรกิจของไทยจะทยอยกลับมาเป็นปกติในเดือนพฤษภาคม ซึ่งมีการผ่อนคลายล็อกดาวน์เฟส 1-2 ออกมา รวมถึงเริ่มเปิดเฟส 3 ต่อเนื่อง โดยมีสมมุติฐานในเชิงบวก มองว่าเศรษฐกิจไทยจะติดลบเพียง -3.5% จากการท่องเที่ยวเปิดในเดือนกรกฎาคมนี้ รัฐบาลอัดมาตรการกระตุ้น ทั้งมาตรการทางการคลัง อัดเม็ดเงินกู้ 4 แสนล้านบาท เข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเต็มกำลังในช่วงเดือนกรกฎาคมนี้ จะทำให้กลับมาฟื้นตัวมากขึ้น และเปิดน่านฟ้าให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา ทำให้ทั้งปีเข้ามาได้อย่างน้อย 12 ล้านคน รวมถึงกระตุ้นให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟท์โลน) ที่เตรียมเงินไว้ 5 แสนล้านบาท อัดฉีดเข้าระบบได้เต็มที่ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดเล็กและกลาง (เอสเอ็มอี) โอกาสที่เศรษฐกิจไทยจะติดลบ -3.5% มีความเป็นไปได้ แต่หากสถานการณ์ไม่เป็นไปตามที่ประเมินไว้ โอกาสที่เศรษฐกิจจะติดลบเพิ่มขึ้นมีความเป็นไปได้ ทำให้ในช่วงไตรมาส 3 รัฐบาลควรอีดฉีดเม็ดเงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจอย่างน้อย 2 แสนล้านบาท เน้นการส่งเสริมการจ้างงานในพื้นที่เป็นหลัก การท่องเที่ยวในประเทศ เพื่อกระจายเม็ดเงินให้ทั่วถึง

นายธนวรรธน์กล่าวว่า การผ่อนคลายล็อกดาวน์เฟส 1-3 จะทำให้ธุรกิจกลับมาดำเนินการได้ใกล้เคียงปกติประมาณ90% จากสถานประกอบการทั่วประเทศ แต่เนื่องจากการใช้มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม จะทำให้ยอดขายกลับมาเพียง 50% โดยจะทำให้มีเงินสะพัดเข้ามาประมาณ 6-8 พันล้านบาท หรือเดือนละ 2 แสนล้านบาท โดยการใช้มาตรการกเว้นระยะห่างทางสังคมทำให้มีเงินสะพัดก่อน 1 แสนล้านบาทต่อเดือน และเมื่อปลดล็อกมาตรการเฟส 3 ทุกอย่างเป็นไปตามปกติ สามารถนั่งรับประทานอาหารร่วมกันได้ จะมียอดเงินหมุนเวียน 8-9 พันล้านบาท ทั้ง 3 ระยะ หรือเดือนละ 2.5 แสนล้านบาท แต่เนื่องจากการควบคุมระยะห่างระหว่างกัน โอกาสที่เม็ดเงินจะสะพัดในระบบเศรษฐกิจ จะอยู่ที่เดือนละ 1.5 – 1.8 แสนล้านบาท โดยเศรษฐกิจไทยจะมีสัญญาณการฟื้นตัวชัดขึ้นในปลายไตรมาส 3 และขยายตัวเป็นบวกเล็กน้อยได้ในช่วงไตรมาส 4 จึงมองว่าโอกาสที่เศรษฐกิจไทยทั้งปีจะติดลบ -5% ยังเป็นไปได้สูง แต่โอกาสติดลบ -3.5% ค่อนข้างเกิดขึ้นยากแล้ว

Advertisement

นายธนวรรธน์กล่าวว่า สิ่งที่เป็นความกังวลคือ ในเชิงตลาดแรงงาน ดัชนีปรับขึ้นมาน้อยมาก สะท้อนให้เห็นถึงความกังวลเกี่ยวกับโอกาสการหางานทำในปัจจุบัน และความหวังการหางานในอนาคต ตลาดแรงงานยังไม่เปิด ทำให้มีความสุ่มเสี่ยงในการปลดคนงานและอัตราการว่างงานมีอยู่สูง ซึ่งเป็นความเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยในช่วงต่อไป โดยมีความเป็นห่วงในส่วนของอัตราการว่างงานที่จะเพิ่มขึ้น แม้จะยังไม่มีความชัดเจน แต่ความกังวลมีสูงขึ้น หากเศรษฐกิจฟื้นตัวช้าลง อาจทำให้ธุรกิจเริ่มปลดคนงาน ไม่รับคนงานใหม่ ส่งผลทำให้หนี้ครัวเรือนสูงขึ้น ทำให้ไตรมาส3 ต้องฟื้นเศรษฐกิจแบบเข้มข้นที่สุด ได้แก่ 1.รัฐความต้องมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งเสริมการจ้างงานในพื้นที่ชุมชน ผ่านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ และการท่องเที่ยวในชุมชน เพื่อเม็ดเงินสะพัดในระบบเศรษฐกิจ2.กระตุ้นให้เอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟท์โลน) มากขึ้น 3.หากรัฐบาลสามารถผ่อนคลายให้ธุรกิจกลับมาเปิดได้มากขึ้น ภายใต้การควบคุมไม่ให้โควิด-19 กลับมาระบาดรอบ 2 ได้ ไม่พบผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่มเขึ้นขนถึงกลางเดือนนี้ และมีการปลดล็กต่างๆ เพิ่มเติม จะเป็นบรรยากาศที่ดีมากขึ้น และ 4.ผ่อนคลายการค้าชายแดน ที่ขณะนี้ยังมีการเปิดไม่เต็มที่ หากสามารถผ่อนคลายให้เกิดการค้าชายแดนเพิ่มขึ้นได้ จะทำให้เศรษฐกิจในต่างจังหวัดฟื้นตัวขึ้นได้ เพราะหลายๆ ประเทศเริ่มเปิดเศรษฐกิจระหว่างกันกลับมามากขึ้น อาทิ การจับคู่ท่องเที่ยวระหว่างกัน อนุญาตให้ต่างชาติเดินทางเข้าประเทศได้ แต่งดการเดินทางสาธารณะ ให้ใช้การขนส่งระดับบุคคลแทน ซึ่งหากสามารถทำได้จะช่วยผ่อนคลาย และทำให้บรรยากาศเศรษฐกิจในระยะถัดไปดูดีขึ้น

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image