‘อสมท’ ร่อนหนังสือถึง ‘เทวัญ’ แจงปมสหภาพฯ ชี้ไม่สมควรก้าวก่ายการบริหารจัดการภายใน

‘ประธานบอร์ด อสมท’ ร่อนหนังสือถึง ‘เทวัญ’ แจงปมสหภาพฯ ชี้ไม่สมควรก้าวก่ายการบริหารจัดการภายใน ซึ่งเป็นอำนาจของฝ่ายบริหารที่ได้รับมอบมาจากผู้ถือหุ้น

วันที่ 17 มิถุนายนที่ผ่านมา พลตำรวจโท จตุพล ปานรักษา ประธานกรรมการ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ได้ส่งหนังสือถึง นายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อชี้แจงข้อร้องเรียนของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัทอสมท จำกัด(มหาชน) โดยระบุว่า

ตามที่ ท่านได้มีหนังสือตามที่อ้างถึง ให้ชี้แจงเกี่ยกับการแต่งตั้งผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ของ บริษัท อสมท จำกัด(มหาชน)(บมจ, อสมท) และล่าสุด กรณีมีข่วผ่านทางสื่อมวลชน เรื่อง การสั่งการให้ตรวจสอบผู้บริหารสูงสุดของ บมจ. อสมท เรื่องคลื่น 2600 MHz นั้น

ในนามประธานกรรมการ บมจ. อสมท ใคร่ขอเรียนให้ทราบว่า บมจ.อสมท เป็นรัฐวิสาหกิจประเภทบริษัทมหาชนจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 (และที่แก้ไขพิมเติม) โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และได้มีการกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้ว นอกจากนี้ บมจ. อสมท ยังอยู่ภายใต้การกำกับดูแลการประกอบกิจการของกระทรวงการคลัง โดยมีสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร) เป็นผู้ดำเนินการแทนกระทรวงการคลัง อันเป็นไปตามมาตรา 33 วรรค 3 แห่งพระราชบัญญัติการพัฒนาการกำกับดูแลและบริหาฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2562(และที่แก้ไขเพิ่มเติม)

อีกทั้ง บมจ. อสมท ยังคงต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์การกำกับดูแลกิจการของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ อันเป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม) ดังนั้นบมจ.อสมท จึงไม่ได้เป็นรัฐวิสาหกิจด้วยกฏหมายจัดตั้ง หากแต่เป็นบริษัทมหาชนจำกัดที่เป็นรัฐวิสาหกิจตามนิยามในกฎหมายบางฉบับที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่าง บมจ. อสมท กับรัฐ ต้องเป็นไปในลัษณะของบริษัทกับผู้ถือหุ้นตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด ผศ. 2535(และที่แก้ไขเพิ่มเติม) อย่างเคร่งครัด

Advertisement

โดยหน่วยงานของรัฐที่สามารถกำกับดูแลบมจ. อสท ในฐานะผู้ถือหุ้นได้จะต้องดำเนินการตามอำนาจที่ทางกฎหมาย ซึ่งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลกิจการของ บมจ. อสมท ประกอบด้วย พระราชบัญญัติการพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ ผศ. 2562 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม) พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 พระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2561 และพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 โดยกฎหมายที่นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการ จะมีพียงพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 และพระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2561 เท่านั้น

ทั้งนี้ เมื่อนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายและมอบอำนาจให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกำกับดูแล บมจ. อสมท ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 165/2562 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2562 ประกอบกับคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 196/2562 ลงวันที่ 20 สิงหาคม 2562 โดยให้ดำเนินการให้เป็นไปตามกฏหมายที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นการมอบอำนาจภายใต้พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 และ พระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2561 เท่านั้น

นอกจากนี้ ความสัมพันธ์ระหว่าง บมจ อสมท และสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บมจ. อสมท ยังต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม) ซึ่งเกี่ยวข้องกับสภาพการจ้างเท่านั้น ไม่สมควรก้าวก่ายการบริหารจัดการภายในซึ่งเป็นอำนาจของฝ่ายบริหารที่ได้รับมอบมาจากผู้ถือหุ้น เพราะจะเป็นการข้ดต่อหลักการกำกับดูแลกิจการของ บมจ. อสมท

Advertisement

โดยหากสหภาพแรงานรัฐวิสาหกิจ บมจ. อสมท มีประต็นเกี่ยวกับสภาพการจ้างภายใต้พระราชบัญญัติแรงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พศ. 2543 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม) ก็สามารถขอเจจากับคณะกรรมการ บมจ. อสมท ได้โดยตรง หรือหากมีประเด็นร้องเรียนในฐานะพนักงานบริษัท ก็สามารถยื่นเรื่องร้องเรียนไปที่ สคร. ในฐานะตัวแทนของกระทวงการคลังภายใต้พระราชบัญญัติการพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ ผศ. 2562 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม) หรือสามารถยื่นเรื่องร้องเรียนไปที่สัมนตรีว่การกระพรงแรงาน ซึ่งเป็นผู้รักษาการพระราชบัญญัติแรงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม) ได้เช่นกัน

จากที่กล่วมาข้างตันทั้งหมด จึงขอเรียนให้ทราบว่า บมจ. อสมท จะสามารถดำเนินการตามที่ทำนร้องขอไดั หากดำเนินการตามกฎหมายและกระบวนการที่ถูกต้อง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image