“อ.อนุสรณ์”คาดพิษโควิดทำตกงาน3.8ล้าน ชี้ ไตรมาสสองยิ่งเห็นตัวเลขชัด

0″อนุสรณ์ ธรรมใจ”คาดพิษโควิดทำตกงาน3.8ล้าน ชี้ไตรมาส2เป็นต้นไปเห็นตัวเลขชัด

เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 28 มิถุนายน มูลนิธิฟรีดดริด เอแบร์ท (Fridrich Ebert Stiftung) ร่วมกับ ภาคีสังคมแรงงาน จัดงานสัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกลุ่มผู้นำแรงงาน ขึ้น นายอนุสรณ์ ธรรมใจ อนุกรรมการกลั่นกรองกฎหมาย การกำหนดอัตราเงินสมทบ และ การพัฒนาสิทธิประโยชน์ สำนักงานประกันสังคม ได้บรรยายในหัวข้อ “การฟื้นฟูเศรษฐกิจและการจ้างงานหลังโควิด” ว่า สถานการณ์เศรษฐกิจที่หดตัวอย่างรุนแรงทั้งภายในประเทศและต่างประเทศทำให้เกิดสถานการณ์ทะยอยเลิกจ้างอย่างต่อเนื่องในธุรกิจอุตสาหกรรมต่างๆ โดยธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากเป็นพิเศษ ได้แก่ กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและกิจการต่อเนื่อง ธุรกิจสายการบิน ธุรกิจสื่อสารมวลชน ธุรกิจยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์และอุปกรณ์ ธุรกิจชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ ธุรกิจบันเทิงและจัดงาน Event ต่างๆ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจการเงิน กิจการอุดมศึกษาเอกชน เป็นต้น

คาดว่าอัตราการว่างงานอาจขึ้นแตะระดับ 10% (คิดเป็นประมาณ 3.81 ล้านคน) ของกำลังแรงงานและอาจทำให้มีคนว่างงานหรือทำงานไม่เต็มเวลา ว่างงานแฝงและทำงานต่ำระดับเพิ่มขึ้นมากกว่า 5 ล้านคน ขบวนการแรงงานต้องมีความเป็นเอกภาพและเข้มแข็งเพื่อช่วงบรรเทาความลำบากทุกข์ยากของพี่น้องผู้ใช้แรงงาน และ ควรมีส่วนร่วมในการเข้าไปมีบทบาทในใช้งบประมาณเงินกู้สี่แสนล้านบาทเพื่อช่วยเหลือกลุ่มคนที่ถูกเลิกจ้างและดำเนินโครงการ Reskill/Upskill เพื่อพัฒนาทักษะและเพิ่มผลิตภาพของแรงงานไทย

ผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรค Covid-19 ไม่สะท้อนมายังตัวเลขการว่างงานในไตรมาสแรกแต่จะสะท้อนชัดเจนมากขึ้นในตัวเลขไตรมาสสองและครึ่งปีหลัง การประเมินตัวเลขของทางการที่มองว่าอัตราการว่างงานจะขึ้นไปแตะระดับ 4% และอาจมีคนว่างงานไม่เกิน 2 ล้านคน น่าจะเป็นการมองโลกในแง่บวกเกินไป และประเมินว่าเศรษฐกิจจะกระเตื้องขึ้นอย่างชัดเจนหลังคลายล็อกดาวน์

อย่างไรก็ตาม อัตราการว่างงานในระดับ 4% ก็ถือว่าเป็นอัตราการว่างงานสูงสุดในรอบ 23 ปีใกล้เคียงกับวิกฤตการณ์เศรษฐกิจการเงินปี 2541 ซึ่งมีอัตราการว่างงานอยู่ที่ 4.4%

Advertisement

รัฐบาลต้องรีบดำเนินการเพื่อให้เกิดความหนืดในการเลิกจ้างด้วยการแก้กฎหมายให้มีการจ่ายเงินชดเชยเพิ่มขึ้นอีกในกรณีที่มีการเลิกจ้าง และ ให้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อจูงใจให้บรรษัทข้ามชาติยังคงจ้างงานและขยายกิจการในไทย ไม่โยกย้ายฐานการผลิต

นายอนุสรณ์ ธรรมใจ กล่าวว่า แม้ว่าปัจจุบันมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมทำให้สถานการณ์การจ้างงานกระเตื้องขึ้นเพียงเล็กน้อย และแรงงานบางกลุ่มจะยังไม่สามารถกลับไปมีรายได้เช่นเดิม โดยเฉพาะ แรงงานในภาคการท่องเที่ยว แรงงานในอุตสาหกรรมส่งออกเนื่องจากอุปสงค์ในต่างประเทศลดลง และการท่องเที่ยวยังเชื่อมโยงกับมาตรการของต่างประเทศด้วย เช่น มาตรการการกักตัว มาตรการยกเลิกเส้นทางการบิน เป็นต้น

การเร่งรัดใช้งบประมาณเงินกู้สี่แสนล้านบาทเพื่อทำให้เกิดการจ้างงานขนาดใหญ่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ขณะเดียวกันในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม จะมีแรงงานจบใหม่เข้าสู่ตลาดประมาณ 5.2 แสนคน ซึ่งประมาณ 60% ไม่น่าจะมีตำแหน่งงานรองรับ แรงงานจำนวนมากจำเป็นต้องมีปรับทักษะเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของธุรกิจ มาตรการชดเชยรายได้เป็นระยะเวลาสามเดือนให้กับแรงงานอิสระที่ได้รับผลกระทบจากการ Lockdown ก็จะสิ้นสุดลงในช่วงปลายเดือนมิถุนายนนี้ และคนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ยังคงไม่มีรายได้ไม่มีงานทำ รัฐบาลต้องมีมาตรการรองรับเพิ่มเติมด้ว

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image