ดิจิเทรนด์ฟอร์เวิร์ด : คลิก ‘I Accept’ เป็นลายมือชื่อหรือไม่

ดิจิเทรนด์ฟอร์เวิร์ด : คลิก ‘I Accept’ เป็นลายมือชื่อหรือไม่

ดิจิเทรนด์ฟอร์เวิร์ด : คลิก ‘I Accept’ เป็นลายมือชื่อหรือไม่

เปิดตัวอย่างคำพิพากษาต่างประเทศเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ว่าการคลิก “I Accept” เป็นลายมือชื่อหรือไม่

เมื่อมีการกู้ยืมเงินออนไลน์ ผู้กู้ต้องสร้างบัญชีออนไลน์ กรอกข้อมูล รวมถึงชื่อและสร้างพาสเวิร์ด จากนั้นมีข้อความข้อกำหนดหรือเงื่อนไขการกู้เงินปรากฏให้ผู้กู้รับทราบและยอมรับเงื่อนไข เมื่อผู้กู้ยอมรับ จะปรากฏสัญญากู้ที่เป็นทางการและชื่อของผู้กู้ในสัญญา เพื่อให้ผู้กู้ได้อ่านรายละเอียด ต่อจากนั้น ผู้กู้จึงคลิก “I Accept” และจะได้รับสัญญาที่ตกลงแล้วในรูปแบบไฟล์พีดีเอฟ ซึ่งไม่สามารถทำการแก้ไขข้อความได้

ทั้งนี้ ศาลตัดสินว่า คำว่า “I” ถือว่าเป็นเครื่องหมายชัดแจ้งที่ผู้กู้ได้ใช้เครื่องหมายนั้นในการแสดงเจตนารับรองและตกลงผูกพันตนเองกับข้อสัญญา ดังนั้น การคลิก “I Accept” ถือเป็นการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

Advertisement

สำหรับประเทศไทย เพื่อเป็นการเสริมการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งออกมาตั้งแต่ปี 2544 รองรับการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้มีผลทางกฎหมาย เช่นเดียวกับการลงลายมือชื่อบนเอกสารกระดาษ และรองรับหลักความเป็นกลางทางเทคโนโลยี ที่สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีใดก็ได้ในการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ เอ็ตด้า ได้จัดทำข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ว่าด้วยแนวทางการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นแนวทางและมาตรฐานให้กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ในการเลือกใช้วิธีการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้เหมาะสมและลดความเสี่ยงในการทำธุรกรรมออนไลน์

โดยลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตามนิยามของกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และข้อเสนอแนะมาตรฐานนี้ หมายถึง อักษร อักขระ ตัวเลข เสียง หรือสัญลักษณ์อื่นใดที่สร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งนำมาใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น และเพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น

Advertisement

ประเภทของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ และลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ซึ่งใช้ใบรับรองที่ออกโดยผู้ให้บริการออกใบรับรอง หรือซีเอ ซึ่งลายมือชื่อแต่ละประเภทจะมีระดับความน่าเชื่อถือที่แตกต่างกัน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image