‘ไทยบีเอ็มเอ’ ประเมินเอกชนออกหุ้นกู้ทั้งปี 63 ลดลงเหลือ 8 แสนล้านบาท หลังโควิดทำครึ่งปีแรกชะลอตัว

ไทยบีเอ็มเอประเมินเอกชนออกหุ้นกู้ทั้งปี 63 ลดลงเหลือ 8 แสนล้านบาท หลังโควิดทำครึ่งปีแรกชะลอตัว

นายธาดา พฤฒิธาดา กรรมการผู้จัดการสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ไทยบีเอ็มเอ) เปิดเผยว่า ในช่วงครึ่งหลังของปี2563 แนวโนเมตลาดตราสารหนี้ไทยคาดว่า บริษัทเอกชนไทยยังคงมีความต้องการระดมทุนผ่านการออกหุ้นกู้ระยะยาวเพิ่มขึ้น เพื่อเตรียมสภาพคล่องในการรองรับสถานการณ์ไม่แน่นอน ที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยประเมินว่าทั้งปีนี้จะมีมูลค่าการออกหุ้นกู้ระยะยาว 800,000 ล้าน บาท ลดลงเล็กน้อยจากประมาณการเดิมที่คาดว่าจะออกรวมทั้งสิ้น850,000 ล้านบาท แบ่งเป็นออกหุ้นกู้ในช่วงครึ่งปีหลังกว่า 4.6 แสนล้านบาท โดยจะมีหุ้นกู้ที่ครบกำหนดและคาดว่าจะออกหุ้นกู้ใหม่ทดแทนหุ้นกู้เดิม (Rollover) มูลค่ากว่า 3 แสนล้านบาท และคาดว่าจะมีการออกหุ้นกู้ใหม่ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทพลังงานทางเลือกอีกจำนวนกว่า 1.6 แสนล้านบาท แม้ว่าในช่วงเดือนเมษายนพฤษภาคม ที่ผ่านมา การออกหุ้นกู้จะชะลอตัวลงบ้างก็ตาม รวมถึงยังประเมินว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับปัจจุบัน แต่อาจใช้เครื่องมือนโยบายการเงินอื่นเพิ่มเติม เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงต่อไปที่ต้องใช้เวลาในการฟื้นตัว ทำให้มีโอกาสที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลจะขยับตต่ำลงอีก แต่อยู่ในกรอบจำกัด ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับภาวะปัจจัยแวดล้อมที่เข้ามาส่งผลกระทบต่อไป

นายธาดากล่าวว่า แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ในครึ่งปีหลังยังมีความไม่แน่นอนสูง เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ยังพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในต่างประเทศ แม้อัตราการเสียชีวิตจะลดลง โดยขณะนี้เริ่มเห็นเม็ดเงินลงทุนต่างประเทศ (หันด์โฟลว์) ไหลเข้าตลาดตราสารหนี้บ้างแล้วในเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา และมีแนวโน้มที่จะไหลเข้ามาอย่างระมัดระวัง แบบมีเข้ามาแต่เข้ามาไม่มาก เนื่องจากขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในและปัจจัยกระทบในช่วงนั้นๆ โดยในเดือนมิถุนายน ฟันด์โฟลว์เข้ามาแล้ว 2-3.5 หมื่นล้านบาท และวันที่ 1-9 กรกฎาคม มีฟันด์โฟลว์เข้ามา 11,700 ล้านบาท

แม้เศรษฐกิจไทยจะเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่ตลาดตราสารหนี้ไทยในครึ่งปีแรก ยังสามารถขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 1.25% มีมูลค่าคงค้างรวมเท่ากับ 13.69 ล้านล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของพันธบัตรรัฐบาลด้านปริมาณการซื้อขายในตลาดรองก็เพิ่มขึ้น 5% จากปีที่ 2562 เช่นกัน โดยการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ภาคเอกชนต้องชะลอการเสนอขายหุ้นกู้ออกไป ทำให้การออกหุ้นกู้ภาคเอกชนระยะยาวในครึ่งปีแรก มีมูลค่าลดลง 22% จากค่าเฉลี่ยการออกในช่วงครึ่งปีแรกย้อนหลัง 5 ปี แต่หากเทียบกับการออกในช่วงเวลาเดียวกับปีที่ผ่านมาจะลดลงกว่า 43% เนื่องจากปีที่แล้วถือเป็นปีที่มียอดการออกสูงเป็นประวัติการณ์นายธาดากล่าว

นายธาดากล่าวว่า ในช่วงครึ่งแรกปีนี้มีการออกหุ้นกู้ไปแล้ว 3.23 แสนล้านบาท ลดลง 43% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่ารวม 5.71 แสนล้านบาท ซึ่งลดลงทุกกลุ่ม Rating โดยในช่วงเดือน เม..-.. มีการออกหุ้นกู้ลดลงเนื่องจากการระบาดโควิด-19 และมีการ lock down ก่อนจะเริ่มกลับมาออกกันอีกครั้งในเดือน มิ..ที่มีมูลค่า 72,935 ล้านบาท เทียบกับเดือนเดียวกันในปีก่อนที่มีมูลค่า 95,921 ล้านบาท สิ้นเดือน มิ..63 มีมูลค่าหุ้นกู้ทั้งหมดในตลาดเท่ากับ 3.88 ล้านล้านบาท ลดลง 0.68% จากสิ้นปีที่แล้ว โดยส่วนใหญ่เป็นหุ้นกู้ระยะยาวที่มีการออกเพิ่มขึ้น และหุ้นกู้ระยะสั้นลดลง

Advertisement

ด้านนางสาวอริยา ติรณะประกิจ รองกรรมการผู้จัดการ ตลาดตราสารหนี้ไทย (ไทยบีเอ็มเอ) เปิดเผยว่า การถือครองตราสารหนี้ไทยของนักลงทุนต่างชาติ พบว่า สิ้นไตรมาส 2/2563 นักลงทุนต่างชาติถือครองตราสารหนี้ไทย 811,068 ล้านบาท หรือประมาณ 9.07% ของมูลค่าคงค้างพันธบัตรรัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ขณะที่ในเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา พบว่านักลงทุนต่างชาติมีแนวโน้มเพิ่มการถือครองตราสารหนี้ระยะยาวมากขึ้น โดยปัจจุบันถือครองอายุไม่เกิน 1 ปี ประมาณ 4% ถือครองอายุ 1-3 ปี 19% ถือครอง 3-5 ปี ที่ 9% ถือครองอายุ 5-10 ปี ที่ 33% ถือครองอายุมากกว่า 10 ปี ที่ 35% ในส่วนของมูลค่าคงค้างตราสารหนี้ภาคเอกชน อยู่ที่ 3.88 ล้านล้านบาท ลดลง 0.68% จากสิ้นปีก่อน โดยเป็นการลดลงของตราสารหนี้ระยะสั้นเป็นส่วนใหญ่ สำหรับมูลค่าคงค้างตราสารหนี้ภาคเอกชน95% ยังเป็น กลุ่มระดับลงทุนเรตติ้งชั้นดีตั้งแต่ AAA จนถึง BBB- (Investment grade)

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image