‘ธอส.’ หั่นเป้าปล่อยกู้ปี 63 เหลือ 1.7 แสนล้านบาท อัดตั้งสำรองเพิ่ม หวั่นเอ็นพีแอลพุ่งหลังหมดมาตรการรัฐอุ้ม

ธอส.’ หั่นเป้าปล่อยกู้ปี 63 เหลือ 1.7 แสนล้านบาท อัดตั้งสำรองเพิ่ม หวั่นเอ็นพีแอลพุ่งหลังหมดมาตรการรัฐอุ้ม

นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา (มกราคมมิถุนายน) ปล่อยสินเชื่อใหม่เป็นจำนวน 100,981 ล้านบาท จำนวน 62,116 บัญชี เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่ 12.99% คิดเป็น 50% ของเป้าหมายในการปล่อยสินเชื่อใหม่ของทั้งปี 2563 ที่ 210,000 ล้านบาท โดยธนาคารได้ปล่อยสินเชื่อใหม่ที่มีวงเงินกู้ไม่เกิน 2 ล้านบาท สำหรับกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและปานกลางแล้วกว่า40,504 ราย ขณะที่ธนาคารมียอดสินเชื่อคงค้างอยู่ที่ 1,256,305 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.89% มีสินทรัพย์รวม 1,300,881 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.52% เงินฝากรวม 1,060,970 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.76% หนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) หรือหนี้เสียจำนวน 56,827 ล้านบาท คิดเป็น 4.52% ของยอดสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2562 ที่มีหนี้เสียอยู่ที่ 4.09% หรือเพิ่มขึ้น 0.43% โดยคาดว่าทั้งปีหนี้เสียจะอยู่ที่ไม่เกิน 4.75% ทำให้มีกำไรสุทธิจำนวน 4,831 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมาย 14.87% สาเหตุเพราะดอกเบี้ยต่ำ และมีการตั้งสำรองเพิ่มขึ้น แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ การตั้งสำรองตามเกณฑ์ปกติตามเกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) 500 ล้านบาท และตั้งสำรองเพื่อความมั่นคง และสำรองตาม 8 มาตรการพักหนี้ มีภาระตั้งสำรองเพิ่มอีก 2,500 ล้านบาท

ในช่วงครึ่งปีหลัง ประเมินว่าไทยยังคงเผชิญกับปัญหาจากโควิด-19 ต่อเนื่องจาก จึงปรับเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อปล่อยใหม่ จากเดิมตั้งไว้ที่ 210,000 ล้านบาท ลดลงเหลือ 170,000 ล้านบาท รวมถึงปรับกำไรสุทธิลดลงจาก 13,177 ล้านบาท เหลือ 8,227 ล้านบาท เพื่อใช้ในการตั้งสำรองที่สูงขึ้นแทน ซึ่งจะเป็นการรองรับสถานการณ์หนี้เสียที่อาจเพิ่มมากขึ้น หลังจากสิ้นสุดระยะเวลามาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ของธนาคาร ที่จะครบกำหนดในวันที่ 31 ตุลาคมนี้ โดยเฉพาะในกลุ่มลูกค้าที่พักชำระเงินต้นและพักชำระดอกเบี้ย ซึ่งในเดือนสิงหาคม หรือก่อนสิ้นสุดระยะเวลาของมาตรการจำนวน 30 วัน เจ้าหน้าที่ธนาคารจะทยอยติดต่อลูกค้าเพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการประเมินความสามารถในการ ชำระหนี้ในอนาคต และหาแนวทางช่วยเหลือให้ลูกค้ากลับมามีสถานะบัญชีปกติให้มากที่สุดต่อไปนายฉัตรชัยกล่าว

นายฉัตรชัยกล่าวว่า ภายในสิ้นเดือนนี้ จะมีการหารือร่วมกับธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (...) ซึ่งเป็น 3 แบงก์ที่มีลูกค้าในมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐอยู่จำนวนมาก จึงจะหารือร่วมกัน ในส่วนของภายใต้ฐานลูกค้าของทั้ง 3 แบงก์ที่ไม่เหมือนกัน อาทิ ... จะเป็นลูกค้ากลุ่มเกษตรกร ธนาคารออมสินจะเป็นกลุ่มค้าขาย หรือประชาชนฐานราก ส่วนธนาคารอาคารสงเคราะห์จะเป็นกลุ่มบ้านต่างๆ ซึ่งจะประเมินว่ามาตรการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ที่จะทยอยครบตามกำหนดนั้น จะสามารถสนับสนุนเพิ่มเติมในส่วนของแบงก์รัฐได้อย่างไร ก่อนนำข้อสรุปทั้งหมดหารือร่วมกับธปท. ต่อไป โดยในช่วงครึ่งปีหลัง ธนาคารจะให้ความสำคัญกับการดูแลคุณภาพลูกหนี้ ในกลุ่มที่เข้ามาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาโควิด-19 รวม4.9 แสนราย วงเงิน 4.8 แสนล้านบาท ซึ่งได้สั่งการให้สาขาลงพื้นที่ดูแลลูกค้าเป็นรายคน ดูว่ากลุ่มใดมีปัญหาอย่างไรจึงไม่สามารถผ่อนชำระได้ หลังครบกำหนดมาตรการพักหนี้แล้วจะสามารถช่วยเหลือได้อย่างไรบ้าง มีส่วนใดที่จะกลายเป็นหนี้เสีย และกลุ่มใดที่จะสามารถกลับมาชำระหนี้ได้ตามปกติบ้าง โดยเน้นย้ำว่าธอส.ไม่มีนโยบายยึดบ้านลูกค้าที่ผ่อนชำระไม่ไหว โดยเฉพาะในกลุ่มที่เข้ามาตรการพักชำระหนี้ 4.8 แสนล้านบาท แต่หากมีปัญหาให้เข้ามาเจรจากับธนาคาร ซึ่งยอมรับว่าผลกระทบจากโควิด-19 เริ่มส่งผลกระทบกับกลุ่มลูกค้าที่เป็นกลุ่มอาชีพอิสระ ผู้มีรายได้น้อยบ้างแล้ว ซึ่งมีขนาดกว่า 40% ของพอร์ตสินเชื่อรวม

นายฉัตรชัยกล่าวว่า สำหรับการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) และการลาออกของรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ และรัฐมนตรีว่าการทีมเศรษฐกิจ มองว่าไม่น่ามีความกังวล หรือส่งผลกระทบกับการดำเนินงาน และมาตรการทางการเงินหรือมาตรการด้านสินเชื่อ เนื่องจากทุกอย่างยังคงเดินหน้าต่อไป และทุกมาตรการที่ออกมามีประโยชน์ต่อประชาชนโดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยอยู่แล้ว ส่วนนโยบายใหม่ของทีมเศรษฐกิจใหม่ที่ประเมินว่าจะออกมานั้น ไม่ได้สร้างความกังวลแต่อย่างใด เพราะคาดว่านโยบายของรัฐบาลจะมุ่งเน้นไปที่การกระตุ้นเศรษฐกิจ ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดโควิด-19 และกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าหลักของธนาคารอยู่แล้ว ซึ่งหากรัฐบาลมีมาตรการอะไรออกมา ธนาคารก็พร้อมรองรับและดำเนินการตาม เพื่อช่วยเหลือประชาชนทั่วไปและลูกค้าของธนาคารอย่างต่อเนื่อง

Advertisement

นายฉัตรชัยกล่าวว่า ส่วนผลกระทบในการออกมาตรการทางด้านสินเชื่อต่างๆ หรือไม่นั้น ต้องแยกกันว่า สินเชื่อปล่อยใหม่ ของสถาบันการเงินแบบเฉพาะกิจ ซึ่งจะออกมาในรูปแบบการลดดอกเบี้ย และประเมินว่าลูกค้าจะมีคุณภาพในการขอสินเชื่อได้หรือไม่ และภายใต้แบงก์รัฐหรือสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ มีลูกค้าที่เป็นลูกค้า ซึ่งกำลังจะมีผลกระทบหรือได้รับผลกระทบต่อเนื่อง จนกลายเป็นหนี้เสียไป จะกระทบกับงบแสดงฐานะการเงินมากกว่า เพราะหากกลายเป็นหนี้เสียในระดับสูง ภาระสำรองจะสูงมาก ทำให้ต้องมั่นใจว่า จะสามารถช่วยให้ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบสามารถหายใจได้ เพื่อไม่ให้ผลกระทบเกิดขึ้นทั้งกับลูกค้าและกับตัวสถาบันการเงินเอง นอกจากนี้ ในด้านบุคลากรและสาขาของธนาคาร ยืนยันว่าไม่มีแผนที่จะปรับลดจำนวนพนักงานและผู้ปฏิบัติงานของธนาคารซึ่งปัจจุบันมีอยู่กว่า5,000 คน และไม่ลดสาขาที่มีกว่า 200 แห่งทั่วประเทศ เพราะจำนวนพนักงานและสาขามีน้อยอยู่แล้ว หากเทียบกับธนาคารพาณิชย์อื่นๆ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image