ไม่แปลกใจเกษตรกรยากจนซ้ำซาก หากรัฐกลัวคนกินของแพง แทรกแซงตรึงราคา แนะส่งเสริมเลี้ยงหมูเป็นจุดแข็งประเทศ ดีกว่ากดไว้ไม่ให้โต

ไม่แปลกใจ เกษตรกร ยากจนซ้ำซาก หากรัฐกลัวคนกินของแพง แทรกแซงตรึงราคา แนะรัฐส่งเสริมเกษตรกรเลี้ยงหมูให้มากขึ้น เป็นจุดแข็งประเทศ ดีกว่ากดไว้ไม่ให้โต

ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม แต่มักมีคำถามเสมอว่า ทำไมเกษตรกรถึงยากจน ซึ่งทุกครั้งที่เกิดวิกฤต สิ่งที่ทุกรัฐบาลมักกลัวคือคำว่า ข้าวยาก หมากแพง กลัวคนจะซื้อสินค้าในราคาแพง ทำให้เกษตรกร ที่ยากจนอยู่แล้ว ต้องเป็นผู้ที่ต้องมารองรับการขาดทุนแทนคนทั้งประเทศ ด้วยการแทรกแซงกลไกตลาด เมื่อราคาสินค้าเกษตร มีราคาสูง ในขณะที่บางปีสินค้าเกษตรตกต่ำ ก็ไม่มีใครยื่นมือเข้ามาช่วยเกษตรกร แต่ในปีที่ราคาดีขึ้น เพื่อนำมารายได้มาชดเชยการขาดทุนในอดีต ก็ถูกตรึงราคาโดยหน่วยงานภาครัฐ ทำให้อาชีพเกษตรกร ไม่สามารถลืมตา อ้าปากได้ ซึ่งในปีนี้ แท้จริงเป็นโอกาสของเกษตรกรไทยในการมีชีวิตที่ดีขึ้น จากการดูแลต่อสู้กับโรคแอฟริกันสไวน์ฟีเวอร์ หรือ ASF ในสุกร ทำให้มีต้นทุนการป้องกันและเฝ้าระวังโรคเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในขณะที่ประเทศอื่นๆประสบปัญหา ทำให้เกษตรกรสามารถที่จะมีรายได้มาต่อทุนในปีต่อไป ที่มีความเสี่ยงมากมาย เกษตรกรมีอาชีพเดียว ดังนั้น กลไกตลาด เป็นสิ่งที่เหมาะสม หากภาครัฐจะแทรกแซง ควรเป็นการยกระดับรายได้เกษตรกร ที่เป็นอาชีพหลักของชาติ ในขณะที่ผู้บริโภคในประเทศไทย มีทางเลือกในการบริโภคมากมาย เช่น ไก่ ไข่ กุ้ง และ อื่นๆ อีกมาก ซึ่งหากปล่อยตามกลไกตลาด สินค้าอื่นๆ จะดีขึ้น และ ควรเร่งส่งเสริมเกษตรกร ในการขยายฟาร์มสุกรที่ได้มาตรฐาน เพื่อสร้างรายได้ และเสริมจุดแข็งให้เกษตรกรในประเทศในอนาคต ที่จะมีปริมาณสุกรเพียงพอในการส่งออก เนื่องจากมาตรฐานในการควบคุมโลกที่สูงมากของประเทศไทย แต่หากรัฐจำกัดราคา เหมือนการบอนไซธุรกิจให้ราคาสินค้าเกษตรต่ำ เกษตรกรไทยก็ยากที่จะหลุดพ้นกับดักความยากจน

นายสุนทราภรณ์ สิงห์รีวงศ์ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคเหนือ เปิดเผยถึงสถานการณ์สุกรในปัจจุบันว่า ราคาสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มของเกษตรกรทั่วประเทศยังคงยืนราคาที่ 78-79 บาทต่อกิโลกรัม ตามที่สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติประกาศราคาแนะนำ โดยเกษตรกรภาคเหนือยืนยันให้ความร่วมมือรักษาระดับราคาสุกรขุนไม่ให้เกิน 80 บาทต่อกิโลกรัม ตามที่ให้สัญญากับกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ไว้ว่าจะร่วมกันดูแลพี่น้องประชาชนไม่ให้มีปัญหาขาดแคลนสุกร และไม่ให้ราคาสูงจนกระทบค่าครองชีพประชาชน

โดยระดับราคาดังกล่าวถือว่าเกษตรกรพอมีรายได้กลับมาต่อทุนเพื่อเลี้ยงสุกรในรุ่นถัดไปเท่านั้น ขณะที่ต้นทุนการเลี้ยงสุกรยังมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ต่างปรับตัวขึ้น ตามความต้องการใช้ที่เพิ่ม ที่สำคัญเกษตรกรทั้งประเทศยังต้องต่อสู้กับโรคแอฟริกันสไวน์ฟีเวอร์ หรือ ASF ในสุกร ทำให้มีต้นทุนการป้องกันและเฝ้าระวังโรคเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

Advertisement

นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคเหนือ กล่าวอีกว่าปัจจุบันการบริโภคของประชาชนเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะห้างร้านต่างๆ ที่กลับมาเปิดดำเนินการ ผนวกกับโรงเรียนเปิดเทอม ขณะที่ปริมาณผลผลิตหมูขุนออกสู่ตลาดน้อยลง หมูเป็นที่จับมีขนาดเล็กลงอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตามสมาคมฯ เน้นย้ำให้กลุ่มผู้เลี้ยงรักษาระดับราคาภายในประเทศเพื่อไม่ให้ประชาชนเดือดร้อน แม้ว่าเกษตรกรจะมีต้นทุนการเลี้ยงหมูสูงถึง 71 บาทแล้วก็ตาม แต่ทุกคนก็พร้อมตรึงราคาหมูหน้าฟาร์มไว้ที่ไม่เกิน 80 บาทต่อกิโลกรัม และพร้อมให้ความร่วมมือกับสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ในการจัดกิจกรรมจำหน่ายหมูลดค่าครองชีพประชาชนทั่วไทยสู้ภัยโควิด เพื่อส่งตรงหมูสดจากฟาร์มถึงมือผู้บริโภค โดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง พร้อมกันทุกภูมิภาค วันที่ 7 สิงหาคม ศกนี้

“หมูไทยราคาไม่ได้สูงไปกว่าประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะประเทศที่ต้องรับมือกับโรค ASF ที่ระบาดอย่างหนักอย่างจีน เวียดนาม เมียนมา ที่ราคาปรับเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว จากการขาดแคลนหมูอย่างหนัก เพราะภาวะโรค ช่วงนี้ที่ราคาหมูขยับขึ้นตามกลไกตลาด ขอให้ประชาชนเข้าใจและเห็นใจเกษตรกรที่ต้องเผชิญปัญหาราคาหมูตกต่ำจากผลผลิตล้นตลาดนานกว่า 3 ปี หากเห็นว่าหมูราคาสูงทุกท่านยังมีทางเลือกรับประทานโปรตีนอื่นๆ ทดแทนได้ ทั้งปลา ไข่ ไก่ แต่พวกเรามีอาชีพเลี้ยงหมูอาชีพเดียวเท่านั้น ขอให้กลไกตลาดได้ทำงาน หากถูกควบคุมมากจนเกินไปเกษตรกรอาจไม่สามารถไปต่อในอาชีพนี้ได้” นายสุนทราภรณ์ กล่าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image