‘ตลท.’ ประเมินความชัดเจนทางการเมือง หนุนความเชื่อมั่นเพิ่ม

{"source_sid":"7CD8856F-73F4-4C98-B2EE-FAFDE0FD26FB_1596709365541","subsource":"done_button","uid":"7CD8856F-73F4-4C98-B2EE-FAFDE0FD26FB_1596709365517","source":"other","origin":"gallery"}

‘ตลท.’ ประเมินความชัดเจนทางการเมือง หนุนความเชื่อมั่นเพิ่ม

นายภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า กรณีการแต่งตั้งรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ใหม่ มองว่าเป็นเรื่องดีมากที่ทำให้ความไม่ชัดเจนนั้น มีความขัดเจนมากขึ้น รวมถึงการเปิดเผยรายชื่อออกมาแล้วทำให้สามารถรู้ว่าผู้ที่เข้ามาใหม่ มีความรู้และความเชี่ยวชาญ รวมถึงมีประสบการณ์ที่ตรงกับด้านตำแหน่งที่จะเข้ามาทำงาน ซึ่งถือเป็นส่วนช่วยสร้างความมั่นใจให้เห็นว่า รัฐบาลสามารถบริหารงานต่อไปได้ รวมถึงการแต่งตั้งผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คนใหม่ ก็ถือเป็นทีมที่มั่นใจและไว้ใจมาโดยตลอดด้วย ในส่วนของตัวเลขการเติบโตของเศรษฐกิจไตรมาส 2/2563 มีความกังวลว่าจะติดลบหรือไม่นั้น ประเมินแล้วมองว่าเศรษฐกิจกำลังมีการปรับตัว และตลาดรับรู้แล้วว่าจะเกิดอะไรขึ้น สะท้อนได้จากผลประกอบการในไตรมาส 2 ที่ออกมา ซึ่งตลาดคาดว่าจะดูไม่ดีมากนัก รับรู้ต่อเนื่องจากไตรมาส 1 มาแล้ว จึงให้น้ำหนักกับการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรม และรายธุรกิจมากกว่า ว่าจะฟื้นตัวได้ช้าหรือเร็วมากน้อยเท่าใด ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่สำคัญมากกว่าตัวเลขเศรษฐกิจในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา

“ในช่วงที่ผ่าน จะเห็นว่ามีหลายอุตสาหกรรม เริ่มปรับตัวดีขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงการปรับตัวที่รวดเร็ว และความเชื่อมั่นของนักลงทุน ส่วนการเข้ามาระดมทุนของ บริษัทจดทะเบียน (บจ.) ไทย ที่ราคาปรับขึ้นมาค่อนข้างสูงนั้น ตลท.มีการตรวจสอบในทุกกรณี ทั้งปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) และทีมผู้ตรวจสอบเอง จึงไม่ต้องเป็นกังวลว่าจะเกิดความผิดปกติใดขึ้น” นายภากรกล่าว

ด้านนายศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในเดือนกรกฎาคม 2563 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย ปิดที่ 1,328.53 จุด ลดลง 0.8% จากเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา และลดลง 15.9% จากสิ้นปี 2562 ซึ่งถือว่าค่อนข้างทรงตัว เมื่อพิจารณารายอุตสาหกรรมเทียบกับสิ้นปี พบว่าอุตสาหกรรมบางอุตสาหกรรมปรับตัวดีกว่าภาพรวม โดยมี 2 กลุ่มอุตสาหกรรมที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในแดนบวกได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร และกลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งในบางหมวดธุรกิจที่ได้รับอานิสงค์จากการฟื้นตัวหลังเริ่มมีการคลายการล็อคดาวน์ อาทิ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อาหารและเครื่องดื่ม ของใช้ส่วนตัวและเวชภัณฑ์ นอกจากนี้ รวมถึงยังเป็นเดือนแรกที่เห็นสัญญาณของหุ้นขนาดกลางและเล็ก นอกเซท 100 อันดับแรก เริ่มมีการปรับระดับเพิ่มขึ้น เพราะได้อานิสงค์เชิงบวกจากมาตรการคลายล็อกดาวน์ ส่วนมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันรวมอยู่ที่ 64,010 ล้านบาท ถือว่าอยู่ในระดับเดียวกันกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2563 มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันรวมอยู่ที่ 67,972 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 31.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

นายศรพลกล่าวว่า นอกจากนี้ ยังเริ่มเห็นสัญญาณความเชื่อมั่นที่ดีขึ้น สะท้อนได้จากผู้ลงทุนต่างชาติที่มีแนวโน้มขายสุทธิในตลาดหลักทรัพย์ไทยลดลง โดยในเดือนกรกฎาคม ผู้ลงทุนต่างประเทศขายสุทธิเพียง 9,938 ล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่าขายสุทธิที่ต่ำที่สุดในรอบ 7 เดือน อีกทั้งเริ่มมีกิจกรรมการเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (ไอพีโอ) อีกครั้ง โดยในเดือนนี้มีหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนซื้อขายใหม่ 2 หลักทรัพย์ ได้แก่ บมจ. ศรีตรังโกลฟส์ (STGT) และ บมจ. ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี (SICT) ซึ่งมีมูลค่าระดมทุน (ไอพีโอ) รวม 15,043 ล้านบาท อีกทั้งมีมูลค่าการซื้อขายรวมถึง 81,441 ล้านบาท หรือคิดเป็น 6.46% ของมูลค่าการซื้อขายรวมของเดือนนี้ รวมถุงยังพบว่ามีจำนวนนักลงทุนเปิดบัญชีหุ้นเปิดใหม่ในช่วง 6 เดือน มีกว่า 200,000 บัญชี

Advertisement

“มูลค่าการระดมทุนของหุ้นไอพีโอ นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน 333,302 ล้านบาท หุ้นไอพีโอที่เข้ามา เป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับความปกติวิถีใหม่ (นิวนอร์มอล) ทำให้ราคาปรับเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก ซึ่งก็ถือเป็นความสอดคล้องที่เกิดขึ้น โดยตลาดหุ้นทั่วโลกได้รับผลกระทบจากความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐและจีน การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐนายโดนัลด์ ทรัมป์ และการทดลองวิจัยวัคซีนต้านไวรัส ไม่ใช่เพียงตลาดหุ้นไทยเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ แต่ตลาดหุ้นในประเทศเศรษฐกิจใหม่ มีการขายออกของนักลงทุนต่างชาติต่อเนื่องเช่นกัน ซึ่งมองว่าหากความไม่แน่นอนของปัจจัยเหล่านี้หายไป คาดว่านักลงทุนต่างชาติจะกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นของประเทศเศรษฐกิจใหม่มากขึ้น ซึ่งต้องติดตามต่อไป” นายศรพลกล่าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image