คิดเห็นแชร์ : นโยบายการเข้าถึงระบบไฟฟ้าในพื้นที่ห่างไกล(เกาะ,ดอย) ประเทศไทยควรทำอะไรบ้าง? โดย ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร

สวัสดีครับ ผมได้นำเสนอชุดบทความที่เกี่ยวกับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ หรือ “Smart City” มาตลอด 3 เดือนที่ผ่านมา ต่อจากนี้ผมจะมีชุดบทความใหม่ที่ผมและสมัครพรรคพวกจากหลายๆ หน่วยงานได้รวบรวมข้อมูล สะสมประสบการณ์ และความรู้มาไม่น้อยเลยทีเดียว จึงตั้งใจอยากจะนำเสนอ เพื่อให้เห็นว่าในเรื่องนี้ “ประเทศไทยควรทำอะไรบ้าง?”

เรื่องที่ผมจะกล่าวถึงในชุดบทความนี้จะว่าด้วยเรื่อง “ครัวเรือนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้” หรือ “การเข้าถึงระบบพลังงาน” ถ้าเป็นภาษาอังกฤษที่พูดกันก็คือ “Energy Access” หรือ “Rural Electric Fiction” ซึ่งมิใช่เพียงแต่เป็นประเด็นแค่ “มี” หรือ “ไม่มี” ไฟฟ้าใช้เท่านั้น แต่รวมไปถึงความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในประเทศไทย จำนวนและระยะไฟฟ้าตก/ดับ ในแต่ละวันที่ยอมรับได้ และต้นทุนค่าไฟ ณ จุดใช้ที่อยู่
ห่างไกล เรื่องนี้จะว่าไปประเทศไทยเหมือนจะไม่มีเจ้าภาพที่ชัดเจน เพราะข้อจำกัดในหลายอย่าง จึงทำให้ภารกิจหลักๆ เลยจะอยู่กับ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ กฟภ. แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมในทุกมิติ และยังขาดความชัดเจนในก้าวย่างต่อไปในอนาคต อีกทั้งยังขาดวิสัยทัศน์ที่จะทำให้ทุกครัวเรือนในประเทศไทยมีไฟฟ้าใช้ได้ 100% ในปีใด??

ดังนั้น ในชุดบทความนี้ผมจะเขียนแบ่งเป็นชุดโดยจะเน้นเรื่องที่ประเทศไทย (ไม่ว่าจะกระทรวงไหนก็แล้วแต่) ควรต้องทำอย่างเร่งด่วน และเจาะลงไปในประเด็นหลักๆ คือ

1.การมีวิสัยทัศน์ และแผนแม่บทที่ชัดเจน ที่จะทำให้ “Thailand has 100% Electricfication”

Advertisement

2.รัฐควรกำหนดบทบาทในแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.), กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.), ทหาร รวมทั้งการเปิดให้เอกชนและชุมชนมีส่วนร่วม

3.กลไกการสนับสนุนงบประมาณการลงทุนว่า ควรจะพึ่งรัฐทั้งหมด หรือเปิดให้ชุมชนและ/หรือเอกชนมีส่วนร่วมแบ่งเบาภาระการลงทุนดังกล่าว และ

4.ที่สำคัญที่สุด คือ ประเด็น “ครัวเรือนที่อยู่ในพื้นที่หวงห้าม” ว่า รัฐ “ควรช่วย” หรือ “ต้องช่วย” และ “หากจะช่วย ช่วยได้ไหม” และ “ถ้าช่วยได้ ช่วยในรูปแบบ หรือเทคโนโลยีแบบไหนดี”

สำหรับใน 4 ประเด็น ที่กล่าวถึงมาข้างต้นนี้เป็นเรื่องหลักสำคัญที่ควรต้องกระทำอย่างเร่งด่วน แต่ในรายละเอียดต่างๆ ที่จะกล่าวถึงในตอนถัดไปนั้น ผมคงเขียน
มากกว่า 4 ตอนแน่นอนครับ เพราะมีโอกาสได้ลงพื้นที่และได้สัมผัสกับตัวอย่างที่ดี และที่ไม่ดีมามากมาย และจะมี Case Study ต่างๆ มาเล่าสู่กันฟังด้วยครับ

วันนี้ขอเริ่มต้นด้วยข้อมูลอย่างเป็นทางการก่อนนะครับ โดยใช้ข้อมูลของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เป็นหลักตั้งต้น ดังนี้ ครับ

1.ประเทศไทยมีการจ่ายไฟฟ้าให้ระดับครัวเรือนแล้ว 99.79%

2.ประเทศไทยเป็นอันดับ 2 ใน 10 ประเทศอาเซียน เป็นรองแค่สิงคโปร์ ที่มีสถิติ 100%

3.ขอแจกแจงข้อมูล ณ ปลายปี 2562 ดังนี้ ครับ

บทวิเคราะห์เบื้องต้น

กลุ่ม B1 ไม่มีปัญหา (?)

กลุ่ม B2+B3 ปัญหาเรื่องความมั่นคง และบทบาทของหน่วยงานภาครัฐ ในการบำรุงรักษาที่มักเกี่ยงกัน หรือโยนความรับผิดชอบให้ผู้ใช้ไฟรับสภาพไปดูแลกันเอาเอง

กลุ่ม C1 ปัญหา คือ “เมื่อใด?” “มีแผนแล้วหรือยัง?” “กฟภ.จะทำคนเดียวได้หรือไม่?”

กลุ่ม C2 ปัญหา คือ “ช่วยได้มั้ย?” “ถ้าช่วย ช่วยอย่างไรถึงจะเหมาะ?”

กลุ่ม C3 “เขาเป็นใคร + เหตุใดถึงไม่เข้าเกณฑ์” “หากเข้าเกณฑ์แล้วจะย้ายไปกลุ่ม C1 หรือ C2?”

จากกราฟและการวิเคราะห์เบื้องต้น ผมจึงขอทิ้งท้ายบทความนี้ด้วยคำถามที่ใช้ประกอบแนวความคิด ที่จะแก้ปัญหา ต่อไปนะครับ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image