‘ตลาดหลักทรัพย์ฯ’ เดินหน้าลดโลกร้อน ผนึกพันธมิตรต่อยอดแพลตฟอร์มความร่วมมือปลูกไม้ให้ได้ป่า

ตลาดหลักทรัพย์ฯเดินหน้าลดโลกร้อน ผนึกพันธมิตรต่อยอดแพลตฟอร์มความร่วมมือปลูกไม้ให้ได้ป่า

นายภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้พัฒนาแพลตฟอร์มส่งเสริมการดูแลสิ่งแวดล้อม โดยริเริ่มโครงการแคร์ เดอะ ไวด์ ปลูกป้อง แพลนแอนด์โปรเทค (Care the Wild ปลูกป้อง Plant & Protect) ซึ่งถือเป็นแพลตฟอร์มความร่วมมือ ให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อมด้วยการเพิ่มพื้นที่ป่า โดยมีกลไกการดำเนินงานผ่านการระดมทุนในการปลูกต้นไม้ใหม่ปลูกต้นไม้เสริม และส่งเสริมการดูแลต้นไม้ ร่วมกับภาคีองค์กรเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน มีสัญลักษณ์ช้างรักษ์ป่าในชื่อพี่ปลูกป้องเชิญชวนทุกภาคส่วนร่วมเรียนรู้เรื่องระบบนิเวศ พืช สัตว์ สิ่งแวดล้อม และร่วมระดมทุปลูกต้นไม้รวมทั้งเน้นการร่วมดูแลต้นไม้ที่ปลูกให้เติบโตบนหลักการธรรมาภิบาล จนกลายเป็นผืนป่าอย่างแท้จริง ภายใต้แนวคิดป้อง คือ ผู้ระดมทุนปลูก ร่วมติดตามการเติบโตของต้นไม้ การทำงานของชุมชน การมีส่วนร่วมในการขยายผลเพื่อพัฒนาชุมชน และร่วมดูแลเอาใจใส่ไม้ปลูกให้เติบโตเป็นส่วนสำคัญของการขยายแนวผืนป่าของประเทศ ผ่านแอพพลิเคชั่นแคร์ เดอะ ไวด์ โดยตั้งเป้าหมายภายใน 1 ปี เพิ่มการปลูกป่า 500 ไร่ จากต้นไม้ที่ปลูก 100,000 ต้น เพื่อช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก 900,000 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี

รูปแบบการดำเนิน ภาครัฐและพันธมิตรที่เข้าร่วม อาทิ บมจ.กรุงศรีอยุธยา สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย สมาคมบริษัทจัดการลงทุน ชมรมปฏิบัติการหลักทรัพย์ และองค์กรอื่นๆ ที่สนใจจะร่วมกันบริจาคเงินเลือกพื้นที่ป่า และระบุยอดเงินบริจาคต้นละ 200 บาท จากนั้น ตลท.ซึ่งเป็นแกนนำโครงการดังกล่าวจะยื่นแบบความจำนนขอระดมทุน เพื่อปลูกป่าในโครงการ และทำหน้าที่ปลูกป่า โดยจะนำส่งข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดของต้นไม้ สถานที่ปลูก วันเดือนปีที่ปลูก และรายงานความคืบหน้าการเติบโตของต้นไม้ที่ปลูกผ่าน แอพพลิเคชั่น แคร์ เดอะ ไวด์ เพื่อให้สามารถติดตามต้นไม้ที่ปลูกได้ว่า ต้นไม้นั้นจะสามารถเติบโตได้จริงนายภากร กล่าว

นายภากร กล่าวว่า กรมป่าไม้ และภาคีหน่วยงานภาครัฐ ได้นำเสนอพื้นที่ป่าชุมชนร่วมโครงการในเบื้องต้นรวม 717 ไร่  ในพื้นที่ 7 จังหวัด ประกอบด้วย ป่าชุมชนบ้านเขาหัวคน .ราชบุรี, ป่าชุมชนบ้านพุตูม .เพชรบุรี, ป่าชุมชนบ้านใหม่ .เชียงราย, ป่าชุมชนบ้านนาหวาย .น่าน, ป่าชุมชนบ้านหนองปิง .กาญจนบุรี, ป่าชุมชนบ้านโคกพลวง.นครราชสีมา และป่าชุมชนบ้านหนองทิศสอน .มหาสารคาม โดยแต่ละพื้นที่ของป่าชุมชนจะมีเอกลักษณ์ จุดเด่นในด้านระบบนิเวศและการพัฒนาชุมชนที่แตกต่างกัน โดยองค์กรธุรกิจสามารถเลือกพื้นที่ในการสนับสนุนการปลูกไม้ได้หลากหลาย และมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน เรียนรู้ระบบนิเวศร่วมกับชาวบ้านผู้รักษาป่าได้อีกด้วย โดยองค์กรที่สนใจเข้าร่วมโครงการติดต่อได้ที่ [email protected] ดูรายละเอียดเพิ่มเติม www.setsocialimpact.com สำหรับบุคคลทั่วไปสามารถร่วมปลูกป่าผ่านแอพพลิเคชั่น แคร์ เดอะ ไวด์ ดาวน์โหลดได้ทั้งระบบปฏิบัติการไอโอเอสและแอนดรอยด์ เพื่อติดตามข้อมูลและกิจกรรมได้แล้ว

ด้านนายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า โครงการดังกล่าวคาดว่าจะกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ สร้างแหล่งสมุนไพร ช่วยลดรายจ่าย สร้างรายได้ให้กับชุมชนซึ่งปัจจุบันทางกรมป่าไม้ ภาคีหน่วยงานรัฐได้เสนอพื้นที่ป่าชุมชนร่วมโครงการเบื้องต้น 717 ไร่ในพื้นที่ 7 จังหวัด รวม1,500 ชุมชน ซึ่งคาดว่าจะช่วยลดรายจ่าย 1,500 ล้านบาท และเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน 1,000 ล้านบาท โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image