‘จุรินทร์’นำกระทรวงพาณิชย์ แมชชิ่งยางพาราคึกคัก เร่งส่งมอบ-กระตุ้นซื้อ

เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ที่กระทรวงพาณิชย์ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวระหว่างการจัดกิจกรรมเจรจาธุรกิจออนไลน์สินค้ายางพารา/ผลิตภัณฑ์ยาง และประชุมแบบไฮบริด ร่วมกับสหกรณ์ ผู้ผลิตยางพารา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และการออนไลน์กับบริษัทเอกชน และทูตพาณิชย์ทั่วประเทศ ว่า ขณะนี้ราคายางในประเทศปรับสูงขึ้น ชนิดยางแผ่นรมควัน กิโลกรัมละ 63.15 บาท ยางแผ่นดิบ กิโลกรัมละ 56.31 บาท น้ำยางข้นกิโลกรัมละ 51.50 บาท ยางก้อนถ้วยกิโลกรัมละ 20 บาท ซึ่งเป็นราคาส่งออก ณ ส่งออก ณ ท่าเรือ (F.O.B. )ของประเทศไทย

ทั้งนี้ ราคายางช่วงนี้สูงขึ้น มาจาก 2 เหตุผลใหญ่ 1.มาตรการเชิงรุกของรัฐบาล 2.ตลาดโลกมีความต้องการอย่างมากขึ้น สำหรับตลาดโลกนั้นเพราะเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวขึ้นมาบ้าง ความต้องการรถยนต์และยางรถยนต์ก็เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการยางแผ่นและยางแท่งเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ส่งนสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้ความต้องการถุงมือยางธรรมชาติเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ความต้องการน้ำยางที่เอาไปทำถุงมือยางธรรมชาติเพิ่มสูงขึ้นไปด้วย

ด้านมาตรการเชิงรุกของรัฐบาล มี 2 มาตรการ คือ เพิ่มการใช้ยางภายในประเทศ โดยเฉพาะส่งเสริมให้ภาคราชการนำยางไปเป็นวัตถุดิบทำผลิตภัณฑ์ โดยล่าสุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบให้กระทรวงเกษตรฯร่วมกับกระทรวงคมนาคมนำยางไปทำหลักกิโลและแผ่นครอบกันชนตามเส้นทางในถนนต่างๆที่จะช่วยเพิ่มการใช้ยางในประเทศเพิ่มขึ้นเป็นอันมากและมาตรการภาครัฐ และมาตรการในการเร่งรัดการส่งออก เร่งรัดการส่งมอบซึ่งกระทรวงพาณิชย์นำไปทำสัญญาไว้กับต่างประเทศก่อนโควิด-19 โดยกระทรวงพาณิชย์ร่วมมือกับการยางฯ ส่งผลให้การส่งออกยางตั้งแต่เดือนมกราคม-สิงหาคม ปีนี้ มียอดส่งออกแล้วประมาณ 300,000 ล้านบาท ส่วนกระทรวงพาณิชย์กับการยางก็จำได้มีการเร่งรัดการส่งมอบ ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ได้นำคณะเอกชน การยางฯไปทำสัญญากับต่างประเทศ 500,000 ตัน ก่อนโควิดระบาด ก็จะเร่งรัดการส่งมอบซึ่งเป็นอีกมาตรการหนึ่งในการเพิ่มมูลค่าการขาย รวมทั้งภาคเอกชนไปทำสัญญาเดิมจะเร่งรัดการทำตลาดในสัญญาใหม่ด้วย

นายจุรินทร์ กล่าวว่า จากการที่กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ร่วมมือกับการยางแห่งประเทศไทยและภาคเอกชนจับคู่ธุรกิจ เพื่อเร่งรัดการส่งออกยางของไทย ตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน 2563 จนถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2563 ได้จับคู่ธุรกิจแล้ว 69 คู่ มีการเจรจาระหว่างประเทศผู้นำเข้า 20 ประเทศ และผู้ส่งออกของไทย 42 ราย 20 ประเทศ ประกอบด้วย จีน เกาหลี ไต้หวัน อินเดียย เช็ก ฝรั่งเศส ฮังการี รัสเซีย สหราชอาณาจักร มาเลเซีย กัมพูชา เวียดนาม เมียนม่า อินโดนีเซีย ตุรกี อียิปต์ ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐและอาร์เจนตินา ซึ่งในการเซ็นสัญญาซื้อขายมียอดขายเกินเป้าทะลุ 23,000 ตัน และลงนามในสัญญา 1,450 ล้านบาท และยังมีความต้องการซื้อยางจากไทยเพิ่มเติมอีก ซึ่งงานจับคู่ธุรกิจครั้งนี้ ก็จะขยายไปอีก 2 วันคือวันที่ 1-2 ตุลาคม คาดว่ามียอดขายเพิ่มอีกมาก

Advertisement

สำหรับปัญหาการผลิตยางของไทยตอนนี้ คือ ขาดแคลนแรงงานภาคการผลิต ราคายางในประเทศไทยสูงกว่าประเทศคู่แข่ง เช่น เวียดนาม การยางต้องเร่งประชาสัมพันธ์คุณภาพว่าคุณภาพยางไทยเหนือกว่า และส่งเสริมให้มีการนำน้ำยางมาทำยางรถยนตร์ เพราะในอดีตไทยเรานี้ให้การใช้อย่างแผ่นกับยางแท่งไปทำยางรถยนต์ซึ่งต้องผ่านกระบวนการผลิตหลายขั้นตอน แต่ถ้าเราสามารถส่งเสริมให้นำน้ำยางไปทำยางรถยนตร์ได้ก็จะลดขั้นตอนการผลิตของเกษตรกรลงไปได้ แก้ปัญหาแรงงานที่ขาดแคลนได้ด้วย และขณะนี้การยางตั้งหน่วยรักษาเสถียรภาพราคายาง ส่วน กระทรวงพาณิชย์ กรมการค้าภายใน มีมาตรการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อตรวจสต๊อกของเอกชน ให้เร่งการรับซื้อยาง เพราะมีเอกชนบางส่วนใช้สิทธิ์เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำที่รัฐบาลอุดหนุนร้อยละ 2 ต่อปี มีการรับซื้อยางเก็บสต๊อกจริงหรือไม่ ซึ่งจะมีส่วนให้มีการเร่งซื้อยางเข้าสต๊อกมากขึ้น

Advertisement

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image