คิดเห็นแชร์ : ตัวอย่างการพัฒนาไฟฟ้า ในเกาะและพื้นที่ห่างไกลในอินโดนีเซีย

คิดเห็นแชร์ : ตัวอย่างการพัฒนาไฟฟ้า ในเกาะและพื้นที่ห่างไกลในอินโดนีเซีย

ประเทศอินโดนีเซีย เป็นประเทศใหญ่อันดับ 14 ของโลกในเชิงของขนาดพื้นที่แต่เป็นลำดับที่ 4 ในเชิงประชากรที่มีมากกว่า 267 ล้านคน มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 1 ของอาเซียน แต่เป็นประเทศที่ประกอบด้วยเกาะต่างๆ รวมกันถึง 10,000 กว่าเกาะ ส่วนใหญ่เป็นเกาะที่มีสภาพเป็นภูเขาหรือภูเขาไฟเสียส่วนใหญ่

ในเรื่องของพลังงาน ทางอินโดนีเซียก็ถือเป็นที่หนึ่งในอาเซียนเพราะมีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ ทั้งน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ส่วนพลังงานหมุนเวียนที่มีอยู่อย่างมากมาย ได้แก่ ไฟฟ้าพลังน้ำ ไฟฟ้าจากความร้อนใต้พิภพ และการผลิตไบโอดีเซลจากปาล์มน้ำมัน ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของอินโดนีเซียมีสูงถึงเกือบ 45,000 MW และมีกำลังการผลิตติดตั้งอยู่ที่ 69,600 MW แต่ส่วนใหญ่กำลังการผลิตไฟฟ้านี้จะอยู่ในเกาะใหญ่ๆ เช่น เกาะชวา, สุมาตรา, บอเนียว และบาหลี ส่วนเกาะอื่นๆ เช่น เกาะสุราเวสี, ปาปัว และหมู่เกาะเล็กๆ ในทะเลชวาตะวันออก ยังมีการพัฒนาระบบไฟฟ้าที่ไม่เต็มรูปแบบนัก การจำหน่ายไฟฟ้ายังไม่ทั่วถึงชุมชนในเกาะเล็กๆ น้อยๆ ยังต้องจำทนใช้การปั่นไฟ จากน้ำมันดีเซลเสียเป็นส่วนใหญ่

แต่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลอินโดนีเซียได้ตื่นตัว และเร่งรัดนโยบายการกระจายระบบไฟฟ้าไปยังพื้นที่ห่างไกลอย่างเร่งด่วน ทำให้ร้อยละของประชากรที่มีไฟฟ้าใช้เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด จากประมาณเพียง 67% ในปี 2010 มาเป็น 98.90% ในปี 2019 (ของไทยอยู่ที่ 99.79%) ซึ่งถือได้ว่าอินโดนีเซียประสบความสำเร็จมากทีเดียวในประเด็นนโยบายนี้ โดยนโยบายดังกล่าวใช้ชื่อว่า “EnDev Indonesia” หรือ Energizing Development Indonesia ที่มุ่งพัฒนาระบบ และพัฒนาคนเพื่อการดูแลรักษาระบบ “Mini Grid” ทั่วประเทศโดยอินโดนีเซียมีระบบ Mini Grid ประมาณ 1,036 แห่ง (605 ใช้ระบบ Solar PV และ 429 แห่งใช้ไฟฟ้าพลังน้ำขนาดจิ๋ว) โดยทำให้ผู้คนร่วมล้านชีวิตมีระบบไฟฟ้าใช้ที่มั่นคง ในต้นทุนที่ต่ำลง

Advertisement

นโยบาย EnDev ใช้กลไก 3 เรื่อง ประกอบกันอย่างสมดุล
– Government Financed (รัฐ ลงทุนบางส่วน (ส่วนใหญ่))
– Community Managed (ชุมชนบริหารจัดการ)
– Private Sector Constructed (เอกชนร่วมทุน)

โดยในแต่ละภาคส่วนมีสัดส่วนการร่วมลงทุนที่ยืดหยุ่น แต่ละพื้นที่ไม่เท่ากัน แต่โดยประมาณจะลงทุนกันในสัดส่วน 60 : 20 : 20 (รัฐ : ชุนชน : เอกชน) และมีกลไกคืนต้นทุนให้เอกชนผ่านการจัดเก็บค่าไฟที่ไม่แพงเกินไป โดยให้ชุมชนสามารถบริหารจัดการกันเองได้และที่สำคัญมีกฎหมายรองรับ…

Advertisement

ผมว่าเราน่าจะไปดูอย่างที่อินโดนีเซียกันบ้างนะครับ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image