‘พณ.’ ปั้น ‘อบต.โมเดล’ แม่เหล็กคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาชุมชน

‘พณ.’ ปั้น ‘อบต.โมเดล’ แม่เหล็กคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาชุมชน

นายประโยชน์ เพ็ญสุต รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา (ทป.) กระทรวงพาณิชย์(พณ.) เปิดเผยถึงแผนการดำเนินงานของกรมในปีงบประมาณ 2564 ว่า ได้มอบนโยบายให้เร่งดำเนินการใน 3 เรื่องหลัก คือ ทำอย่างไรให้คนไทยเข้าใจได้ง่ายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา ทำอย่างไรให้ผู้ประกอบการเข้าถึงการคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญาได้ง่าย และผลักดันทรัพย์สินหรือสิ่งที่คิดค้นให้เป็นทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งเป็นการวางพื้นฐานตามนโยบายรัฐบาลที่จะผลักดันประเทศไทยเข้าสู่ยุค 4.0 และเป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้างรายได้ต่อหัวต่อปีของคนไทยจากเฉลี่ย 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็น 1.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ที่จะส่งผลต่อการขยายตัวของจีดีพีเฉลี่ยปีละ 5% เนื่องจากขณะนี้คนไทยและผู้ประกอบการไทยให้ความสนใจหรือให้สำคัญเรื่องคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาน้อยกว่าหลายประเทศ

นายประโยชน์ กล่าวว่า ช่วงวันที่ 15-16 ตุลาคมนี้ ในโอกาสที่นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ จะลงพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดอำนาจเจริญ ตนได้เชิญตัวแทนองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)ในพื้นที่ เข้ามาหารือและขอให้ร่วมเป็นพันธมิตรกับกรม ในการขยายนโยบายความร่วมความเข้าใจด้านทรัพย์สินทางปัญญา มีส่วนรวมและนำร่องในการผลักดันสินค้าท้องถิ่นขึ้นทะเบียนคุ้มครองเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์(จีไอ) เนื่องจาก อบต. คือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับตำบลที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด และมีความคล่องตัวสูง ซึ่งจะทำลักษณะเดียวกันนี้กับอบต.ทั่วประเทศ และเล็งคัดเลือก อบต. ที่มีความสนใจ ให้เป็นอบต.ต้นแบบต่อไป

นายประโยชน์ กล่าวว่า นอกจากนี้ จะเชื่อมโยงศูนย์การเรียนรู้ด้านทรัพย์สินทางปัญญาของกรมกับผู้เชี่ยวชาญที่เกษียณอายุแล้ว มาเป็นวิทยากรในการถ่ายทอดความรู้และความเข้าใจในสถานการศึกษาทั่วประเทศ และ ประสานเจ้าของรายการโทรทัศน์ต่างๆ ร่วมมือจัดทำเรื่องราวและเปิดโอกาสให้ชุมนุมได้เผยแพร่อัตลักษณ์ของสินค้าหรือบริการท้องถิ่นเพื่อกระตุ้นการรับรู้ ส่งผลต่อการเพิ่มรายได้และการพัฒนาในอนาคต จากนั้นก็จะผลักดันให้เจ้าของสินค้าท้องถิ่นและผู้คิดค้นได้จดคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งจะต่อยอดไปถึงการหาแหล่งเงินทุนเพื่อการส่งเสริมเชิงพาณิชย์ในอนาคต รวมถึงประสานถึงผู้ว่าราชการจังหวัดในการช่วยผลักดันให้ท้องถิ่นเห็นความสำคัญคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา

“ขณะนี้ผู้บริโภคหรือประเทศนำเข้าสินค้า ไม่แค่ให้ความเรื่องตัวสินค้าและราคาเท่านั้น แต่ลงลึกถึงรายละเอียดที่มาของขบวนการผลิตและแหล่งวัตถุดิบด้วย ให้ความสำคัญต่อ Gap analysis มากขึ้น ไทยต้องเตรียมพร้อม เพราะการส่งออกไทยนั้นกว่าครึ่งเป็นภาคอุตสาหกรรม และมีหลายอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ต้องดึงดูดมาลงทุนในไทย ที่สำคัญรัฐต้องการสร้างสตาร์ตอัพเพื่อให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ในยุค4.0 การสร้างความเชื่อมั่นต่อการลงทุนและสร้างให้เห็นถึงความได้เปรียบเป็นเรื่องสำคัญ ” นายประโยชน์ กล่าว

Advertisement

นายประโยชน์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ต่างประเทศตื่นตัวการยื่นจดทะเบียนคุ้มครองจีไอกับไทย โดยขณะนี้มีต่างชาติยื่นจดคุ้มครองสินค้าจีไอของเขาและอยู่ระหว่างขั้นตอนตอนตรวจสอบ 13 คำขอ อาทิ ญี่ปุ่น ยื่นจดจีไอเนื้อโกเบ เมล่อน อินเดียยื่นจดจีไอข้าวบาสมาติ อิตาลี ยื่นจดจีไอเนยแข็ง เหล้า แฮม สหรัฐยื่นจดจีไอ องุ่นแคลิฟอเนียร์ และไอริส ยื่นจดเครื่องดื่ม เป็นต้น

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image