“สุริยะ”ดันเขตลงทุน2หมื่นล.รับบีซีจี ไทยอีสเทิร์นพร้อมหนุนแปรรูปเกษตรทั่วประเทศ

“สุริยะ”ดันเขตประกอบการอุตสาหกรรมไทยอีสเทิร์น ไบโอ-เซอร์คูลาห์ กรีน คอมเพล็กซ์ 2หมื่นล.รับบีซีจี -เชื่อมโยงแปรรูปเกษตรทั่วประเทศ

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า เมื่อเร็วๆนี้ กระทรวงฯได้ประกาศจัดตั้งโครงการเขตประกอบการอุตสาหกรรมไทยอีสเทิร์น ไบโอ-เซอร์คูลาห์ กรีน คอมเพล็กซ์ ช.ชลบุรี พื้นที่ 725 ไร่ ซึ่งเขตประกอบการด้านเกษตรชีวภาพแห่งแรกของเอเชีย รองรับนโยบายบีซีจี(ไบโอ เซอร์คูลาร์ กรีน) อีโคโนมี ของรัฐบาล ภายในเขตประกอบการฯ ประกอบด้วยโรงงาน เกษตรแปรรูปปาล์มน้ำมัน ยางพารา และพลังงานทดแทน พร้อมอุตสาหกรรมต่อเนื่อง อาทิ โรงงานผลิตเยื่อกระดาษจากทะลายปาล์ม ถือเป็นความสำเร็จที่ภาคเอกชนและภาครัฐร่วมกันผลักดันการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) การพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย สาขาเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ การเชื่อมโยงภาคเกษตรกรรมกับภาคอุตสาหกรรม และเป็นระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนเต็มรูปแบบ

“โครงการนี้มีการลงทุนใหม่กว่า 20,000 ล้านบาท เกิดจ้างแรงงานในพื้นที่กว่า 8,000 อัตราภายใน 3 ปี และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 100,000 ล้านบาทต่อปี คาดว่าจะสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับเกษตรกรในพื้นที่โดยรอบเขตประกอบการอุตสาหกรรมกว่า 2.5 ล้านไร่ ส่งผลให้ไทยเป็นผู้นำด้านผลผลิตทางการเกษตรหลายชนิดด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเขตประกอบการอุตสาหกรรมไทยอีสเทิร์นฯ จะช่วยส่งเสริมให้เกษตรกรพัฒนาผลผลิตที่มีคุณภาพเพื่อป้อนสู่อุตสาหกรรมเกษตรชีวภาพ และเป็นตัวอย่างที่ดีของการต่อยอดอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปไปสู่อุตสาหกรรมเกษตรชีวภาพที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น” นายสุริยะกล่าว

นายสมชาย โกกนุทาภรณ์ ประธานกลุ่มบริษัทไทยอีสเทิร์น กล่าวว่า บริษัท ไทยอีสเทิร์น อินดัสเตรียล แลนด์ จำกัด ผู้พัฒนาโครงการเขตประกอบการอุตสาหกรรมไทยอีสเทิร์น มีการออกแบบและพัฒนาระบบ การบริหารจัดการทรัพยากรภายในอย่างเกื้อกูลกันเกิดการแลกเปลี่ยนด้านพลังงาน วัตถุดิบ วัสดุเหลือใช้ และกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันอย่างเหมาะสม รองรับพืชเศรษฐกิจต่างๆ อาทิ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน พืชพลังงาน อาหาร ผลไม้ พืชสมุนไพร และวัตถุดิบอื่นๆ ทางชีวภาพ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมแปรรูปทางการเกษตรทั้งระบบในภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคอีสาน ภาคเหนือ และภาคใต้ตอนบน

Advertisement

“โครงการนี้จะเป็นศูนย์กลางของการสร้างบุคลากรเทคโนโลยีและนวัตกรรมเ พื่อรองรับการขยายตัวในภาคอุตสาหกรรมเกษตรชีวภาพขั้นปลายในอนาคต และเป็นไบโอ เคมิคัล ฮับ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ยา เครื่องสำอาง อาหารจากเกษตรชีวภาพ ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มสูงอยู่ระดับบนของห่วงโซ่การผลิตในอนาคต”นายสมชายกล่าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image