วิเคราะห์เงื่อนไข กขค. ฝั่งเทสโก้ลุ้นให้จบ หากสะดุด หวั่นภาวะสุญญากาศหาคนซื้อต่อไม่ได้

วิเคราะห์เงื่อนไข กขค. ฝั่งเทสโก้ลุ้นให้จบ หากสะดุด หวั่นภาวะสุญญากาศหาคนซื้อต่อไม่ได้

ประเทศไทยในภาวะวิกฤตโควิด และความไม่แน่นอนทางการเมือง เมื่อมีประเด็นใหญ่อย่างการซื้อขายกิจการเทสโก้โลตัสในประเทศไทย ก็จะถูกหยิบยกมาเป็นประเด็นทางการเมือง โดยที่หลายคนมองข้ามความจำเป็นในการซื้อขายในครั้งนี้ว่า “เทสโก้ จำเป็นต้องขาย เพราะนโยบายเลิกทำธุรกิจในเอเซีย” ซึ่งหากไม่ใช่ซีพีเป็นผู้ซื้อ หรือดีลนี้สะดุด ยังไงเทสโก้ก็ต้องขายให้ใครสักคนอยู่ดี หากวิเคราะห์ส่วนแบ่งตลาดของเทสโก้โลตัสในประเทศไทย ไม่ว่า คู่แข่งที่ร่วมประมูลเดิม หากดีลซีพีไม่สำเร็จ ไม่ว่ารายใดมารับช่วงซื้อต่อไม่ได้ เพราะก็ติดเงื่อนไขเดียวกันกับซีพีทั้งสิ้น ดังนั้น คนที่ไม่ต้องการให้ดีลนี้เกิดขึ้น ต้องหาทางออกให้เทสโก้บริษัทแม่ด้วย เพราะยังไงก็ต้องขายธุรกิจในประเทศไทย ภาวะสุญญากาศจะเกิดขึ้นทันที

ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์ของเทสโก้ ที่ขายกิจการในเอเชียถือเป็นการเลิกทำธุรกิจในเอเชียทั้งหมด ซึ่งก่อนหน้านี้ เทสโก้ ได้ขายกิจการในเกาหลีใต้มาแล้วในราคา 4 พันล้านปอนด์ หรือราว 160,000 ล้านบาท และหลังจากขาย เทสโก้ จะคงเหลือการดำเนินงานในสหราชอาณาจักร และในยุโรปบางประเทศเท่านั้น ดังนั้น ดีลมูลค่า 3.38 แสนล้านบาท คงมีคนมีกำลังซื้อเพียงไม่กี่คนในประเทศไทย หากดีลนี้สะดุด ผู้เล่นระดับโลกอย่างวอลมาร์ท ของอเมริกา ก็จับตาดูอยู่ เพราะนอกจากราคาเทสโก้จะร่วง หากดีลนี้ไม่สำเร็จแล้ว ยังเป็นโอกาสให้ผู้เล่นระดับโลกเช่น วอลมาร์ท สามารถใช้โอกาสนี้ บุกตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย

ในปีที่ผ่านมา นายสก็อตต์ ไพรซ์ รองประธานบริหาร บริษัท วอลมาร์ท อินเตอร์เนชั่นแนล ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ของสหรัฐได้เข้ามาพบกับรัฐบาลไทย โดยนายสก็อตต์ให้ข้อมูลด้วยว่า จากการได้พูดคุยกับกลุ่มนักธุรกิจในเครือบริษัททั่วโลก มีความเห็นตรงกันว่า ถ้าจะเข้ามาทำธุรกิจในภูมิภาคนี้ต้องเข้ามาที่ประเทศไทย เพราะมีการพัฒนาศักยภาพในหลายด้าน รวมทั้งแสดงความสนใจที่จะมาลงทุนในอีอีซีด้วย

อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ความไม่แน่นอนในช่วงโควิด และวิกฤตเศรษฐกิจ ทำเอาดีลใหญ่ ย้ายฐานการผลิตหนีจากไทย เพราะปัจจัยความไม่แน่นอน ทำให้เทสโก้เองก็วางใจไม่ได้ หากดีลการซื้อขายกับซีพีสะดุด จะมีผู้เล่นมาซื้อต่อหรือไม่ เพราะยังไม่รู้ว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวเมื่อใด และ ต้องใช้เวลาในการเริ่มเจรจาและเข้าสู่กระบวนการต่างๆอีกเป็นปี ซึ่งจะส่งผลเสียหายต่อธุรกิจ และอาจกระทบต่อการจ้างงานจำนวนมาก นอกจากนี้ เงื่อนไข 7 ข้อของคณะกรรมการ กขค. ที่ออกมา ก็ถือเป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับผู้รับซื้อด้วย หากเกิดปัญหา และต้องหาผู้ซื้อรายใหม่ อาจใช้เงื่อนไข 7 ข้อ ที่ทำให้ต้นทุนการดำเนินการเพิ่มขึ้นอีกกว่า 12,000 ล้านบาท ทำให้ดีลใหม่เป็นไปได้ยากมากยิ่งขึ้น หรือ งานนี้ฝ่ายสกัด และฝ่ายไม่เห็นด้วยกับดีลนี้ จะเป็นการเปิดช่องทางลงให้ซีพี ในภาวะวิกฤตโควิด รอดจากการซื้อในราคาสูงก่อนวิกฤต มีทางลงแบบสวยๆ แล้วไปเน้นขยายในเทสโก้มาเลเซียแทน ที่ล่าสุดบอร์ดแข่งขันทางการค้ามาเลเซีย ไฟเขียวไปเรียบร้อยแล้ว เพราะการขยายการลงทุน การสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ลงทุนสำคัญที่สุด และโจทย์ที่สำคัญที่ต้องคิดต่อคือ จะรักษาการจ้างงาน และ สร้างความต่อเนื่องทางธุรกิจให้กับคู่ค้าได้อย่างไร

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image