‘แบงก์ชาติ’ มติเอกฉันท์คงดอกเบี้ย 0.50 ต่อปี ย้ำภาวะเศรษฐกิจยังเปราะบาง แม้ปรับดีขึ้นกว่าคาด
นายทิตนันทิ์ มัลลิกะมาส เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยถึงผลการประชุม กนง. ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2563 ว่า คณะกรรมการฯ มีมติป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและเน้นมาตรการช่วยเหลือที่ตรงจุดมากขึ้น โดยคณะกรรมการฯ ประเมินว่ส แม้ศรษฐกิไทยจะปรับตัวดีขึ้นกว่าที่คาดไว้ แต่ยังมีแนวโน้มพื้นตัวช้า และยังต้องการแรงสนับสนุนจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการฟื้นตัวของเศษฐกิจไทยยังคงมีความเปราะบาง และมีความไม่แน่นอนสูง คณะกรรมการฯ จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ และรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงินที่มีจำกัด เพื่อใช้ในจังหวะที่เหมาะสมและเกิดประสิทธิผลสูงสุด
“เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3/2563 ปรับตัวดีขึ้นกว่าที่คาด แต่ยังมีแนวโน้มพื้นตัวช้า และแตกต่างกันมากระหว่างภาคเศรษฐกิจต่างๆ โดยคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 ปี ก่อนที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมจะกลับสู่ระดับก่อนการระบาดโควิด-19 ส่งผลให้ตลาดแรงานยังคงเปราะบาง โดยเฉพาะรายได้ของแรงานที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งจะกดดันการบริโภคภาคเอกชนโดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อย เมื่อปัจจัยสนับสนุน
ชั่วคราวเริ่มหมดลง ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐมีแนวโน้มต่ำกว่าที่ประเมินไว้ ด้านระบบการเงินยังมีเสถียรภาพ แม้จะมีความประบางขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจและความเสี่ยงต่อฐานะทางการเงินของภาคธุรกิจ และครัวเรือน ส่วนอัตราเงินพ้อทั่วไปมีแนวโน้มติดลบน้อยลงจากราคาพลังานที่เพิ่มขึ้น และอยู่ใกล้เคียงกับขอบล่างของกรอบเป้าหมายในปี 2564 ด้านการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระยะปานกลางและยึดเหนี่ยวอยู่ในกรอบเป้าหมาย” นายทิตนันทิ์ กล่าว
นายทิตนันทิ์ กล่าวว่า สภาพคล่องในระบบยังอยู่ในระดับสูง และต้นทุนทางการเงิรอยู่ในระดับต่ำ โดยธุรกิจและครัวเรือนบางส่วนที่ต้องการสภาพคล่องยังไม่สามารถข้าถึงสินเชื่อได้ โดยเฉพาะธุรกิจเอสเอ็มอี ด้านด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับแข็งค่าขึ้นเร็วจากนักลงทุนต่างชาติที่กลับมาลงทุนในสินทรัพย์ของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่เพิ่มขึ้น ภายหลังผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ และความคืบหน้าของการพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 คณะกรรมการฯ กังวลต่อสถานการณ์เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเร็ว ซึ่งกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิที่ยังคงเปราะบาง จึงเห็นควรให้ติดตามตลาดอัตราแลกเปลี่ยนและเงินทุนเคลื่อนย้ายอย่างใกล้ชิด รวมทั้งพิจารณาความจำเป็นของการดำเนินมาตรการที่เหมาะสมเพิ่มเติม
นายทิตนันทิ์ กล่าวว่า คณะกรรมการฯ เห็นว่าการประสานนโยบายระหว่างหน่วยงานภาครัฐมีความสำคัญต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิในระยะถัดไป โดยนโยบายการเงินต้องผ่อนคลายต่อเนื่อง มาตรการทางการเงินและสินเชื่อควรเร่งกระจายสภาพคล่องไปสู่ผู้ที่ได้รับผลกระทบให้ตรงจุดและทันเหตุการณ์ รวมทั้งผลักดันให้สถาบันการเงินเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้เกิดผลในวงกว้าง สำหรับมาตรการการคลังมีบทบาทสำคัญในการพยุงเศรษฐกินอย่างต่อเนื่อง จึงควรเร่งเบิกจ่ายและให้ความช่วยเหลือกลุ่มที่เปราะบางอย่างตรงจุด ควบคู่กับการเร่งดำเนินนโยบายด้านอุปทาน เพื่อปรับรูปแบบธุรกิจและยกระดับทักษะแรงงาน ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างยั่งยืนในระยะยาว ภายใต้กรอบการดำเนินโยบายการงินที่มีเป้าหมาย เพื่อรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่กับดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนและเต็มศักยภาพ รวมถีงรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน คณะกรรมการฯ ยังคงให้น้ำหนักกับการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นสำคัญ รวมถึงติดตามความเพียงพอของมาตรการภาครัฐ และปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ทั้งความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศ ความคืบหน้าของการเปิดรับนักท่องเที่ยว ฐานะทางการเงินของภาคธุรกิจและครัวเรือน ในการดำเนินนโยบายการเงินในระยะข้างหน้า โดยพร้อมใช้เครื่องมือนโยบายการเงินที่เหมาะสมเพิ่มเติมหากจำเป็น