‘โลตัส’ เปลี่ยนมือ แต่ความช่วยเหลือสังคมจะไม่เปลี่ยนแปลง

‘โลตัส’ เปลี่ยนมือ แต่ความช่วยเหลือสังคมจะไม่เปลี่ยนแปลง

เป็นข่าวครึกโครมมาตลอดตั้งแต่ เทสโก้ ประเทศอังกฤษ ประกาศขายกิจการ Lotus ในไทยและมาเลเซีย ในที่สุด กลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เป็นผู้ชนะการประมูลด้วยวงเงิน 3 แสนล้านบาท เป็นการรับธุรกิจกลับสู่อ้อมอก ด้วยห้างค้าปลีกแห่งนี้ถือกำเนิดเกิดขึ้นจากเครือซีพี และจำต้องพลัดพรากกันไปเมื่อครั้งวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540

บิ๊กดีลคราวนี้จะสำเร็จครบถ้วนต้องฝ่าด่าน 3 ด่านคือ

1.มติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของ Tesco UK สำหรับการขายหุ้นในกลุ่มเทสโก้เอเชีย

2.สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (สขค.) อนุญาตให้ทำรายการ และ

Advertisement

3.ได้รับอนุญาตจาก Ministry of Domestic Trade and Consumers Affairs of Malaysia ซึ่งซีพีสามารถผ่านทั้ง 3 ด่านมาได้ทั้งมด และจะมีการจ่ายเงินเพื่อปิดดีลกันในวันที่ 18 ธันวาคมนี้ เป็นไปตามคาดว่าทุกอย่างจะเสร็จสิ้นลงภายในปี 2563

ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ ประกาศคำมั่นในเวทีโลกที่จะเดินหน้าธุรกิจของเครือฯในด้านความยั่งยืนอย่างเต็มที่ ตามกรอบเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UNSDG) และการที่บริษัทมหาชนในเครือฯ ล้วนได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของ DJSI ยิ่งตอกย้ำว่าเครือนี้ทำธุรกิจอย่างมีมาตรฐาน โปร่งใส ได้ประสิทธิผลตามแนวทางความยั่งยืนที่โลกยอมรับ ซึ่งครอบคลุมถึงการดูแลสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมด้วย

ดังนั้น มั่นใจได้ว่า Lotus เปลี่ยนเจ้าของ แต่นโยบายดำเนินธุรกิจจะไม่เปลี่ยนแปลง Lotus จะยังคงเป็นห้างค้าปลีกที่ทำธุรกิจภายใต้แผนงานความยั่งยืน 4 ด้านหลัก คือ People (เพื่อนพนักงาน) Products (สินค้า) Places (ชุมชน) และ Planet (สิ่งแวดล้อม) สร้างประโยชน์ให้ทุกภาคส่วน มีโครงการที่โดดเด่น เช่น สินค้าอาหารที่มาจากแหล่งที่ยั่งยืน การลดใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกและลดขยะอาหาร ตามกรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs) เช่นเดียวกัน

Advertisement

ยกตัวอย่างในบางด้าน อาทิ ด้านพนักงาน : Lotus จ้างงานผู้เกษียณอายุเป็นจำนวนมาก เพื่อสร้างรายได้และมอบสังคมที่ดีให้คนวัยเกษียณ การันตีด้วยรางวัลสุดยอดนายจ้างดีเด่นแห่งประเทศไทย 4 ปีซ้อน สะท้อนการดูแลพนักงานอย่างดี ส่วนในด้านสินค้า : Lotus รับซื้อผลผลิตโดยตรงจากเกษตรกรถึง 1,000 รายทั่วไทย ทั้งยังให้ความรู้ในการพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ปลอดภัยไร้สารเคมีอันตรายตกค้าง เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค รวมถึงเปิดเผยข้อมูลขยะอาหารในธุรกิจอย่างโปร่งใสเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน เพื่อมุ่งสู่การลดขยะอาหารลงให้ได้ 50% ภายในปี 2030

สำหรับในด้านชุมชน : Lotus ก็ดูแลสังคมด้วยการบริจาคอาหารครบ 1 ล้านมื้อในปีนี้ ช่วยเหลือชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ขณะที่ในด้านสิ่งแวดล้อม : ยังเป็นห้างค้าปลีกที่ใช้พลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์มากที่สุด ด้วยการติดตั้งโซลาเซลล์ (Solar PV Rooftop) บนหลังคาไฮเปอร์มาร์เก็ต 47 สาขาและศูนย์กระจายสินค้า 6 แห่ง มีกำลังการผลิตต่อปี รวม 40 เมกะวัตต์ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 18% เมื่อเทียบกับปีฐาน ปี 2015/16 และเดินหน้าสู่การบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 60 % ในปี 2025

การเปลี่ยนมือเจ้าของ Lotus ในครั้งนี้ นอกจากจะไม่ทำให้สิ่งดีๆ ที่โลตัสทำเพื่อสังคมเปลี่ยนไป แต่กลับจะสอดคล้องกลมกลืนเป็นเนื้อเดียว รวมถึงการดูแลคู่ค้าและซัพพลายเออร์ที่ปกติเครือซีพีเองก็มีการทำธุรกรรมด้วยนับหมื่นนับแสนราย อย่าลืมว่าด้วยความเป็นมืออาชีพและเป็นองค์กรระดับโลกที่ทำธุรกิจในกว่า 20 ประเทศ การขยับตัวของเครือซีพีจะอยู่ในสายตาประชาคมโลกที่จับจ้องเสมอ ย่อมต้องคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนเป็นสำคัญ

ถ้ามองอีกมุมหนึ่งของดีลครั้งนี้ จะเห็นโอกาสอันดีของเกษตรกร หรือ SMEs ที่พร้อมจะส่งสินค้าไปขายได้ไกลขึ้นด้วยศักยภาพของเครือซีพี … กฏระเบียบเงื่อนไขที่ กขค. วางไว้ การดำเนินธุรกิจที่จะปรากฏให้สังคมเห็น รวมถึงการตัดสินใจของผู้บริโภคจะเป็นบทพิสูจน์ว่า การควบรวมครั้งนี้เกิดคุณประโยชน์หรือให้โทษแก่ส่วนรวม

กรุณา พัสตราภรณ์

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image