เทียบชัดๆ ‘เราชนะ-เราไม่ทิ้งกัน’ มาตรการไหนโดนใจปชช.มากกว่า
ผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่รัฐบาลได้ออกมาตรการชดเชยรายได้ของรัฐบาลสู่ประชาชนคนไทย เกิดขึ้นครั้งแรก ภายใต้ชื่อว่า ‘เราไม่ทิ้งกัน’ ด้วยการมอบเงินเยียวยาจำนวน 5,000 บาท ต่อคนต่อเดือน เป็นเวลา 3 เดือน รวม 15,000 บาท
โดยมี ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการ ผู้ที่ผ่านการลงทะเบียนแสดงความจำนงตรวจสอบคุณสมบัติและการโอนเงินผ่านระบบ อิเล็กทรอนิกส์ เช่น พร้อมเพย์ตามเลขบัตรประจำตัวประชาชน โอนเข้าบัญชีธนาคาร กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ส่วนวิธีการขอรับความช่วยเหลือจะเป็นไปตามแนวทางที่กระทรวงการคลังกำหนด
17 ธันวาคม 2563 ประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 อีกครั้ง เป็นเจ้าของแพปลาที่จังหวัดสมุทรสาคร มีผู้ใกล้ชิดและบุคคลที่เกี่ยวข้องจำนวนมากถึง 10,000 คน โดยข้อสันนิษฐานคืออาจติดเชื้อจากการสัมผัสแรงงานต่างด้าวที่ทำประมง ทำให้ผู้ติดเชื้อสะสมในประเทศไทยขณะนี้ เกิน 1 หมื่นคนเป็นเรียบร้อย
12 มกราคม 2564 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม, นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน, นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง และนายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ร่วมกันแถลงข่าวมาตรการช่วยเหลือประชาชนจากการแพร่ระบาดโควิด หนึ่งในมาตราการที่แถลงร่วมกันคือ มาตรการเยียวยา 3,500 บาท ระยะเวลา 2 เดือน ภายใต้ชื่อใหม่ว่า ‘เราชนะ’
หลังจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รอบที่ 2 รัฐบาลออกมาตรการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบรอบใหม่ โดยมีการเปลี่ยนชื่อโครงการและ ปรับปรุงรายละเอียดแพ็กเกจมาตราการให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย และสอดคล้องกับงบประมาณมากขึ้น เช่น โครงการเราไม่ทิ้งกัน ในการระบาดรอบแรก แจกผู้ที่ได้รับผลกระทบทั่วประเทศ 15 ล้านราย แต่ในครั้งนี้ใช้ชื่อว่า โครงการเราชนะ เป้าหมาย 30 ล้านราย
สำหรับ ข้อมูลความแตกต่าง วงเงินและกลุ่มเป้าหมาย ระยะเวลาในการแจกเงินโครงการเราไม่ทิ้งกันและโครงการเราชนะ โครงการเราไม่ทิ้งกัน
ลงทะเบียน
ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com
บุคคลที่มีคุณสมบัติได้รับเงิน
แรงงาน
ลูกจ้างชั่วคราว
อาชีพอิสระ
ผู้ที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคมตามมาตรา 33
ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19
มีอายุ 18 ปีขึ้นไป
หลักฐานที่ใช้ลงทะเบียน
หมายเลขบัตรประชาชน
ข้อมูลการประกอบอาชีพ
ข้อมูลบริษัทนายจ้าง (กรณีมีนายจ้าง)
ข้อมูลปัญหาความเดือดร้อน
การจ่ายเงินจะโอนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ 2 ช่องทาง
บัญชีพร้อมเพย์ของธนาคารใดก็ได้ที่ผูกกับเลขบัตรประจำตัวประชาชน ซึ่งสามารถสมัครผ่านทางตู้เอทีเอ็ม หรือ แอพพลิเคชั่นบนมือถือของแต่ละธนาคาร บัญชีธนาคารใดก็ได้ที่มีอยู่เดิมโดยที่ชื่อและนามสกุลเจ้าของบัญชีต้องตรงกับชื่อและนามสกุลที่นำมาลงทะเบียน
โครงการเราชนะ
วงเงิน 3,500 บาท ต่อคน ต่อเดือน จำนวน 2 เดือน
แรงงาน
ลูกจ้างชั่วคราว
อาชีพอิสระ
เกษตกร
จะเสนอ ครม. วันที่ 19 มกราคม 2564
ประชาชนสามารถใช้เงินได้เร็วสุดภายในสิ้นเดือนมกราคม หรือต้นเดือนกุมภาพันธ์
ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ โครงการเราชนะ
ผู้ที่จะไม่ได้รับสิทธิ ‘เราชนะ’
นางสาวกุลยา ตันติเตมิท รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า สำหรับคุณสมบัติผู้ที่จะไม่ได้รับในเบื้องต้น คือ
ผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคม จำนวน 11 ล้านคน ยกเว้นผู้ที่อยู่ในมาตรการ 39 และมาตรา 40
ข้าราชการและพนักงานของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 3 ล้านคน
ผู้ที่มีรายได้สูง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาเกณฑ์คุณสมบัติ โดยอาจจะประเมินจากฐานเงินเดือนและบัญชีเงินฝาก
ส่วนผู้ที่ถือบัตรสวัสดิการ 14 ล้านคน จะได้เข้าร่วมมาตรการอัตโนมัติ โดยไม่ต้องเข้ามาลงทะเบียน ขณะที่ผู้ที่เคยเข้าร่วมมาตรการของรัฐซึ่งมีแอปเป๋าตังอยู่แล้ว เช่น โครงการคนละครึ่ง จำนวน 15.3 ล้านคน คลังจะดึงข้อมูลเหล่านั้นมาพิจารณา ถ้ามีรายได้เกินเงื่อนไขที่กำหนดจะถูกตัดสิทธิ
ส่วนผู้ที่เข้าเกณฑ์จะได้รับเงินอัตโนมัติ ซึ่งต้องรอรับเงินผ่านแอปเป๋าตัง โดยไม่ต้องลงทะเบียน ขณะที่ผู้ผ่านเกณฑ์แต่ไม่ได้มีฐานข้อมูลในแอปเป๋าตังจะได้รับเงินผ่านพร้อมเพย์
เราไม่ทิ้งกัน : เราชนะ ต่างกันอย่างไร
ความเหมือน
เป็นการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
ใช้จ่ายผ่านแอพพลิเคชัน เป๋าตัง
ข้อมูลการประกอบอาชีพข้อมูลหลักฐานที่ใช้ลงทะเบียน เช่น หมายเลขบัตรประชาชน, ข้อมูลการประกอบอาชีพ
ความแตกต่าง
จำนวนเงิน ‘เราไม่ทิ้งกัน’ ได้จำนวนเงิน 5,000 x 3 = 15,000 บาท ‘เราชนะ’ ได้จำนวนเงิน 3,500 x 2 = 7,000 บาท ทำให้ ‘เราไม่ทิ้งกัน’ ได้ จำนวนเงินที่มากกว่า ‘เราชนะ’ ถึง 8,000 บาท
กลุ่มเป้าหมาย ‘เราไม่ทิ้งกัน’ รองรับกลุ่มอาชีพแรงงาน ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระ ผู้ที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคมตามมาตรา 33
ส่วน ‘เราชนะ’ รองรับกลุ่มอาชีพ แรงงาน ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระ และเกษตกร รวมถึงรองรับผู้ที่ถือบัตรสวัสดิการ 14 ล้านคน จะได้เข้าร่วมมาตรการอัตโนมัติ โดยไม่ต้องเข้ามาลงทะเบียน ขณะที่ผู้ที่เคยเข้าร่วมมาตรการของรัฐซึ่งมีแอพเป๋าตังอยู่แล้ว เช่น โครงการคนละครึ่ง จำนวน 15.3 ล้านคน คลังจะดึงข้อมูลเหล่านั้นมาพิจารณา ‘เราชนะ’ รองรับ กลุ่มเป้าหมายมากกว่า เราไม่ทิ้งกัน
การลงทะเบียน ‘เราไม่ทิ้งกัน’ ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com
ส่วน ‘เราชนะ’ ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.เราชนะ.com (ในสัปดาห์หน้า หลัง ครม.อนุมัติก็จะแจ้งวันลงทะเบียนให้ชัดเจนอีกครั้ง)
ขอบคุณข้อมูล : ประชาชาติธุรกิจ