เอกชน ชี้ ‘เอสเอ็มอี’ เจ็บหนัก เฉือนธุรกิจทิ้ง

เอกชน ชี้ ‘เอสเอ็มอี’ เจ็บหนัก เฉือนธุรกิจทิ้ง รอความช่วยเหลือรัฐ หนุน ‘เราชนะ’ แจก 7,000 วอนทั่วถึง

น.ส.โชนรังสี เฉลิมชัยกิจ ประธานกิตติมศักดิ์สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย กล่าวถึงโครงการเราชนะ ที่รัฐบาลแจกเงินให้ประชาชน 3,500 บาทต่อคนต่อเดือน เป็นระยะเวลา 2 เดือน ที่เป็นมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ว่า จากแพร่ระบาดของโควิด-19ที่กระจายไปมาก ทำให้การใช้จ่ายของหยุดชะงัก จากการพูดคุยสอบถาม คนที่เดือดร้อนคือกลุ่มเปราะบาง เพราะว่าถ้าธุรกิจหยุดชะงัก และคนกลุ่มนี้หารายได้เป็นรายวัน เขาต้องถูกสั่งระงับการทำงานแน่นอน รายได้รายวันก็หายไป มาตรการนี้น่าจะช่วยกลุ่มเปราะบาง ไม่ใช่ว่าจะต้องกลั่นกรองเหมือนรอบที่แจก 5,000 บาทเมื่อเดือนเมษายน 2563 ที่ช่วยคนที่ตกงาน

ขณะนี้ ทุกพื้นที่ในประเทศได้รับความเดือนร้อนทางเศรษฐกิจ ไม่ใช่เพียงในพื้นที่เขตความคุมสูงสูด และสูงสุดและเข้มงวด 28 จังหวัด ดังนั้นการที่รัฐบาลช่วยให้เงินเยียวยา ควรจะให้ทั้งประเทศ และตอนนนี้เกณฑ์ของผู้ได้รับสิทธิยังไม่ชัดเจน ก็อยากให้รัฐบาลพิจารณาให้รอบครอบ ให้เยียวยาส่วนนี้ไปถึงคนที่เดือนร้อนจริง

น.ส.โชนรังสี กล่าวว่า อย่างกลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จากสถานการณ์รอบนี้ไม่ได้ถูกสั่งล็อกดาวน์แบบครั้งที่ผ่านมา คิดว่าความเดือนร้อนน่าจะแตกต่างกันออกไป จากการพูดคุยกับเพื่อนที่ทำธุรกิจขนาดย่อยก็ได้รับผลกระทบ แต่ไม่ใช่ผลมาจากการระบาดระลอก 2 มันเป็นผลกระทบที่สะสมมาตั้งแต่ปีที่แล้ว และที่ได้พุดคุยกัน ก็มีคนที่ยืนยันว่าจะปิดตัวธุรกิจจริง ถ้าหากเขามีสองธุรกิจ เขาก็ต้องเลือกไว้หนึ่งธุรกิจ และก็ต้องเลิกจ้างงาน พร้อมจ่ายการชดเชยตามกฎหมาย ส่วนนี้คือผลกระทบต่อคนที่มีงานทำ ในขณะที่คนที่ไม่มีงานทำก็ไม่ถูกจ้างงานแน่นอน ถ้าไม่เข้าวัดเพื่อขอข้าวกิน ก็คงไม่มีข้าวกิน ดังนั้น ความเห็นในเบื้องต้น ถ้าคัดกรองแล้วช่วยเหลือคนที่ลำบากจริงๆ แล้วช่วยได้ระยะสั้นแล้วมีงบประมาณอยู่จริง ก็อาจเป็นการช่วยยืดอายุครอบครัวเขาได้

แต่ในระยะยาวนั้น คิดว่าการให้เงินอย่างเดียว โดยไม่รู้ว่าเขาจะนำไปใช้อะไรบ้างนั้น ยังถือว่าไม่ใช่การแก้ไขปัญหาที่แท้จริง ดังนั้นรัฐบาลควรนำ วิธีการแบบรัฐสวัสดิการ อาทิในยุโรป มาใช้แก้ไขปัญหา เพื่อช่วยเหลือในเรื่องปัจจัย 4 ที่เป็นพื้นฐานการดำรงชีวิต อาทิ การทำโรงทาน การทำที่พักอาศัยชั่วคราว และหลังจากนั้นอาจจะต่อยอดไปถึงการพัฒนาฝึกอาชีพ และการสร้างงานในอนาคต

Advertisement

“ความแตกต่างความเดือดร้อนระหว่างธุรกิจในและนอกพื้นที่เขตควมคุม 28 จังหวัดนั้น อาทิ ปกติตามร้านค้า จะต้องมีพนักงานเขาไปเยี่ยมตามที่ทำงาน โรงงานก็จะได้ยอดขายมา ถึงแม้จะมีการสั่งทางโทรศัพท์ได้ แต่ยอดขาดก็ไม่เท่ากับการที่เข้าไปเช็คสต็อกตามร้านค้า และเมื่อห้ามพนักงานขายเข้าไปเยี่ยมที่ร้าน ทำให้พูดคุยติดต่อธุรกิจก็อาจจะไม่สะดวก รวมทั้งต้องตรวจสอบว่าส่งของหรือเดินทางไปพื้นที่นี้ได้หรือไม่ ดังนั้นการทำธุรกิจจึงไม่ลงตัว ในภาคธุรกิจก็ช่วยลดความเสี่ยงของการแพร่ระบาดโควิด-19 แต่จะหยุดไปเหมือนแบบปีที่แล้วก็จะเหนื่อยหนัก การที่ไม่ล็อกดาวน์อาจจะส่งผลต่อดีในแง่ของธุรกิจ และการค้าขาย” น.ส.โชนรังสี กล่าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image