สปข.ยื่น 7 ข้อ ร้องทุกข์ถึงบิ๊กตู่ วอนตั้งกองทุนเสริมสภาพคล่อง

สปข.ยื่น 7 ข้อ ร้องทุกข์ถึงบิ๊กตู่ วอนตั้งกองทุนเสริมสภาพคล่อง

รายงานข่าวจากสมาคมผู้ประกอบการรถขนส่งทั่วไทย แจ้งว่า วันนี้ (9 ก.พ.2564) นายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ให้เกียรติแก่สมาคมผู้ประกอบการรถขนส่งทั่วไทย นำโดย ดร.วสุเชษฐ์ โสภณเสถียร นายกสมาคมฯ พร้อมด้วยผู้แทนของสมาคมฯ เข้ายื่นหนังสือถึง พล.อ ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ณ ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล โดยเนื้อหาในการเข้าพบ เพื่อขอความช่วยเหลือให้กับกลุ่มธุรกิจรถโดยสารไม่ประจำทาง ที่ได้รับผลกระทบความเดือดร้อนอย่างหนักจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในขณะนี้ และยังไม่ได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐโดยตรงทั้งนี้ทางเลขาธิการนายกรัฐมนตรี รับทราบปัญหาและร่วมกันนำเสนอแนวทางแก้ไข และจะเร่งนำส่งท่านนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป

สำหรับเรียกร้องขอความช่วยเหลือผู้ประกอบการถโดยสารไม่ประจำทาง เพื่อนำเรียนนายกรัฐมนตรีนั้น ทางสมาคมแบ่งเป็น 3 หมวด (7 ข้อ)

1.ลดรายจ่าย 1.1.การลดรายจ่าย : หนี้สินกับธนาคาร ไฟแนนซ์ ได้แก่ 1.2.การลดรายจ่าย : เงินเดือนลูกจ้าง เงินประกันสังคม เงินชดเชยลูกจ้างในระบบประกันสังคมจากการว่างงาน คนละ 7,500 บาท จำนวน 3 เดือน ลักษณะเดียวกับที่ประกันสังคมจ่ายในช่วงโควิดระยะแรก 1.3.การลดรายจ่าย : การยกเว้น ค่าภาษีประจำปีรถโดยสาร และค่าปรับต่า งๆ ของรถ และสถานประกอบการ ที่ค้างชำระ

2.การเสริมสภาพคล่อง ได้แก่ 2.1.การเสริมสภาพคล่อง : เงินช่วยเหลือรถรับจ้างไม่ประจำทาง จำนวน 40,000คัน คันละ 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน เท่ากับคันละ 15,000 บาท รวมเป็นเงิน 600ล้านบาท 2.2.การเสริมสภาพคล่อง : เพื่อให้เกิดมาตรการด้านความปลอดภัย โดยให้มี แหล่งเงินทุนซอฟท์โลน เพื่อประกอบธุรกิจให้อยู่รอดและยังคงยึดหลักด้านสาธารณสุขและความปลอดภัย และขอให้มีการตั้งกองทุน ที่ไม่ใช่ผ่านระบบไฟแนนซ์หรือธนาคาร เพื่อนำมาปรับปรุงฟื้นสภาพรถที่จะนำมาประกอบกิจการคันละ 300,000บาท โดยใช้ทะเบียนรถเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน โดยของบประมาณจากกองทุนเพื่อความ ปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน (กปถ.) นำมาเพื่อใช้กับโครงการนี้ในดอกเบี้ยอัตราพิเศษ

Advertisement

3.สร้างรายได้ ได้แก่ 3.1.เร่งให้เกิดการเดินทางของภาครัฐให้มากที่สุด หลังสถานการณ์แพร่ระบาดลดลง (ขณะนี้มีกำลังมีการตัดงบประมาณการเดินทางในประเทศจากหน่วยงานต่าง ๆ)3.2.ขอให้มีการจัดจ้างรถโดยสารไม่ประจำทางทั่วประเทศ จังหวัดละ 100 คัน พาประชาชนเดินทางท่องเที่ยวข้ามเขตจังหวัด เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวและสร้างรายได้ให้แต่ละพื้นที่ ซึ่งหากมีการเดินทางจังหวัดละ 4,000 คน รวมทั้งประเทศจะมีผู้เดินทาง 300,000 คน จะสามารถสร้างเงินหมุนเวียนได้กว่า 300ล้านบาท จากการสนับสนุนงบเพียง 76 ล้านบาท ทั้งนี้การจัดจ้างดังกล่าวขอให้เป็นการจัดจ้างกับบริษัท ผู้ประกอบการโดยตรง มิใช่ผ่านตัวแทนการท่องเที่ยว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image