เว็บไซต์นี้ใช้คุ้กกี้เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีมีประสิทธิภาพยิ่งขี้น อ่านเพิ่มเติมคลิก (Privacy Policy) และ (Cookies Policy)
มติชนออนไลน์
ค้นหา
Matichon Weekly Matichon Weekly
  • ข่าวในพระราชสำนัก
  • การเมือง
    • การ์ตูนรุทธ์
    • การ์ตูนอรุณ วัชระสวัสดิ์
    • รายงาน-วิเคราะห์
    • สถานีคิดเลขที่ 12
    • เรียงคน/ภาพข่าวสังคม
  • เศรษฐกิจ
    • คอฟฟี่เบรก
    • รถยนต์
    • รายงานเศรษฐกิจ
  • ในประเทศ
    • ชีวิตคุณภาพ
    • อาชญากรรม-กระบวนการยุติธรรม
    • วิทยาการ
    • การศึกษา
    • ศาสนา
    • ศิลปะและวัฒนธรรม
  • ภูมิภาค
  • ต่างประเทศ
    • ปริทรรศน์โลก
    • แปลกต่างแดน
  • กีฬา
    • กีฬาในประเทศ
    • กีฬาต่างประเทศ
    • Sport Scoops
    • กอล์ฟ
  • ประชาชื่น
    • คอลัมน์ประจำ
    • สกู๊ปประชาชื่น
    • สัมภาษณ์
    • ข่าวหนังสือ-วรรณกรรม
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง-โหราศาสตร์
    • วิทยาการ
    • ไอที
    • สังคม-สตรี
    • สุขภาพ-ความงาม
    • อาหาร-ท่องเที่ยว
    • เด็ก-เยาวชน
    • แฟชั่น
  • บันเทิง
    • บันเทิงเทศ
    • บันเทิงไทย
    • บันเทิง Deep Talk
  • คลิป
  • อื่นๆ
    • เกาะกระแสโซเชียล
    • มติชนทีวี
    • บทความ
    • คอลัมนิสต์
  • ข่าวในพระราชสำนัก
  • การเมือง
    • การ์ตูนรุทธ์
    • การ์ตูนอรุณ วัชระสวัสดิ์
    • รายงาน-วิเคราะห์
    • เรียงคน/ภาพข่าวสังคม
    • สถานีคิดเลขที่ 12
  • เศรษฐกิจ
    • คอฟฟี่เบรก
    • รถยนต์
    • รายงานเศรษฐกิจ
    • ช่องทางสร้างอาชีพ
  • ในประเทศ
    • ชีวิตคุณภาพ
    • อาชญากรรม-กระบวนการยุติธรรม
    • วิทยาการ
    • การศึกษา
    • ศาสนา
    • ศิลปะและวัฒนธรรม
  • ภูมิภาค
  • ต่างประเทศ
    • ปริทรรศน์โลก
    • แปลกต่างแดน
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง-โหราศาสตร์
    • ไอที
    • สังคม-สตรี
    • สุขภาพ-ความงาม
    • อาหาร-ท่องเที่ยว
    • เด็ก-เยาวชน
    • แฟชั่น
  • กีฬา
    • Sport Scoops
    • กีฬาต่างประเทศ
    • กีฬาในประเทศ
    • ฟุตบอลต่างประเทศ
    • ฟุตบอลในประเทศ
    • มวย
    • กอล์ฟ
  • บันเทิง
    • บันเทิงเทศ
    • บันเทิงไทย
    • บันเทิง Deep Talk
  • คลิป
  • ประชาชื่น
    • ข่าวหนังสือ-วรรณกรรม
  • อื่นๆ
    • เกาะกระแสโซเชียล
    • มติชนทีวี
    • บทความ
    • คอลัมนิสต์

บริษัทในเครือ

Matichon Weekly Matichon Weekly

ติดตาม

หน้าแรก เศรษฐกิจ คอลัมน์คิดเห็...
เศรษฐกิจ

คอลัมน์คิดเห็น share : รู้จักสามองค์ประกอบการลงทุนใน EV ที่จะทำให้เราไม่ตกธีมรถไฟฟ้า

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 - 12:44 น.
Facebook
Twitter
LINE
Copy Link
คอลัมน์คิดเห็น share : รู้จักสามองค์ประกอบการลงทุนใน EV ที่จะทำให้เราไม่ตกธีมรถไฟฟ้า
ผู้เขียนดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์

คอลัมน์คิดเห็น share : รู้จักสามองค์ประกอบการลงทุนใน EV
ที่จะทำให้เราไม่ตกธีมรถไฟฟ้า

หนึ่งในธีมการลงทุนที่โดดเด่นมากในช่วงนี้คือ Electronic Vehicle หรือ EV ที่สำนักวิจัยทั่วโลกเห็นพ้องต้องกันว่าเป็นกลุ่มธุรกิจที่ตลาดกำลังจะขยายตัวแรง จากราว 2 แสนล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน ไปเป็น 3 ล้านล้านดอลลาร์ ในปี 2040 คิดเป็นการเติบโตเกิน 20% ต่อปีในอีกสองทศวรรษ ยิ่งมองเลยไปอีก 30 ปีข้างหน้า 90% ของตลาดยานยนต์อาจกลายเป็น EV ไปหมดแล้ว

พอดีกับช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้พูดคุยกับ คุณกุลฉัตร จันทวิมล และ คุณคมสัน ผลานุสนธิ สองผู้บริหารจาก บลจ. UOB และ Asset Plus ที่เตรียมพร้อมนำเสนอกองทุนที่ลงทุนในธุรกิจ EV ช่วงนี้

เพื่อความเข้าใจและไม่พลาดโอกาสลงทุน ผมจึงนำบางส่วนของการพูดคุยมาสรุปและให้มุมมองเพื่อให้เราได้คิดตามไปด้วย โดยธีมนี้มี 3 ธุรกิจหลักคือ การผลิตแบตเตอรี่ การพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงาน และกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ทั้งหมดมีความสามารถในการทำกำไร ความเสี่ยง และบทบาทในตลาดการเงินแตกต่างกันทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

องค์ประกอบแรกและเป็นจุดที่มีโอกาสที่สุดในธีมนี้คือ “แบตเตอรี่” เป็นอุตสาหกรรมก้าวกระโดดที่มีการพัฒนาและการแข่งขันสูง

ADVERTISMENT

เด่นที่สุดในกลุ่มคือการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับ “ลิเธียม”ซึ่งมีฉายาว่าเป็น White Petroleum ส่วนประกอบหลักของแบตเตอรี่

การลงทุนที่เกี่ยวข้องมีไล่ตั้งแต่บริษัทที่ทำเหมืองลิเธียมในทวีปอเมริกาและออสเตรเลีย ไปจนถึงบริษัทชั้นนำในจีนและสหรัฐอเมริกาที่นำลิเธียมมาผลิตต่อเป็นแบตเตอรี่

จุดเด่นขององค์ประกอบนี้ คือต้นทุนที่ลดลงต่อเนื่องสวนทางกับประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ที่สูงขึ้นรวดเร็ว แต่ด้วยลักษณะการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับ Material พื้นฐาน จึงไม่ได้มี Barrier of Entry ผลตอบแทนมักเคลื่อนไหวไปตามราคาลิเธียม ขณะที่บริษัทเหล่านี้ก็มี Leverage สูง จึงมีความผันผวนระดับ 40% ต่อปี และมีความสัมพันธ์กับตลาด (Beta) สูงที่สุดในสามองค์ประกอบ

ต่อมาคือผู้พัฒนาพลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานสะอาด มีจุดเด่นคือได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐทั่วโลก

กลุ่มการลงทุนนี้จะประกอบไปด้วยผู้ผลิตพลังงาน และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างพลังงานจากหลากหลายต้นกำเนิดเช่น ขยะ ความร้อน เซลล์เชื้อเพลิง น้ำ แสงแดด หรือลม บริษัทเหล่านี้จะมีบทบาทในการกำหนดโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับ EV มีธุรกิจใหญ่กระจายตัวอยู่ในสหรัฐ ยุโรป และจีน

จุดเด่นคือได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ เพราะเป็นส่วนสำคัญสำหรับเป้าหมายการรักษาสิ่งแวดล้อม จึงมี Flow เข้าตลอดเวลา ขณะเดียวกันก็มีความเกี่ยวข้องกับหลากหลายอุตสาหกรรม และเป็น Platform ที่สามารถพัฒนาได้ต่อเนื่อง จึงมักมีผลตอบแทนที่เหนือกว่าตลาด (Alpha) สูงกว่าธุรกิจอื่น

แต่จุดอ่อนที่ชัดเจนก็คือต้นทุนซึ่งเป็นการวิจัยและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การลงทุนเหล่านี้จึงมักต้องรอผลตอบแทนในระยะยาว นอกจากนี้ การเมืองก็ต้องนิ่ง เพราะขาดการสนับสนุนจากภาครัฐไม่ได้ ส่งผลให้การลงทุนเหล่านี้มักมีความผันผวนสูงระดับ 30-40% ต่อปี

สุดท้าย ตัวเอกของธีม EV คือกลุ่มผู้ผลิตรถไฟฟ้า

ธุรกิจนี้จะประกอบไปด้วยสองอุตสาหกรรมหลัก คือเทคโนโลยีและยานยนต์ เพราะนอกจากจะตั้งเป้าพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าให้เคลื่อนที่ได้ในระยะไกลและราคาถูกลงแล้ว ปัจจุบันยังมีการพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างรถยนต์ ระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ ไปจนถึงการใช้รถยนต์โดยสารร่วมกัน ซึ่งถ้าเกิดขึ้นได้จริง จะกลายเป็นธุรกิจใหม่ที่สามารถสร้างผลตอบแทนเพิ่มเติม

การลงทุนส่วนใหญ่จะอยู่ในสหรัฐ จีน และเยอรมนี ส่วนหนึ่งเป็นธุรกิจที่สามารถสร้างกำไรได้แล้ว จึงมีความผันผวนอยู่ในระดับปานกลาง 15-25% อย่างไรก็ดี ปัญหาหลักของการลงทุนในกลุ่มผู้ผลิตรถไฟฟ้าตอนนี้คือการบริหารสัดส่วนลงทุน ระหว่างกลุ่มยานยนต์แบบใหม่ที่มีเทคโนโลยีล้ำสมัยแต่หุ้นมีราคาสูง (เช่น Tesla) กับกลุ่มยานยนต์ปัจจุบัน ที่ตลาดมองว่าจะถูก Disrupt ถ้าไม่สามารถปรับเปลี่ยนตามเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ ด้วยภาวะเช่นนี้ การแข่งขันในอุตสาหกรรมจึงสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และถ้าใครลงทุนผิดบริษัท ผิดช่วงเวลาก็อาจไม่ได้รับผลตอบแทนอย่างที่หวัง

โดยสรุป การลงทุนในธีม EV มีโอกาสสร้าง Alpha ให้นักลงทุนแน่ แต่ความแตกต่างอยู่ที่การรับความเสี่ยงบนองค์ประกอบอะไร เท่าไหร่ และเมื่อไหร่

แม้ทุกส่วนของธีม EV จะเป็นอนาคต แต่ระยะสั้นมีโอกาสและความเสี่ยงที่แตกต่างกัน

ผมมองตรงไปตรงมาที่สุดคือธุรกิจแบตเตอรี่ ต่อให้ธุรกิจ EV เกิดช้า ก็สามารถสะสมสินค้าคงเหลือและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตระหว่างทางได้ ส่วนกลุ่มผู้พัฒนาพลังงานสะอาด มีโอกาสสร้างผลตอบแทนอย่างมหาศาลก็จริง แต่เหมาะสำหรับการลงทุนระยะยาวมากกว่าเก็งกำไร และน่าตื่นเต้นที่สุดคงหนีไม่พ้นกลุ่มธุรกิจยานยนต์ นักลงทุนสามารถเลือกบริษัทที่ความผันผวนสูงเพื่อการเก็งกำไรระยะสั้น

ดังนั้น นักลงทุนที่เชื่อมั่นและอยากลงทุนธีม EV ต้องเลือกจังหวะการลงทุนให้เหมาะสม อาจลงทุนที่เกี่ยวข้องกับแบตเตอรี่เป็นพื้นฐาน และแบ่งส่วนหนึ่งลงทุนในเทคโนโลยีด้านพลังงานเพื่อลุ้นกับอนาคต และอีกส่วนหนึ่งลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์เพื่อปรับความเสี่ยงของพอร์ตในระยะสั้น

ท้ายที่สุด ประเด็นที่ผม คุณกุลฉัตร และคุณคมสัน เห็นพ้องต้องกันคือ ธีมการลงทุนนี้เหมาะสำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง แม้บริษัทในอุตสาหกรรม EV จะซื้อขายกันที่ระดับราคาแพงเมื่อเทียบกับการลงทุนทั่วไป แต่โอกาสในอนาคตก็ยิ่งใหญ่ไม่แพ้กัน ขณะเดียวกันก็ต้องไม่ลืมว่ามีประเด็นเรื่องความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีที่ต้องจับตา

การจัดสัดส่วนลงทุนในสามองค์ประกอบของธุรกิจ EV ให้เหมาะสม จึงเป็นหนึ่งในหนทางที่จะทำให้เราสามารถลงทุนอย่างสบายใจ ไม่ตกรถไฟฟ้า EV คันนี้ครับ

ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์
หัวหน้าทีมกลยุทธ์การลงทุน EASY INVEST
บล.ไทยพาณิชย์ (SCBS)

  • แท็ก
  • ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์
  • คอลัมน์คิดเห็น share
  • รู้จักสามองค์ประกอบการลงทุนใน EV ที่จะทำให้เราไม่ตกธีมรถไฟฟ้า
Facebook
Twitter
LINE
Copy Link
ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์

มติชนกรุ๊ป

ข่าวสด ประชาชาติธุรกิจ สุดสัปดาห์ ศิลปวัฒนธรรม เทคโนโลยีชาวบ้าน เส้นทางเศรษฐี สำนักพิมพ์มติชน ศูนย์ข้อมูลมติชน มติชนอคาเดมี Khaosod English Matichon Investor Relation ร่วมงานกับเรา.
มติชนออนไลน์มติชนออนไลน์
เกี่ยวกับเรา
บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน)
12 ถนนเทศบาลนฤมาล หมู่บ้านประชานิเวศน์ 1 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทร. 02-589-0020
ติดต่อโฆษณา
อีเมล: [email protected]
โทร : 098-280-2792 / 02-580-0021 ต่อ 1606
ร่วมงานกับเรา
ติดตามเรา
Copyright © by Matichon Public Co.,Ltd. All Rights Reserved.
Edit with Live CSS
Save
Write CSS OR LESS and hit save. CTRL + SPACE for auto-complete.