SCN คาดรายได้ปี 64 ฟื้นตามเป้า 2.3 พันล้าน หลังโควิดคลี่คลาย-อุตสาหกรรมยังเดินเครื่อง

SCN คาดรายได้ปี 64 ฟื้นตัว ตามเป้า 2.3 พันล้านบาท หลังโควิด-19 คลี่คลาย-อุตสาหกรรมยังเดินเครื่อง

นายฤทธี กิจพิพิธ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สแกน อินเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCN เปิดเผยว่าผลประกอบการของไตรมาส 1 ในปี 2564 นั้นถือว่าดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยคาดว่าจะมีกำไรสุทธิกลับมาฟื้นตัวได้อย่างมีนัยสำคัญ ตามเป้าหมายรายได้ที่ 2,370 ล้านบาท จากในปี 2563 ที่มีรายได้ 1,562.39 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 43.37 ล้านบาท

นายฤทธี กล่าวว่า สิ่งที่ฉุดรายได้เมื่อปีที่ผ่านมาอย่างมีนัยยะสำคัญเลยคือ ก็คือ เรื่องของ การขายแก๊สเข้าโรงงานอุตสาหกรรม (iCNG) เนื่องจากปัจจัย 2 ส่วน คือการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) รวมทั้งการขาดทุนจากภาระค่าใช้จ่ายล่วงหน้าของเรื่องรถและเรื่องสถานี รวมทั้งภาระค่าใช้จ่ายอื่นๆ ทำให้มีปริมาณการขนส่งก๊าซ iCNG ที่เฉลี่ยต่อวันที่ 3,500-4,000 MMBTU ต่อวัน ลดลงอยู่ที่ 500 MMBTU ต่อวัน

นายฤทธี กล่าวว่า ส่วนในปี 2564 ส่วนที่จะทำให้รายได้ฟื้นกลับมาคือ จากการที่ธุรกิจต่างๆกลับมาฟื้นตัว หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 คลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น โรงงานต่างๆกลับมาเดินเครื่องการผลิตเต็มที่ และไม่มีท่าทีว่าจะมีการหยุดชะงักของการผลิตเหมือนกับปีที่ผ่านมา แม้ว่าจะมีการระบดของโควิด-19 รอบใหม่ ทำให้ส่วนของธุรกิจด้านก๊าซธรรมชาติ (iCNG) ที่กลับมาฟื้นตัวได้มากกว่า 3-4 เท่า คาดว่ากลับมาเฉลี่ยที่ 3,500-4,000 MMBTU ต่อวัน

นายฤทธี กล่าวว่า นอกจากนี้ บริษัทส่วนแบ่งกำไร จากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์มินบู ที่ลงทุนในประเทศเมียนมา ในเฟสแรกมีกำลังการผลิต 50 เมกะวัตต์ แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และเรื่องของการสถานการณ์การเมือง บริษัทก็ยังสามารถจ่ายไฟฟ้าได้ ในขณะที่การลงทุนขยายเฟสที่ 2 กำลังการผลิตอีก 50 เมกะวัตต์ อาจจะชะลอไป คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2564 และดำเนินการสวนที่เหลือให้ กำลังการผลิตรวมครบ 220 เมกะวัตต์ ภายในปี 2566

Advertisement

นายฤทธี กล่าวว่า รวมทั้ง บริษัทยังได้ตั้ง บริษัท สแกน ไอซีที จำกัด โดยถือหุ้นในสัดส่วน 51% เป็ฯบริษัทเกี่ยวกับงานพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม อินเตอร์เน็ต และโทรทัศน์ ซึ่งมีแผนในปี 2564 จะเข้าประมูลงานอย่างต่อเนื่องมูลค่าราว 600 ล้านบาท โดยคาดหวังจะได้งานไม่ต่ำกว่า 50% ของมูลค่างานทั้งหมด

นายฤทธี กล่าวว่า ส่วนกรณีข้อพิพาทที่ยื่นเรียกร้องให้บริษัท อีโค่ โอเรียนท์ รีซอสเซส (ประเทศไทย) จำกัด (ECOR) รับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการที่ ECOR ผิดสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติ จากหลุมก๊าซที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ควาดว่าจะมีทำการจ่ายเงินชดเชย ภายในระยะเวลา 2 – 4 เดือนนับจากตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นไป ซึ่งเงินชดเชยที่ได้ ประมาณ 40 กว่าล้านบาท ถือว่าเสมอตัวกับที่ลงทุนไป อย่างน้อยก็ได้กระแสเงินสดไปหมุนเวียนในธุรกิจ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image