ขสมก.แจ้งพนักงานขับรถเมล์-เก็บค่าโดยสาร สาย 13 และ 179 ติดเชื้อเพิ่มรวม 2 ราย

เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้ออกประกาศคณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ โดยระบุว่า

ตลอดระยะเวลาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ผ่านมาองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ กระทรวงคมนาคม ได้ดำเนินการตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าวซึ่งเป็นไปตามแนวทางปฏิบัติการป้องกันของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข อย่างเคร่งครัดมาโดยตลอด

แต่ทั้งนี้ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ขออภัยที่ต้องแจ้งให้ทราบว่า เนื่องจากเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2564 พนักงานขับรถโดยสารธรรมดา สาย 13 เพศชาย อายุ 52 ปี ได้เข้ารับการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ต่อมาเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2564 เวลา 09.30 น. เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล ได้แจ้งให้ทราบว่าพนักงานเป็นผู้ติดเชื้อฯ พนักงานจึงเดินทางไปที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เพื่อเข้ารับการรักษา ในเวลา 10.00 น. องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ได้รับทราบข้อมูลดังกล่าว จากผู้อำนวยการเขตการเดินรถที่ 4 จึงได้ดำเนินการตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ดังต่อไปนี้

1.องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ได้มีการแจ้งกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เพื่อแจ้งรายละเอียดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (ตามแนวทางปฏิบัติกรณีพบผู้ติดเชื้อฯ) โดยได้ประสานเจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุข

Advertisement

2.พนักงานผู้ติดเชื้อได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างเคร่งครัด โดยสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาขณะปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารและล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ รวมทั้งมีการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ก่อนปฏิบัติหน้าที่ทุกครั้ง ซึ่งอุณหภูมิร่างกายของพนักงาน ตั้งแต่วันที่ 15-19 พฤษภาคม 2564 อยู่ที่ 36.5 องศาเซลเซียส โดยไทม์ไลน์ของพนักงานสรุปได้ ดังนี้

วันที่ 12-14 พฤษภาคม 2564 พนักงานลาหยุดพักผ่อนอยู่ที่บ้าน ตั้งอยู่ที่ชุมชนร่มเกล้าคลองเตย เนื่องจากมีอาการไอและเป็นไข้

วันที่ 15 พฤษภาคม 2564 ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารธรรมดา สาย 13 หมายเลข 4-80410 ตั้งแต่เวลา 10.00-16.00 น. หลังเลิกงานได้กลับที่พักอาศัยทันที

วันที่ 16 พฤษภาคม 2564 ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารธรรมดา สาย 13 หมายเลข 4-80370 ตั้งแต่เวลา 09.00-14.30 น. หลังเลิกงานได้กลับที่พักอาศัยทันที

วันที่ 17 พฤษภาคม 2564 ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารธรรมดา สาย 13 หมายเลข 4-80410 ตั้งแต่เวลา 05.15-11.30 น. หลังเลิกงานได้กลับที่พักอาศัยทันที

วันที่ 18 พฤษภาคม 2564 ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารธรรมดา สาย 13 หมายเลข 4-80410 ตั้งแต่เวลา 05.00-11.15 น. หลังเลิกงานได้กลับที่พักอาศัยทันที

วันที่ 19 พฤษภาคม 2564 ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารธรรมดา สาย 13 หมายเลข 4-80410 ตั้งแต่เวลา 04.30-06.30 น. ต่อมาเวลา 07.40-11.00 น. พนักงานเดินทางไปที่ อบจ.ปทุมธานี เพื่อเข้ารับการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งผลการตรวจปรากฏว่า พนักงานไม่พบเชื้อฯ และพนักงานได้เดินทางกลับบ้าน ในเวลา 12.00 น.

วันที่ 20 พฤษภาคม 2564 พนักงานลาหยุด เนื่องจากมีอาการไอ เหนื่อยหอบ และปวดเมื่อยตามร่างกาย เวลา 07.00 น. พนักงานได้เดินทางไปที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เพื่อเข้ารับการตรวจหาเชื้อฯและเดินทางกลับบ้าน ในเวลา 13.30 น.

วันที่ 21 พฤษภาคม 2564 วันหยุดประจำสัปดาห์ เวลา 09.30 น. เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้แจ้งให้ทราบว่าพนักงานเป็นผู้ติดเชื้อฯ ต่อมาเวลา 10.00 น. พนักงานได้เดินทางไปที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เพื่อเข้ารับการรักษา

3.เมื่อพนักงานขับรถโดยสารนำรถกลับเข้าอู่ในแต่ละรอบ จะมีการฉีดพ่นทำความสะอาดภายในรถโดยสารทันทีด้วยผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ 70% จึงมั่นใจได้ว่ารถโดยสารขององค์การมีความสะอาด ปลอดภัยจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) นอกจากนี้ องค์การได้พักการใช้งานรถโดยสารธรรมดา สาย 13 จำนวน 2 คัน ที่พนักงานผู้ติดเชื้อได้ปฏิบัติหน้าที่ ได้แก่ รถโดยสารหมายเลข 4-80410 และ 4-80370 เป็นระยะเวลา 3 วัน เพื่อทำการฉีดพ่น ทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคภายในรถ รวมถึงอู่จอดรถและท่าปล่อยรถโดยสาร

4.องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ได้มีการตรวจสอบ พบว่าพนักงานเก็บค่าโดยสาร จำนวน 2 คน ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารคันเดียวกับพนักงานผู้ติดเชื้อฯ จึงให้พนักงานเก็บค่าโดยสารดังกล่าว หยุดงานไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หากได้ผลเป็นประการใดจะแจ้งให้ทราบต่อไป

ทั้งนี้ เนื่องจากเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2564 พนักงานเก็บค่าโดยสารรถธรรมดา สาย 179 เพศชาย อายุ 52 ปี ได้กักตัวอยู่ที่ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ เนื่องจากภรรยาของพนักงานเป็นผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ต่อมาเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2564 แพทย์ได้ทำการตรวจหาเชื้อฯให้กับพนักงาน และแจ้งผลว่าพนักงานเป็นผู้ติดเชื้อฯ ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2564 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ได้รับทราบข้อมูลดังกล่าว จากผู้อำนวยการเขตการเดินรถที่ 4 จึงได้ดำเนินการตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ดังต่อไปนี้

1.องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ได้มีการแจ้งกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เพื่อแจ้งรายละเอียดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (ตามแนวทางปฏิบัติกรณีพบผู้ติดเชื้อฯ) โดยได้ประสานเจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุข

2.พนักงานผู้ติดเชื้อได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างเคร่งครัด โดยสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาขณะปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารและล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ รวมทั้งมีการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ก่อนปฏิบัติหน้าที่ทุกครั้ง ซึ่งอุณหภูมิร่างกายของพนักงาน ตั้งแต่วันที่ 8-14 พฤษภาคม 2564 อยู่ที่ 36.5 องศาเซลเซียส โดยไทม์ไลน์ของพนักงานสรุปได้ ดังนี้

วันที่ 8 พฤษภาคม 2564 ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารธรรมดา สาย 179 หมายเลข 4-80404 ตั้งแต่เวลา 06.10-13.00 น. หลังเลิกงานได้กลับที่พักอาศัยทันที

วันที่ 9 พฤษภาคม 2564 ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารธรรมดา สาย 179 หมายเลข 4-80404 ตั้งแต่เวลา 04.30-09.10 น. หลังเลิกงานได้กลับที่พักอาศัยทันที

วันที่ 10-11 พฤษภาคม 2564 วันหยุดประจำสัปดาห์ และวันหยุดชดเชยวันหยุดนักขัตฤกษ์ พนักงานพักอาศัยอยู่ที่บ้าน ตั้งอยู่ที่ชุมชนคลองเตย แฟลต 8 การท่าเรือแห่งประเทศไทย

วันที่ 12 พฤษภาคม 2564 ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารธรรมดา สาย 179 หมายเลข 4-80404 ตั้งแต่เวลา 11.00-15.45 น. หลังเลิกงานได้กลับที่พักอาศัยทันที

วันที่ 13 พฤษภาคม 2564 พนักงานลาหยุด เนื่องจากมีอาการไข้ และท้องเสีย

วันที่ 14 พฤษภาคม 2564 ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารธรรมดา สาย 179 หมายเลข 4-80404 ตั้งแต่เวลา 06.20-12.20 น. หลังเลิกงานได้กลับที่พักอาศัยทันที

วันที่ 15 พฤษภาคม 2564 พนักงานลาหยุด เวลา 09.00 น. พนักงานพาภรรยาของพนักงานไปเข้ารับการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ณ ศูนย์บริการสาธารณสุข 41 คลองเตยและเดินทางกลับบ้าน ในเวลา 10.30 น.

วันที่ 16 พฤษภาคม 2564 เวลา 09.00 น. เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการสาธารณสุข 41 ได้แจ้งให้ทราบว่า ภรรยาของพนักงานเป็นผู้ติดเชื้อฯ ต่อมาเวลา 12.00 น. เจ้าหน้าที่ฯ ได้นำรถพยาบาลมารับภรรยาของพนักงานไปเข้ารับการรักษาที่ โรงพยาบาลตากสิน และส่งพนักงานไปกักตัวที่โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ

วันที่ 17-18 พฤษภาคม 2564 พนักงานกักตัวอยู่ที่โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ

วันที่ 19 พฤษภาคม 2564 เวลา 12.00 น. แพทย์ได้ทำการตรวจหาเชื้อฯ ให้กับพนักงาน

วันที่ 20 พฤษภาคม 2564 เวลา 19.20 น. แพทย์ได้แจ้งให้ทราบว่า พนักงานเป็นผู้ติดเชื้อฯ

3.เมื่อพนักงานขับรถโดยสารนำรถกลับเข้าอู่ในแต่ละรอบ จะมีการฉีดพ่นทำความสะอาดภายใน
รถโดยสารทันทีด้วยผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ 70% จึงมั่นใจได้ว่ารถโดยสาร
ขององค์การมีความสะอาด ปลอดภัยจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) นอกจากนี้ องค์การ
ได้พักการใช้งานรถโดยสารธรรมดา สาย 179 จำนวน 1 คัน ที่พนักงานผู้ติดเชื้อได้ปฏิบัติหน้าที่ คือ
รถโดยสาร หมายเลข 4-80404 เป็นระยะเวลา 3 วัน เพื่อทำการฉีดพ่นทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรค
ภายในรถ รวมถึงอู่จอดรถและท่าปล่อยรถโดยสาร

4.องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ได้มีการตรวจสอบ พบว่าพนักงานขับรถโดยสาร จำนวน 1 คน ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารคันเดียวกับพนักงานผู้ติดเชื้อ จึงให้พนักงานขับรถโดยสารดังกล่าวหยุดงานไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หากได้ผลเป็นประการใดจะแจ้งให้ทราบต่อไป

ทั้งนี้ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างเคร่งครัด ได้แก่ การสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาขณะปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสาร การล้างทำความสะอาดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ การฉีดพ่นทำความสะอาดภายในรถโดยสารด้วยแอลกอฮอล์ ทั้งก่อนและหลังนำรถออกวิ่งให้บริการ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในการเดินทาง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image