ทีมศก.รัฐบาล แจง พ.ร.ก.เงินกู้ 5 แสนล้าน ใช้ถึงก.ย. 65 ดันจีดีพีโต 1.5%

ทีมศก.รัฐบาล แจง พ.ร.ก.เงินกู้ 5 แสนล้าน ใช้ถึงก.ย. 65 ดันจีดีพีโต 1.5%

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า จากการระบาดของเชิ้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในระลอกใหม่ เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ทางหน่วยงานสาธารณะสุขได้ดูแลเรื่องนี้อย่างเต็มที่ แต่จำนวนผู้ติดเชื้อยังสูง เนื่องจากเป็นสายพันธ์ใหม่ ซึ่งแพร่ระบาดอย่ารวดเร็ว เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี จึงได้อนุมัติ มาตรการเยียวยา ในโครงการเราชนะ และม.33 เรารักกัน เพิ่มเติม และเห็นชอบในหลักการมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ได้แก่ เพิ่มกำลังซื้อบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและ ผู้ต้องการความเชื่อเหลือพิเศษ โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 และโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้

นายสุพัฒนพงษ์ กล่าวว่า ในส่วนข้องการดูแลจะแกไขปัญหาหารระบาดของโฑควิด-19 นั้น ยังมี พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พ.ร.ก.ซอฟต์โลน) ที่แก้ไขใหม่ จำนวน 3.5 แสนล้านบาทรวมกับ พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 จำนวน 5 แสนล้านบาท ใช้ดูแลประชาชน พยุงการจ้างงาน เพื่อรองรับความไม่แน่นอนของการระบาดในอนาคต หรือการระบาดที่อาจจะยืดยาวไปอีก ในทุกมิติ ทุกภาคส่วน รวมกันแล้วเป็นจำนวน 8.5 แสนล้านบาท

นายสุพัฒนพงษ์ กล่าวว่า สำหรับพ.ร.ก.เงินกู้ 5 แสนล้านบาทนั้น เป็นเงินกู้ที่เตรียมไว้ใช้ในช่วงปี 2565 ในกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ที่มีความไม่แน่นอน อาจจะเกิดการระบาดระลอกใหม่ขึ้นอีกครั้งได้ ให้เกิดประชาชนมีความมั่นใจว่ารัฐบาลมีงบประมาณเพียงพอที่ใช้ในยามฉุกเฉินได้

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ กล่าวถึง รายงานการใช้จ่ายงบประมาณ ภายใต้ พ.ร.ก.เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท ว่า ประกอบด้วย 3 แผนงาน คือ 1.แผนงานด้านสาธารณสุข จำนวน 4.5 หมื่นล้านบาท 2.แผนงานเพื่อการเยียวยาและบรรเทาประชาชน จำนวน 6.8 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ตั้งไว้ 5.5 แสนล้านบาท ที่โอมาจากแผนที่ 3 คือ แผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ปัจจุบันอยู่ที่ จำนวน 2.7 แสน ลานบาท

Advertisement

นายดนุชา กล่าวว่า ได้มีแผนการใช้จ่ายครบถ้วนแล้ว 79.88% ของวงเงิน 1 ล้านล้านบาท ดังนี้ 1.แผนงานสาธารณสุข อนุมัติแล้วจำนวน 2.58 หมื่นล้านบาท ในโครงการเพื่อการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อป้องกันการระบาดของโควิด-19 ทำให้เหลือ 1.9 หมื่นล้าน 2. แผนงานเพื่อการเยียวยา อนุมัติแล้ว 6.66 แสนล้านบาท ในโครงการเราไม่ทิ้งกัน โครงการเยียวยกลุ่มเกษตรกร โครงการเราชนะ ซึ่งมีประชาชนที่ได้รับการช่วยเหลือ 40 กว่าล้านคนในแต่ละรอบ และ 3 .แผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจ อนุมัติ 1.25 แสนล้านบาท ใน200 กว่าโครงการ จำนวนคงเหลือ 1.44แสนล้านบาท ซึ่งจะนำไปใช้ ในมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ในเดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2564 นี้ จำนวน 1.40 แสนล้านบาท ปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เสนอรายละเอียดโครงการแล้ว และคาดว่าจะนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ในสัปดาห์หน้า ซึ่ง จำนวนเงิน 1 ล้านล้านบาท ที่ใช้จ่ายมาทั้งหมดจนถึงปัจจุบัน ทำให้เกิดการจ้างงาน 1.63 แสนราย และการอบรมทักษะเกษตรกรกว่า 9 หมื่นราย และจำนวนเงินที่ได้อนุมัติไปแล้ว จำนวน 8.71 แสนล้านบาท สามารถช่วยพยุงให้เศรษฐกิจขยายเติบโต (จีดีพี)ได้ 2%

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ.2564 โดยบังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หรือ ตั้งแต่วันนี้ (25 พ.ค.2564) เป็นต้นไป หรือเรียกว่าเป็นพ.ร.ก.กู้เงิน ฉบับที่ 2 กรอบวงเงินไม่เกิน 5 แสนล้านบาท ซึ่งจะต้องมีการลงนามในสัญญาเงินกู้ หรือออกตราสารหนี้ภายในวันที่ 30 ก.ย.65 โดยพ.ร.ก.ฉบับนี้ ออกมาเพื่อเตรียมการการแพร่ระบาดระลอกใหม่ จะสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ 1.5% จากคาดการณ์เศรษฐกิจในปี 2564 ขยายตัว 1.5-2.5%

นายอาคม กล่าวว่า ปีที่แล้วสภาพัฒน์คาดว่าเศรษฐกิจจะ -8% เมื่อมีมาตรการเข้ามาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ก็ติดลบน้อยลง เหลือ -6% ฉะนั้น ในปีนี้ประมาณการเศรษฐกิจขยายตัวเป็นบวก โดยคำนวณจากคาดการณ์ 1.5-2.5% ก็จะทำให้โตเพิ่มอีก 1.5% ดีขึ้นกว่าคาดการณ์ ส่วนการกู้เงินนั้น จะทยอยกู้ตามความจำเป็น ไม่ได้กู้มาในคราวเดียว ซึ่งสำนักงานบริการหนี้สาธารณะ (สบน.) ได้ดำเนินการกู้เงินอย่างระมัดระวัง ดูตลาดเงิน ตลาดตราสารหนี้ ในช่วงเวลาที่เหมาะสม และประมาณการว่าหนี้สาธารณะ ยังอยู่ในกรอบที่ 58.56% ต่อจีดีพี แต่ถ้าเศรษฐกิจเติบโต ตัวเลขหนี้สาธารณะก็จะดีขึ้น

Advertisement

นายอาคม กล่าวว่า สำหรับ พ.ร.ก.กู้เงินเพิ่มเติม 5 แสนล้านบาทนั้น กำหนดการใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ 3 แผนงาน ได้แก่ (1) เพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 วงเงิน 30,000 ล้านบาท (2) เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชย ให้แก่ประชาชนทุกสาขาอาชีพ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 วงเงิน 300,000 ล้านบาท และ (3) เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 วงเงิน 170,000 ล้านบาท

นายอาคม กล่าวว่า ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นสามารถปรับแผนงานการใช้จ่ายได้ โดยพ.ร.ก.ฉบับนี้จะเข้าไปเสริมตามแผนงาน พ.ร.ก.ฉบับที่ 1 (พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้าน้ลานบาท) ซึ่งเน้นเข้าไปดูแลในบางเรื่อง เช่น เอสเอ็มอี ไมโครเอสเอ็มอี ผู้ประกอบธุรกิจรายเล็กรายน้อย เป็นต้น ตามปกติให้เร็วที่สุด

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image