ส.อ.ท.หนุนรัฐดัน4เขตศก.พิเศษดันความเจริญลดเหลื่อมล้ำ ยึดโมเดลอีอีซี

ส.อ.ท.หนุนรัฐดัน4เขตศก.พิเศษดันความเจริญลดเหลื่อมล้ำ ยึดโมเดลอีอีซี

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ภาคเอกชนสนับสนุนนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (กพศ.) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หลังมีมติผลักดันโครงการเขตเศรษฐกิจขึ้นมาใหม่อีก 4 แห่ง ใน 4 ภาคทั่วประเทศ ให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว โดยนำโมเดลจากเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี)มาปรับใช้ มั่นใจจะดึงดูดการลงทุนได้ กระจายความเจริญ และขยายฐานอุตสาหกรรมไปยังจังหวัดที่มีศักยภาพทั่วประเทศ ยกระดับรายได้ และลดความเหลือมล้ำของไทยได้มาก

นายสุพันธุ์ กล่าวว่า เขตเศรษฐกิจใหม่ 4 ภาค คือ 1. พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (เอ็นอีซี) ประกอบด้วยเชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง) 2. พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (เอ็นเอ็นอีซี) ประกอบด้วยจังหวัดขอนแก่น นครราชสีมา อุดรธานี และหนองคาย 3. พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง – ตะวันตก (ซีดับเบิลยูอีซี) ประกอบด้วยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นครปฐม สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี และ4. พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (เอสอีซี) ประกอบด้วยจังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช

นายสุพันธุ์ กล่าวว่า กพศ.ยังตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาดำเนินงานขึ้นมาขับเคลื่อน อาทิ คณะอนุกรรมการด้านสิทธิประโยชน์ กำหนดพื้นที่ และศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ มีหน้าที่กำหนดพื้นที่ที่เมาะสมที่จะพัฒนาเป็นเขจเศรษบกิจพิเศษ การกำหนดสิทธิประโยชน์ดึงดูดการลงทุนให้เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ และจัดทำแผนพัฒนาระบบศูนย์ให้บริการเบ็ดเสร็จ คณะอนุกรรมการด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีหน้าที่กำหนดแนวทางพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตอบโจทย์ในแต่ละพื้นที่ ปรับปรุงด่านศุลกากร และจัดการบริเวณด่านพรมแดน คณะอนุกรรมการด้านการตลาด มีหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะทางการตลาดที่สนับสนุนการพัฒนา แผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เชิญชวนนักลงทุน จัดทำข้อมูลและคู่มือสำหรับนักลงทุน และคณะทำงานสรรหา คัดเลือก เจรจา และกำกับติดตามการดำเนินการของผู้ลงทุนในที่ดินราชพัสดุที่กำหนดเป็นพื้นที่พัฒนาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ มีหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขการเช่าและขั้นตอนการคัดเลือก และเจรจาต่อรองต่อผ็เสนอการลงทุน ตรวจสอบและคัดเลือกผู้เสนอการลงทุน รวมทั้งการกำกัดติอตามการดำเนินงาน

“ใน 4 คณะอนุกรรมการนี้ รัฐบาลได้เปิดให้ภาคเอกชนในนามของคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน หรือ กกร. แต่งตั้งผู้แทนเข้าร่วมใน 3 คณะแรก เพื่อออกแบบพื้นที่ และกำหนดสิทธิประโยชน์ตรงกับความต้องการของนักลงทุนมากที่สุด”นายสุพันธุ์กล่าว

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image