ผู้ว่าแบงก์ชาติ เล็ง ศก.ฟื้นไตรมาส 1/66 แนะ ‘รัฐ-ธนาคาร-เอกชน’ ร่วมเสริมสภาพคล่องเอสเอ็มอี

ผู้ว่าแบงก์ชาติ เล็ง ศก.ฟื้นไตรมาส 1/66 แนะ ‘รัฐ-ธนาคาร-เอกชน’ ร่วมเสริมสภาพคล่องเอสเอ็มอี

เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานสัมมนาออนไลน์ โครงการ “ประสานพลังเพื่อคู่ค้า เดินหน้าฟื้นฟูธุรกิจ” ว่า การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) นับเป็นวิกฤติสาธารณสุขที่ส่งผลในวงกว้างและได้ทดสอบความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจไทยและภาคธุรกิจ โดยเฉพาะสำหรับธุรกิจขนาดนกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) และรายย่อยมาตลอดระยะเวลาเกือบปีครึ่ง เศรษฐกิจไทยในปี 2563 หดตัวเกือบจะมากที่สุดในภูมิภาค จากการพึ่งพาภาคการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบรุนแรง อีกทั้งสถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกสามและการกระจายวัคซีนที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง ทำให้คาดว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยต้องใช้เวลา ซึ่งอาจต้องรอถึงไตรมาสแรกของปี 2566 กว่าจะกลับมาสู่ระดับก่อนโควิด

ตั้งแต่การแพร่ระบาดของโควิด 19 ในช่วงต้นปี 2563 ที่ผ่านมา หน่วยงานภาครัฐรวมถึง ธปท. ได้ออกมาตรการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือธุรกิจเอสเอ็มอี ที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ การปรับโครงสร้างหนี้ และมาตรการช่วยเหลือสภาพคล่องของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ และ ธปท. ผ่านการให้สินเชื่อดอกเบื้ยต่ำ (ซอฟต์โลน) เพื่อใช้เยียวยาและเป็นเงินหมุนเวียน แต่มาตรการช่วยเหลือเดิมจึงไม่เพียงพอ ภาครัฐจึงยกระดับ ความเข้มข้นของมาตรการเพื่อให้ช่วยเหลือธุรกิจ เอสเอ็มอี ซึ่งล่าสุด ธปท. ได้ร่วมกับกระทรวงการคลังออกมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูสำหรับผู้ประกอบธุรกิจ โดยได้ปลดล็อกข้อจำกัดของ พระราชกำหนด (พ.ร.ก. )ซอฟต์โลน เดิม ให้ลูกหนี้สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้มากขึ้น

คือ 1.ขยายขอบเขตของลูกหนี้ให้รวมผู้ที่ไม่เคยมีวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงินมาก่อน 2.ขยายเวลาการให้ความช่วยเหลือให้ยาวขึ้น จากเดิม 2 ปี เป็น 5 ปี 3.ขยายวงเงินให้เพียงพอรองรับความต้องการของลูกหนี้ จากเดิมที่ 20% ของยอดคงค้างสินเชื่อที่เบิกใช้ในปัจจุบัน เป็น 30% 4.กำหนดอัตราดอกเบี้ยให้เหมาะสมและเอื้อต่อการปล่อยสินเชื่อ แต่เฉลี่ยแล้วต้องไม่เกิน 5% ต่อปี โดยดอกเบี้ยในช่วง 2 ปีแรกจะอยู่ที่ 2% ต่อปี และลูกหนี้จะได้รับยกเว้นค่าดอกเบี้ยในช่วง 6 เดือนแรก 5.เพิ่มกลไกค้ำประกันโดย บสย. และเพิ่มสัดส่วนการค้ำประกันความเสียหายของกลไกดังกล่าว จากปกติที่ 30% เป็น 40% ของความเสียหายที่จะเกิดขึ้น โดยออกแบบให้กลุ่ม เอสเอ็มอี รายเล็ก ได้รับการค้ำประกันในสัดส่วนที่สูงกว่ากลุ่มอื่น เนื่องจากส่วนใหญ่มีสภาพคล่องไม่มากหรือมีสายป่านสั้น และต้องใช้ระยะเวลานานในการฟื้นตัว

Advertisement

แม้จะได้ขยายเงื่อนไขของความช่วยเหลือในมาตรการให้ครอบคลุมขึ้นแล้ว แต่สิ่งสำคัญกว่า คือ การบริหารจัดการมาตรการ และการให้ลูกหนี้เข้าถึงมาตรการได้มากขึ้น ที่ผ่านมา มีข้อจำกัด ที่ทำให้เอสเอ็มอี หลายรายไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ คือ 1.ธุรกิจเอสเอ้มอีมีความเสี่ยงในช่วงที่เศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอนสูง 2.สถาบันการเงินประเมินความเสี่ยงของ เอสเอ็มอีได้ยาก เพราะขาดข้อมูล และ 3. ยังขาดคนกลางที่จะช่วยชี้เป้าเอสเอ็มอี ที่มีศักยภาพและจะกลับมาฟื้นตัวได้ เพื่อให้ความช่วยเหลืออย่างตรงจุดทหากมองไปข้างหน้า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะต้องใช้เวลา ทำให้ต้องเร่งแก้ปัญหาเรื่องสภาพคล่องของเอสเอ็มอี ไม่ให้ลุกลามไปกว่านี้ ซึ่งทั้ง 4 ภาคส่วน ได้แก่ ภาครัฐ สถาบันการเงิน ผู้ประกอบธุรกิจรายใหญ่ และเอสเอ็มอี ต้องทำงานร่วมกัน และยกระดับบทบาทของตนในการช่วยให้เอสเอ็มอี ได้รับสภาพคล่องอย่างทันการณ์

ความร่วมมือนี้ จึงเป็นอีกตัวอย่างของการประสานพลัง และการนำข้อมูลที่มีอยู่แล้ว มาใช้ประโยชน์ร่วมกัน เพื่อลดข้อจำกัดข้างต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประโยชน์ให้กับทุกฝ่ายได้มากขึ้น ทั้งธุรกิจเอสเอ็มอี เอง ที่จะได้รับความช่วยเหลือ ผู้ประกอบธุรกิจ ที่จะมีคู่ค้าที่แข็งแกร่ง สถาบันการเงิน ที่จะมั่นใจขึ้นในการปล่อยสินเชื่อและขยายฐานลูกค้า และสุดท้าย คือ ภาครัฐที่สามารถยื่นความช่วยเหลือไปสู่ผู้ที่ต้องการได้ดียิ่งขึ้นด้วย

Advertisement

ด้วยประโยชน์ของโครงการนี้ จึงขอเชิญชวนให้ผู้ประกอบการรายใหญ่ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ใช้แนวทางนี้ในการขยายผลออกไปเพื่อช่วยคู่ค้ารายย่อยของท่าน ซึ่งจะทำให้ เอสเอ็มอี กว่า 1.8 ล้านราย ที่จ้างงานกว่า 7.5 ล้านคน และเป็นฟันเฟืองสำคัญของเศรษฐกิจ มีโอกาสในการเข้าถึงสินเชื่อสูงขึ้น และแม้อาจไม่สามารถช่วยได้ทุกคน แต่การร่วมกันทำงานของทุกฝ่ายอย่างเต็มที่จะช่วยธุรกิจ เอสเอ็มอี ได้มากที่สุด และเป็นประโยชน์กับธุรกิจในภาพร

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image