หวั่นร้านอาหารเจ๊ง 5 หมื่นราย ตกงาน 5 แสนคน เพราะมาตรการรัฐอุ้มไม่ทั่วถึง

{"source_sid":"7CD8856F-73F4-4C98-B2EE-FAFDE0FD26FB_1621355985935","subsource":"done_button","uid":"7CD8856F-73F4-4C98-B2EE-FAFDE0FD26FB_1621355985894","source":"other","origin":"gallery"}

‘ส.ภัตตาคาร’ หวั่นร้านอาหารเจ๊ง 5 หมื่นราย ทำตกงาน 5 แสนคน หลังมาตรการรัฐอุ้มได้ไม่ทั่วถึง

นางฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย เปิดเผยว่า ภาพรวมธุรกิจร้านอาหารขณะนี้ ได้รับผลกระทบจากการระบาดโควิด-19 ระลอก 3 ทำให้รายได้ลดลงตามยอดขายที่น้อยลง แม้รัฐบาลมีมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายออกมา เพื่อบรรเทาผลกระทบให้กับประชาชน ได้แก่ การเพิ่มวงเงินคนละครึ่ง เฟส 3 จำนวน 2 พันบาท เราชนะ 2 พันบาท ม.33 เรารักกัน 2 พันบาท และการเติมเงินเข้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรคนจน) 200 บาท ซึ่งส่วนนี้เป็นมาตรการที่ออกมาเพื่อช่วยเหลือเยียวยากลุ่มคนฐานราก รวมถึงโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ ที่ออกมาเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายในกลุ่มผู้มีศักยภาพในการใช้จ่ายมากขึ้น หรือกลุ่มระดับกลางขึ้นไป โดยมองว่าโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ ตอบโจทย์การใช้บริการร้านอาหารขนาดกลางขึ้นไปสูงมาก แต่ถามกลับว่า ในภาวะวิกฤตแบบนี้ จะมีคนต้องการใช้บริการทานอาหารราคาต่อมื้อหลักหมื่น เพื่อรับส่วนลดหลักพันจริงๆ หรือ แม้ช่วงปกติจะมีกลุ่มคนที่มีฐานะ สามารถใช้จ่ายได้ แต่ก็เพราะต้องการรับบริการที่ดี อาทิ ทานอาหารไป ฟังดนตรีสด ดื่มแอลกอฮอล์สังสรรค์กับกลุ่มเพื่อน หากเป็นแบบนี้อาจมีคนสนใจโครงการที่ออกมา แต่สถานการณ์ในตอนนี้ไม่น่าจะเอื้อประโยชน์ได้มากนัก ส่วนโครงการคนละครึ่ง เราชนะ และม.33 เรารักกัน มาตรการกระตุ้นใช้จ่ายเหล่านี้สามารถช่วยเหลือคนตัวเล็กๆ ให้มีความสามารถใช้การใช้จ่ายได้ และผู้ที่ได้อานิสงส์เชิงบวกเป็นร้านอาหารริมถนน ที่ช่วยให้รอดชีวิต สามารถทำมาหากินได้ แต่ผู้ประกอบการรายกลางขึ้นไป ไม่ได้อานิสงส์เชิงบวกเลย จึงมองว่ารัฐบาลต้องหันมาดูร้านอาหารขนาดกลางขึ้นไปมากขึ้น

นางฐนิวรรณ กล่าวว่า รายได้ของร้านอาหารในภาพรวมตอนนี้ เฉลี่ยเหลืออยู่ที่ 30% ซึ่งเป็น 30% ที่นับจากยอดขาย 70% เท่านั้น เพราะภาวะในขณะนี้รายได้ยังไม่กลับมาเต็ม 100% เหมือนปกติ โดยตั้งแต่ปลายปี 2563 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ผู้ประกอบการต้องควักต้นทุนออกมาใช้จ่ายในธุรกิจตลอด ทำให้ความเสียหายลุกลามมากขึ้น การขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลเพิ่มเติม จึงเป็นทางออกสุดท้ายที่เห็นแล้ว เนื่องจากยอดขายที่ลดลงต่อเนื่องเหลือ 30% ทำให้อีก 40% ที่หายไปกลายเป็นต้นทุน เมื่อหักรายได้ก็เท่ากับขาดทุน ซึ่งผู้ประกอบการไม่สามารถรองรับการขาดทุนในทุกเดือนได้จริงๆ โดยในปี 2563 โควิดกระทบทำให้ร้านอาหารต้องปิดธุรกิจไปกว่า 50,000 ราย แม้ผลกระทบในรอบนี้แรงกว่า 2 รอบที่ผ่านมา แต่หากประเมินว่า การระบาดโควิดรอบ 3 ทำให้มีผู้ประกอบการต้องปิดตัวลงอีก 50,000 ราย แต่ละรายมีลูกน้อง 10 คน เท่ากับว่าจะต้องมีแรงงานถูกการเลิกจ้าง 5 แสนคน ซึ่งเชื่อว่าหากรัฐบาลไม่เติมความช่วยเหลือเข้ามาเพิ่ม จะเห็นผู้ประกอบการล้มและคนไร้งานทำอีกไม่น้อยกว่าจำนวนที่คาดไว้แน่นอน

“การที่ร้านอาหารต้องปิดตัวลง ส่งผลกระทบกับธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง อาทิ พ่อค้าแม่ค้าตลาดสดที่ขายวัคถุดิบให้กับร้านอาหารเหล่านี้ เกษตรกรที่ส่งสินค้าให้พ่อค้าแม่ค้าตลาดสดขายต่อ จนถึงคนส่งน้ำแข็ง คนจำหน่ายแก๊ส และถ่านหุงต้มด้วย เพราะตอนที่รัฐประกาศห้ามนั่งทานอาหารที่ร้าน เห็นภาพตลาดสดไม่มีลูกค้า ผักสดและเนื้อสัตว์เหลือจำนวนมาก ทั้งที่ปกติจะขายออกเกือบหมดแล้ว จึงมองว่าหากรัฐบาลยังไม่ช่วยเหลือธุรกิจร้านอาหารอีก ผลกระทบจะถูกส่งต่อไปในหลายภาคส่วนมากขึ้น” นางฐนิวรรณ กล่าว

นางฐนิวรรณ กล่าวว่า หลังจากรัฐบาลได้มีคำสั่งห้ามไม่ให้นั่งรับประทานอาหารภายในร้าน ซื้อกลับบ้านได้เท่านั้น ต่อมาแม้รัฐบาลจะผ่อนคลายให้นั่งทานที่ร้านได้ถึง 21.00 น. ในสัดส่วน 25% ของจำนวนที่รองรับลูกค้าได้ แต่การผ่อนคลายดังกล่าว มีส่วนช่วยได้เพียงร้านอาหารริมทาง หรือร้านอาหารรายย่อยเท่านั้น เพราะมีจำนวนโต๊ะให้บริการลูกค้าไม่มาก ประกอบกับลูกค้าที่เข้าไปใช้บริการร้านอาหารในตอนนี้ ก็เป็นการทานอาหารจริงๆ ไม่ได้เป็นการทานอาหารเพื่อใช้เวลาพบปะสังสรรค์กับครอบครัวหรือเพื่อนฝูงเหมือนปกติ ทาหารรายย่อยเท่านั้นที่ได้อานิสงส์เชิงบวก แต่ร้านอาหารขนาดกลางขึ้นไป ไม่ได้รับประโยชน์จากการผ่อนคลายดังกล่าวด้วย เพราะร้านอาหารขนาดกลางขึ้นไป จุดขายจะอยู่ที่บรรยากาศ การนั่งทานอาหารร่วมกับครอบครัวหรือกลุ่มเพื่อนจำนวนหลัก 10 คนต่อโต๊ะ และกิจกรรมพิเศษ อาทิ ดนตรีสด ซึ่งภาวะในตอนนี้ไม่สามารถให้บริการลูกค้าในรูปแบบเดิมได้ เพราะมีการจำกัดจำนวนนั่งต่อโต๊ะ ไม่อนุญาตให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และกิจกรรมสันทนาการต่างๆ ที่ทำให้เกิดการรวมตัวคนจำนวนมากได้

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image