จอดป้ายประชาชื่น : เยียวยาด้วยภาษี

จอดป้ายประชาชื่น : เยียวยาด้วยภาษี

จอดป้ายประชาชื่น : เยียวยาด้วยภาษี

เปรียบเทียบสถานการณ์ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในรอบแรก เมื่อเดือนมีนาคม-เมษายนปี 2563 กับในรอบใหม่เดือนเมษายน 2564 นั้น ดูเหมือนว่าสถานการณ์รอบใหม่จะมีการแพร่กระจายขยายวงกว้างกว่า จำนวนผู้ติดเชื้อมากกว่า และระยะการระบาดที่นานกว่า เนื่องมาจากรัฐบาลปรับกลยุทธ์ ควบคุมและปิดพื้นที่เฉพาะจุดเพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจ และออกมาตรการบรรเทาคล้ายกับในรอบแรก โดยเฉพาะมาตรการด้านภาษี

เริ่มที่มาตรการของกรมสรรพากร ได้แก่ ขยายเวลายื่นแบบภาษี เงินได้บุคคล และเงินได้นิติบุคคล ภาษีหัก ณ ที่จ่าย รวมทั้งภาษีมูลค่าเพิ่ม การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มในการนำเข้ายา และเวชภัณฑ์ป้องกันโควิด-19 เพื่อการบริจาค ที่เพิ่มเติมคือ การยกเว้นภาษีให้ผู้ประกอบการสำหรับค่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ให้รับกับยุคดิจิทัลและการยกเว้นภาษี ในมาตรการพักทรัพย์ พักหนี้

มาตรการกรมสรรพสามิต ได้แก่ ขยายเวลาปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบินไอพ่น เหลือ 0.20 บาท/ลิตร ไปถึง 31 ธันวาคม 2564 และขยายเวลาบังคับใช้อัตราภาษีตามปริมาณน้ำตาลระยะที่ 3ออกไป 1 ปี

Advertisement

ขณะที่มาตรการของกรมศุลกากร คือ มาตรการเตรียมพิธีการทางศุลกากรล่วงหน้า (ฟาสต์แทร็ก) เพื่ออำนวยความสะดวกในการนำเข้าวัคซีน ยา เวชภัณฑ์ โควิด-19 ส่วนการพิจารณาขยายเวลายกเว้นภาษีอากรศุลกากร สำหรับการนำเข้าวัคซีน ยา และเวชภัณฑ์ โควิด-19 อยู่ระหว่างการทำร่างประกาศจากกระทรวงสาธารณสุข

นอกจากนี้ กระทรวงมหาดไทยได้ขยายเวลาลดการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิ จาก 1% ลงเหลือ 0.01%

ถึงแม้สถานการณ์รอบใหม่นี้จะหนักกว่า แต่มาตรการภาษีที่ิออกมา กลับไม่ได้ครอบคลุมเท่าการระบาดรอบแรกปี 2563 เช่นการลดหย่อนภาษี หากการระบาดยังเป็นเช่นนี้อย่างต่อเนื่อง รัฐบาลคงต้องพิจารณาออกมาตรการเยียวยา ด้านภาษีแพคเกจใหญ่กว่านี้ เพื่อช่วยบรรเทาเรื่องค่าใช้จ่ายของประชาชน และพยุงเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวต่อเนื่อง

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image