ศบค. ออกประกาศเพิ่มเติม หวังเพิ่มความเชื่อมั่นปชช. รับเปิดประเทศ ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ 1 ก.ค.นี้

ศบค. ออกประกาศเพิ่มเติม หวังเพิ่มความเชื่อมั่นปชช. รับเปิดประเทศ ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ 1 ก.ค.นี้

เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ที่ทำเนียบรัฐบาล นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือศบค. เปิดเผยว่า เมื่อช่วงดึกของวันที่ 29 มิถุนายนที่ผ่านมา รัฐบาลได้มีการออกประกาศ ข้อกำหนดตามมาตรา 9 ฉบับที่ 26 ซึ่งในที่ประชุมฯ ต้องการแจ้งข้อมูลดังกล่าวให้ประชาชนรับทราบในข้อกำหนดในฉบับที่ 26 ใจความสำคัญ คือการเพิ่ม วงเล็บ 12 หรือการกำหนดผู้ที่จะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพิ่มเติม คือผู้ซึ่งได้รับอนุญาตในการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ในพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นจังหวัดนำร่อง เพื่อเป็นประโยชน์ด้านเศรษฐกิจท่องเที่ยว หรือด้านอื่นๆ ตามนโยบายของรับบาล โดยประกาศดังกล่าวออกมาเพื่อรองรับ การเปิดโมเดลภูเก็ตแซนด์บ็อกด์ ในวันที่ 1 กรกฎาคมนี้ ซึ่งเป็นโครงการนำร่องเพื่อให้การท่องเที่ยวของประเทศกลับคืนมา

นอกจากนี้ ได้กำหนดมาตรการการป้องกันสำหรับผู้ที่เดินทางเข้ามายังราชอาณาจักร โดย ศบค.ได้ออกคำสั่ง แนวทางปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ฉบับที่ 11 ขึ้นมา เพื่อสอดคล้องกับการดำเนินงานของภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ และเป็นการเตรียมการเื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้ดำเนินการอย่างถูกต้อง โดยในวันที่ 1 กรกฎาคมนี้ คาดว่าจะมีเที่ยวบินเข้ามาประมาณ 4 เที่ยว จากการประสานงานของกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ซึ่งคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาประมาณ 249 คน จากหลายประเทศ อาทิ อิสราเอล อาบูดาบี และกาตาร์ เป็นต้น

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า สำหรับข้อกำหนดที่ออกมาอีกจุดประสงค์หนึ่ง เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้ประชาชน เพราะในการกำหนดการเข้ามาในราชอาณาจักรจะต้องทำอะไรบ้างระบุไว้ชัดเจน 1.ต้องมีหนังสือรับรองว่าเป็นบุคคลที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรได้ 2.มีใบรับรองแพทย์ที่ยืนยันว่าผู้เดินทางไม่มีเชื้อโควิด-19 3.ต้องมีกรรมธรรม์ประกันภัยที่ครอบคลุมค่าใช้จ่าย หรือต้องมีวงเงินไม่น้อยกว่า 1 แสนดอลลาร์สหรัฐ 4.หักฐานการชำระค่าที่พักและค่าตรวจหาเชื้อโดยวิธี RT-PCR โดยระบุระยะเวลาการเข้าพักไม่น้อยกว่า 14 วัน และ5.ต้งมีเอกสารหรือหลักฐานรับรองการฉีดวัคซีน เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 14 วันก่อนออกเดินทาง

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ส่วนกรณีเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปพื้นที่เสี่ยงสูง 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะต้องมีเอกสารขออนุญาติเดินทางหรือไม่ นั้น ทางฝ่ายกฎหมายของ ศบค. ยืนยันว่าข้อกำหนดของ ศบค. ฉบับที่ 25 ได้ระบุว่าจะให้เฉพาะคนที่จะออกจากจังหวัด 4 ชายแดนใต้ ต้องขออนุญาตจากทางการ เพื่อขออนุญาตออกนอกพื้นที่ดังกล่าว เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวมีผู้ติดเชื้อสูง อย่างไรก็ตาม จากข้อซักถามดังกล่าว ทางคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดจะต้องออกมาตรการขึ้นมา วึ่งยังไม่มีารยืนยันว่าเดินทางออกจากกรุงเทพฯ ต้องมีการขออนุญาติ แต่ถามว่าจำเป็ไหม ก็ยังไม่จำเป็น แต่ต้องถามกับทางจังหวัดต้นทางให้ชัดเจนก่อน เพราะแต่ละจังหวดสามารถออกข้อจัดกัดที่เข้มกว่าพื้นที่อื่นๆ ได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเห็นใช้วิธีกักตัว 14 วัน แก่คนที่เดินทางมาจากพื้นที่สีแดงเข้ม ยังไม่พบจัหวัดที่ต้องใช้เอกสารขอเข้าพื้นที่แต่อย่างใด ซึ่งเรื่องนี้ภาครัฐต้องทำความเ้าใจกำข้อกำหนดนี้ที่อาจจะเกิดขึ้นด้วย

Advertisement

“การติดเชื้อที่ค่อนข้างยาวนานกว่าหนึ่งปี ที่สำคัญไม่เพียงแต่เป็นการติดเชื้อกับตัวเราเอง เมื่อเราป่วยความทุกข์ทั้งหลายทางด้านร่างกายก็จะเกิดขึ้น แต่ที่สำคัญจะมีความเหนื่อยล้าทางด้านอารมณ์จิตใจ และสังคม สิ่งเหล่านี้เป็นปรากฎการณ์ที่ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะประเทศไทย แต่เกิดขึ้นไปทั่วโลก ความเหนื่อยล้า อ่อนล้า หรือหมดไฟ ทำให้เราไม่สามารถรวมพลังกันได้ จึงอยากขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชน ในความยากลำบากนี้ คำว่า อึด ฮึด สู้ ที่กรมสุขภาพจิตเคยนำมาใช้ในช่วงที่เราเจอกับวิกฤตภัยพิบัติในหลายๆ ครั้ง ต้องนำมาคิดไตร่ตรองใช้กันอีกครั้ง หลายครั้งที่เราหมดพลัง แต่เื่อเรามาเห็นคนที่สามารถยืนได้ด้วยตนเอง และมีกำลังใจที่จะให้กันและกัน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะเผื่อแผ่ไปถึงคนอื่นได้ กำลังใจนั้นนอกจากจะสร้างด้วยตนเองได้แล้ว คนใกล้เคียงก็สามารถสร้างกำลังใจมอบให้กันและกันได้ เพื่อที่เราจะได้ก้าวผ่านความทุกข์ยากนี้ไปด้วยกัน” นพ.ทวีศิลป์ กล่าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image