“อนันดา” ยันอุทธรณ์คำสั่งศาลภายใน 30 วัน ย้ำโครงการทำถูกต้องตามกม. ชี้เรื่องนี้กระทบทั้งวงการ

“อนันดา” ยันอุทธรณ์คำสั่งศาลภายใน 30 วัน ย้ำโครงการทำถูกต้องตามกม. ชี้เรื่องนี้กระทบทั้งวงการ

นายชานนท์ เรืองกฤตยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงกรณีที่ศาลปกครองพิจารณาพิพากษาเพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างโครงการ ASHTON อโศก ที่บริษัทพัฒนาและโอนห้องชุดพักอาศัยให้กับลูกบ้านไปแล้วนั้นว่า ยอมรับว่าส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นกับลูกค้า สถาบันการเงิน นักลงทุน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทในระยะสั้นพอสมควร หลังจากที่บริษัทได้รับทราบข่าวก็ได้มีการพูดคุยทำความเข้าใจกับลูกค้าและสถาบันการเงินเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ซึ่งลูกค้าและสถาบันมีความเข้าใจในความถูกต้องในการดำเนินการพัฒนาโครงการ ASHTON อโศก ที่ทำอย่างถูกต้องตามกฎหมายทุกขั้นตอน และพร้อมที่จะยื่นอุทธรณ์คดีภายใน 30 วันตามข้อกำหนด

นายชานนท์กล่าวว่า บริษัทรับทราบถึงความเดือดร้อน ความเสียหาย ความทุกข์ใจของลูกบ้าน เจ้าของร่วม 578 ครอบครัว ที่พักอาศัยใน 666 ยูนิต ที่ได้เข้าอยู่อาศัยในโครงการมากว่า 2 ปี ซึ่งรวมถึงครอบครัวชาวต่างชาติอีก 140 ครอบครัว ที่ต้องแบกรับภาระต่างๆ รวมถึงผลกระทบอันเนื่องมาจากระยะเวลาในการพิจารณาตามกระบวนการของศาลปกครองสูงสุดซึ่งอาจจะต้องใช้เวลานาน 3-5 ปี บริษัททราบและตระหนักถึงความยากลำบากที่ลูกบ้านเจ้าของร่วมต้องเผชิญ ซึ่งลูกบ้านที่เป็นเจ้าของร่วมทั้งหมดที่ซื้อโครงการ ASHTON อโศก ยังยืนยันที่จะอยู่อาศัยในโครงการดังกล่าสต่อไป

“เราให้คำมั่นว่าจะยืนหยัดเคียงข้างต่อสู้ไปด้วยกันกับลูกบ้านเจ้าของร่วมและจะสู้อย่างเต็มกำลังความสามารถจนถึงที่สุด และมั่นใจว่าเราจะผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกัน และเราจะได้ใช้ชีวิตปกติสุขในโครงการสืบไป ผมก็นอนไม่หลับเหมือนลูกบ้านทุกคนที่มาเจอเรื่องแบบนี้ มันเหมือนเป็นเรื่องที่ปักใจเรา ผมคิดอยู่ตลอดว่าจะทำอย่างไรดี เพราะเรื่องแบบนี้มาเกิดในโครงการเรือธงของอนันดา ก็พยายามหาทางแก้ปัญหาที่ยังไม่จบสักที”นายชานนท์ กล่าว


นายชานนท์กล่าวว่า สำหรับนักลงทุนนั้นบริษัทได้เริ่มมีการแจ้งผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯให้ทราบถึงการดำเนินงานการก่อสร้างโครงดังกล่าวอย่างถูกต้อง และเดินหน้าต่อสู้คดีในการเตรียมยื่นอุธรณ์ภายในระยะเวลา 30 วัน เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับบริษัท และสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนต่อตัวของบริษัทเองที่ดำเนินการตามถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ โดยที่ในส่วนของผลกระทบดังกล่าวจะกระทบต่อการออกหุ้นกู้ชุดล่าสุดของบริษัท 2 ชุด ในช่วงต้นเดือนส.ค. 64 วงเงินรวม 6 พันล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะเลื่อนการเสนอขายออกไป 1 สัปดาห์ เพื่อให้บริษัททำความเข้าใจกับนักลงทุนที่สนใจซื้อหุ้นกู้ของบริษัท เพื่อวสร้างความมั่นใจในตัวของบริษัทให้แก่นักลงทุนเชื่อถือและมองเห็นโอกาสในการลงทุนอยู่

Advertisement

นายชานนท์กล่าวว่า ส่วนพันธมิตรญี่ปุ่นที่ร่วมกันพัฒนาโครงการ ASHTON อโศก และอีกหลายๆโครงการร่วมกับบริษัท คือ บริษัท มิตซุย ฟูโดซัง จำกัด ได้มีการสอบถามเข้ามากับทางบริษัทในประเด็นดังกล่าวแล้ว และบริษัทได้มีการชี้แจงตอบข้อสงสัยต่างๆให้ทางพันธมิตรญี่ปุนได้ทราบ ซึ่งทางพันธมิตรญี่ปุ่นก็ได้เข้าใจในเรื่องที่เกิดขึ้น แต่ยังมีความไม่เข้าใจในข้อกฎหมายของประเทศไทยอยู่บ้างเล็กน้อย เนื่องจากกฎฑหมายในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน ซึ่งพันธมิตรญี่ปุ่นยังมีความเชื่อมั่นในกระบวนการขออนุญาตก่อสร้างของบริษัทที่ดำเนินการอย่างถูกต้อง

“บริษัทและทีมกฎหมายอยู่ระหว่างการเตรียมยื่นอุธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด และจะขอคำปรึกษาและความร่วมมือกับสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทยและสมาคมอาคารชุดไทย เพื่อขอคำแนะนำช่วยหาทางออกในประเด็นดังกล่าวที่ยืดเยื้อมาตั้งแต่ปี 61 แม้ว่าในส่วนของที่บริษัทได้ดำเนินการขออนุญาตก่อสร้างโครงการ ASHTON อโศก ไปแล้วนั้นยืนยันทำถูกต้องตามกฎหมายทุกขั้นตอน และไม่ขัดต่อพ.ร.บ.เวรคืน ในส่วนของที่ดินที่เป็นทางออก ซึ่งเป็นที่ดินของการรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ซึ่งเป็นที่ดินทางเข้าออกของโครงการและที่จอดรถของรฟม. กว้าง 6 เมตร บนถนนอโศก” นายชานนท์กล่าว

Advertisement

โดยที่ที่ดินที่เป็นข้อพิพาทของโครงการ ASHTON อโศก ตามพ.ร.บ.เวนคืนที่ดิน สามารถนำมาใช้ในการประกอบธุรกิจที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่ได้ และทางบริษัทได้มีการให้ค่าตอบแทการอนุญาตใช้ที่ดินกับรฟม. เป็นทางผ่านได้ร่วมกันเทียบเท่าทางสาธารณะ ซึ่งได้ให้ค่าตอบแทนรฟม.รวม 100 ล้านบาท โดยได้มีการวางเงินมัดจำให้กับทางรฟม.ไว้ส่วนหนึ่งแล้ว รวมถึงบริษัทจะมีการก่อสร้างอาคารจอดรถ 7 ชั้นในพื้นที่ดังกล่าวติดกับทางออกสถานี MRT สุขุมวิท ข้างโครงการ ASHTON อโศก ซึ่งบริษัทจะเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างเองให้กับรฟม. เพื่อให้รฟม.ใช้ประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกประชาชนที่มาใช้บริการรถไฟฟ้า

จากที่กล่าวมาข้างต้นแสดงให้เห็นว่าการดำเนินการของบริษัทในการขออนุฐาตก่อสร้างและการใช้ที่ดินแผืนดังกล่าวนั้นไม่ขัดวัตถุสงค์ในของการใช้ที่ดินของรฟม.ที่อยู่ในพ.ร.บ.เวนคืน ซึ่งศาลปกครองได้มีการพิพากษาเพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างโครงการ ASHTON อโศก เนื่องจากการดำเนินการของบริษัทขัดวัตถุประสงค์ของการใช้ที่ดินของรฟม.ตามพ.ร.บ.เวนคืน ทำให้บริษัทจะต้องเดินหน้าต่อสู่เพื่อขอความยุติธรรมให้กับบริษัท และปกป้องลูกบ้านและู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคน พร้อมเรียกความเชื่อมั่นของบริษัทกลับมา

“ผมอยากให้ผู้ใหญ่หรือภาครัฐทุกคนหันหน้ามาคุยกับเรา เพราะเรื่องนี้ส่งผลระทบในวงกว้างต่อเราและอุตสาหกรรม ผมเข้าใจกฎหมายประเทศเรามีความซับซ้อน แต่เรามีหลักฐานว่าเราทำทุกอย่างตามกฎหมาย เราในฐานะประชาชนคนหนึ่ง อยากให้ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือช่วยหาทางออก เพราะภาครัฐมีหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของประชาชน ไม่อยากให้ปัญหานี้ยืดเยื้อ สร้างความให้สบายใจให้ผม บริษัท ลูกบ้าน แบงก์ นักลงทุน และคนอื่นๆ และไม่อยากให้เรื่องนี้มาเป็นการสร้างบรรทัดฐานใหม่ในอุตสาหกรรมอสังหาฯ เพราะไม่ใช่เราโครงการแรกที่สร้างบนพื้นที่ที่ร่วมกับหน่วยงานของรัฐ มีโครงการอื่นๆอีก 13 โครงการในกรุงเทพฯที่สร้างมาลักษณะนี้ มันจะกระทบทั้งหมด และกระทบต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆอีก และทำให้ลูกค้าและนักลงทุนเกิดคามกังวลในการเข้ามาลงทุนหรือเลือกซื้อที่อยู่อาศัย ผมจึงต้องการพูดคุยหรือใครก็ได้ที่ให้คำปรึกษาในการเข้ามาแก้ปัญหานี้ เพื่อสร้างความมั่นใจกลับมา”นายชานนท์ กล่าว

ทั้งนี้โครงการ ASHTON อโศก มูลค่า 6.41 พันล้านบาท เป็นโครงการร่วมทุนที่บริษัทและพันธมิตรญี่ปุ่น บริษัท มิตซุย ฟูโดซัง จำกัด ได้ร่วมกันพัฒนาในการถือหุ้นสัดส่วน 51 : 49 และได้ส่งมอบห้องชุดพักอาศัยให้ลูกบ้านไปแล้ว 87% มูลค่า 5.63 พันล้านบาท เหลือขายอีก 13%

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image