จุรินทร์ ลุยสร้างแม่ทัพเศรษฐกิจรุ่นใหม่ให้ประเทศ ปั้น เจนZ เป็นซีอีโอ

จุรินทร์ ลุยสร้างแม่ทัพเศรษฐกิจรุ่นใหม่ให้ประเทศโครงการ”ปั้น Gen Z เป็น CEO” ทะลุเป้า เด็กมหา’ลัยแห่เรียน 20,000 ราย

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายพิทักษ์ อุดมวิชัยวัฒน์ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ นายสมเด็จ สุสมบูรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และ นายภูษิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า ร่วมโครงการกระจายความรู้สู่ผู้ประกอบการยุคใหม่ (From Gen Z to be CEO) ผ่านระบบซูม ที่ ห้องประชุมชั้น 11 กรมส่งเสริมการค้า ระหว่างประเทศ โดยมีผู้เข้าร่วม 1,500 คน เมื่อวันที่ 6 กันยายน

นายจุรินทร์ กล่าวว่า ตัวเลขสะท้อนชัดว่า Gen Z (ประชากรช่วงวัยอายุ 9-24 ปี โดยฐานข้อมูลอ้างอิงสำนักงานสถิติแห่งชาติ) ทั่วทั้งประเทศมีกว่า 13 ล้านคน จากประชากรไทยทั้งประเทศ 60-70 ล้านคนเรามีถึง 13 ล้านคน ถือว่ามีสัดส่วนเชิงปริมาณที่มีความสำคัญและในเชิงคุณภาพยิ่งมีความสำคัญเพราะพวกเราทุกคนจะเติบโตไปเป็นอนาคตของประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและทุกๆด้านต่อไปในอนาคต กระทรวงพาณิชย์ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับ Gen Z ที่จะต้องเติบโตไปเป็นแม่ทัพทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยต่อไปในอนาคต โครงการ From Gen Z to be CEO ของกระทรวงพาณิชย์ที่ตนเป็นผู้รับผิดชอบจึงเกิดขึ้น หรือเรียกว่าโครงการปั้น Gen Z เป็น CEO

โครงการนี้เกิดขึ้นเพราะเราเดาใจออกว่าพวกเราจำนวนไม่น้อยต้องการเติบโตไปเป็นส่วนหนึ่งของภาคส่วนทางเศรษฐกิจของประเทศโดยตั้งฝันอนาคตไว้ว่าเมื่อมีโอกาสเรียนจบแล้วจะโตไปเป็นนายของตัวเอง ซึ่งส่วนใหญ่ต้องการไปเป็นนายของตัวเองประกอบธุรกิจของตนเองและมีตัวเองเป็นเจ้าของ ที่ผ่านมาประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง ตั้งเป้าหมายว่าภายในปี 2564 กระทรวงพาณิชย์จะปั้น Gen Z ให้เป็น CEO ได้ไม่ต่ำกว่า 12,000 คนแต่ปรากฏว่าจนถึงนาทีนี้มี Gen Z สมัครเข้ามาแล้วถึง 20,000 คน สูงกว่าเป้าถึง 8,000 คน อบรมไปแล้วรไม่รวมวันนี้ 14,000 คนและวันนี้อีก 1,500 คน จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และพื้นที่ใกล้เคียง ในปีนี้กระทรวงพาณิชย์มั่นใจว่าเราสามารถสนองความต้องการของ Gen Z ได้ทั้งหมด 20,000 คน จากเป้าหมาย 12,000 คน และที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ มีหลักสูตรเพิ่มทักษะศักยภาพให้กับผู้ประกอบการอีกหลายรุ่น รวมกันทั่วทั้งประเทศด้วยหลายหลักสูตรด้วยกัน โดยสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการยุคใหม่ (NEA) ทำมาแล้วในช่วงที่ตนเข้ามาเป็นรัฐมนตรีว่าการถึง 67,000 คน รวม Gen Z ที่อบรมไปแล้วจนถึงวันนี้อีก 16,000 คน รวมสามารถดำเนินการไปแล้วถึง 83,000 คน

Advertisement

“น้องๆที่เข้ามาอบรมทั้งหมดจะได้เรียนรู้ในหลักสูตรสำคัญ เช่น อีคอมเมิร์ซซึ่งจะเป็นอนาคตของระบบการค้าโลกจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในอนาคตมากยิ่งขึ้นเพราะกฎเกณฑ์ทั้งหลายใน FTA และหลายข้อตกลงทางการค้าในระบบพหุภาคีทั้ง ASEAN และ RCEP ล้วนให้ความสำคัญกับอีคอมเมิร์ซทั้งสิ้น หลักสูตรเรื่องโลจิสติกส์ ยุคใหม่ไม่เหมือนยุคก่อน เพราะเป็นโลจิสติกส์ในระบบอีคอมเมิร์ซ เทคโนโลยีการบริหารจัดการยุคใหม่ การบริหารในระบบดิจิทัล การใช้ 5G ในการทำธุรกิจการค้า การใช้ระบบคลาวด์เซอร์วิสหรือระบบบัญชีดิจิทัลและการบริหารจัดการระบบตลาดออนไลน์ การส่งออกเบื้องต้น ภาษาอังกฤษเพื่อเจรจาทางการค้า เป็นต้น เมื่ออบรมแล้วได้คะแนนผ่านเกณฑ์ครบ 500 คน จะได้รับสิทธิพิเศษเพิ่มเติม ได้อบรมกับบริษัททรูคอร์ปอเรชั่น และ Bitkub ผู้ที่ได้ TOP 100 คนแรก จะได้มีโอกาสฝึกงานกับบริษัทใหญ่เช่น ทรู หัวเว่ย และเอ็กซิมแบงค์ รวมทั้งโอกาสทำงานร่วมกันฝึกอบรมร่วมกับสำนักงานทูตพาณิชย์ไทยด้วยเพื่อเรียนรู้การค้าในต่างประเทศ ” รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปล่า

จากนั้นเป็นช่วงการถามตอบระหว่างน้องนักศึกษากับรองนายกรัฐมนตรีการกระทรวงพาณิชย์ โดย นางสาววิภาวี แจ้งเจียนหัด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญญบุรี โดยถามว่คิดอย่างไรกับประโยคที่ว่าเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้าและต่างชาติไม่มั่นใจทำให้มีการลงทุนที่ลดน้อยลงและหลายธุรกิจต้องปิดตัวลงไปและมีแนวทางแก้ไขอย่างไร

นายจุรินทร์ ตอบว่า ประการที่หนึ่งที่บอกว่าเศรษฐกิจฟื้นตัวช้ายังพิสูจน์ไม่ได้แต่ในสถานการณ์โควิดเรียนให้พวกเราทุกคนทราบว่าเกือบจะไม่มีประเทศไหนที่ไม่เผชิญกับวิกฤตโควิด โดยประเทศไทยบ้านเราเห็นชัดที่สุด ส่วนมาเลเซียสำหรับการระบาดรอบใหม่ต้องปิดโรงแรมและกระทบกับการส่งออกในบ้านเราบางส่วน เช่น น้ำยาง เป็นต้น เวียดนามก็เจอรอบใหม่ ญี่ปุ่นเจอหนัก หลายประเทศเจอวิกฤตด้วยกันทั้งหมด แต่สำหรับประเทศไทยในเรื่องการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจต้นคิดว่าอยู่ในระดับที่ไม่ได้ช้ากว่าประเทศอื่นๆและอยู่ในระดับที่ไปได้อย่างน้อยตัวเลขการคาดการณ์ทางเศรษฐกิจในปีนี้น่าจะเป็นบวกอยู่หลายสำนัก

Advertisement

โดยเฉพาะตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจสำคัญสำคัญอันหนึ่งคือ การส่งออก การส่งออกของประเทศไทยแม้ในช่วงวิกฤติโควิดต้องถือว่าดีมากตัวเลขย้อนไปเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา +41% มากที่สุดในรอบ 11 ปี เดือนมิถุนายน +43% เดือนกรกฎาคม +20% ก่อนเจอโควิดรอบใหม่เราตั้งเป้าว่าจะ +4% ทั้งปี แต่ตอนนี้ตัวเลขส่งออก 7 เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2564 เป็นบวก 16.2% มากกว่าเป้าที่ตั้งไว้ถึง 4 เท่า การส่งออกตอนนี้กลายเป็นพระเอกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศและตัวที่สองการลงทุนมี 2 ตัว คือการลงทุนภาครัฐเงินก้อนใหญ่ที่สุดคืองบประมาณแผ่นดิน ซึ่งเดินหน้าได้อยู่ พรบ.งบประมาณก็ผ่านสภาผู้แทนไปแล้วยังเดินหน้าลงทุนได้ไม่ติดขัด สำคัญอีกอันนึงการลงทุนภาคเอกชน มีการรายงานใน ครม. เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาว่ามีการขอการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI เพิ่มขึ้นเยอะมาก ภาคการลงทุนจะเป็นอีกภาคหนึ่งที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

แต่มีตัวเดียวที่ต้องรอเวลาที่เคยเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญของประเทศคือการท่องเที่ยวเพราะต้องยอมรับความจริงว่าไม่ว่าประเทศไหนเจอโควิดรอบใหม่ไม่รู้จะท่องเที่ยวอย่างไร ประเทศไทยก็เช่นกัน จะต้องรอระยะเวลาที่เราสามารถฉีดวัคซีนครบ 70% เฉลี่ยทั่วทั้งประเทศ การท่องเที่ยวจึงจะเกิดได้ในภาพรวมทั้งประเทศ แม้ในภาพรวมยังเกิดไม่ได้แต่จุดไหนที่เราคิดว่าทำให้เกิดได้เราก็ทำเช่น ภูเก็ต ตอนนี้ “ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์”เกิดขึ้นแล้วฉีดวัคซีนเกิน 70% เปิดให้นักท่องเที่ยวต่างประเทศเข้ามาได้แม้จะติดขัดบ้างแต่เริ่มเดินหน้าได้ต้นเสนอแนวทางคิดว่าภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ไม่พอต้องขยายเป็น ”อันดามันแซนด์บ็อกซ์” นำพังงาและกระบี่มารวมด้วย\ตอนนี้เกิดแล้ว อันดามันแซนด์บ็อกซ์เกิดเมื่อวันที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมาและเริ่มเปิดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาภูเก็ตอยู่ 7 วัน ไปเที่ยวพังงา เที่ยวกระบี่ต่อได้ ในจุดที่ฉีดวัคซีนได้เกิน 70% อีกจุดคือสมุยตอนนี้เปิดแล้วเพราะให้ฉีดวัดซินได้เกิน 70% อนาคตจะเปิดพัทยา เชียงใหม่ และตนเสนอว่าให้เปิดหัวหินด้วย การขับเคลื่อนเศรษฐกิจยังเดินได้โดยมีการส่งออกเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญมีการลงทุนตามมาและการท่องเที่ยวจะทยอยตามมาเมื่อการฉีดวัคซีนได้ตามเป้าหมาย

และที่ถามว่าภายใต้วิกฤตโควิดเรียนจบแล้วจะไปหางานทำได้ที่ไหน นายจุรินทร์ ตอบว่าในส่วนของรัฐบาลโดยกระทรวงแรงงานมีการเตรียมโครงการนัดพบแรงงานออนไลน์โดยเตรียมอัตราไว้ประมาณกว่า 800,000 อัตรา และที่พรรคประชาธิปัตย์ที่ตนเป็นหัวหน้าพรรคก็เข้ามาช่วยด้านนี้โดยนายปริญญ์ พานิชภักดิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จัดโครงการ “เรียนจบพบงาน” ทำเป็นแอพพลิเคชั่นสำหรับน้องที่เรียนจบใหม่จะมีส่วนช่วยได้อีกส่วนนึง และในส่วนของการอบรมนี้ก็เช่นกันทุกคนจะได้ความรู้พื้นฐานสำหรับการประกอบอาชีพทางธุรกิจค้าขายซึ่งก็คือการได้งานเป็นเจ้านายตัวเองแบบคนรุ่นใหม่ชอบคือการเป็น CEO และกระทรวงพาณิชย์จะขับเคลื่อนต่อไปพร้อมทั้งใช้ศักยภาพของหน่วยงานอื่นส่งเสริมการสร้างงานสร้างอาชีพด้วย

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image