‘เอเซียพลัส’ ชี้การเมืองในประเทศร้อนแรง กดดันทางขึ้นหุ้นไทย-เม็ดเงินต่างชาติ

‘เอเซียพลัส’ ชี้การเมืองในประเทศร้อนแรง กดดันทางขึ้นหุ้นไทย-เม็ดเงินต่างชาติ

นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด (ASPS) เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดหุ้นไทย ทิศทางการเมืองไทย เริ่มเห็นความชัดเจนในการเปลี่ยนแปลง โดยประเมินว่าเริ่มมีผลกดดันการปรับขึ้นของดัชนีในช่วงที่เหลือของปี 2564 มากขึ้น พิจารณาจาก 3 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นเดือนกันยายน จนถึงช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้แก่ 1.ผลการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐตรี และรัฐมนตรี 5 กระทรวง เมื่อวันที่ 4 กันยายน ที่แม้สภาจะลงมติไว้วางใจ แต่พบว่าคะแนนเสียงไว้วางใจนายกฯ และรัฐมนตรี ลดลงอย่างชัดเจนต่อเนื่องเมื่อเทียบกับในอดีต 2.การประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง 2 ราย ได้แก่ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร และเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ และนางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน สะท้อนถึงรอยร้าวระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลและในพรรคพลังประชารัฐที่เพิ่มขึ้น และ 3.การประชุมรัฐสภา ได้ข้อสรุปมีมติผ่านการโหวตแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในส่วนของระบบการเลือกตั้ง โดยกลับมาใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ วาระที่ 3 กำหนดการขั้นตอนถัดไป ต้องรอไว้ 15 วัน และร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ และคาดประกาศมีผลบังคับใช้ในช่วงเดือนตุลาคม 2564 โดยประเมินภาพจากเหตุการณ์ต่างๆ มองว่าอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ตามมา อาทิ การปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) การยุบสภา รวมถึงต้องติดตามการเมืองนอกสภาอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ต้นเดือนกันยายน ที่ผ่านมา ซึ่งเริ่มครุกรุ่น มีความรุนแรง และยืดเยื้อมากขึ้น โดยปัจจัยการเมืองไทยจะส่งผลกดดันทิศทางเม็ดเงินลงทุนต่างชาติ (ฟันด์โฟลว์) ในช่วงที่เหลือของปี 2564 ด้วย

นายเทิดศักดิ์ กล่าวว่า ประเมินสถานการณ์ในขณะนี้ พบว่าตลาดหุ้นไทยและทั่วโลกให้ความสนใจกับการประชุมประจำปีของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่เมืองแจ็กสัน โฮล เก่ียวกับการประกาศลดการอัดฉีดเงินเข้าระบบของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือการใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) บวกกับสถานการณ์การระบาด-19 ทั่วโลกกลับมาสร้างความกังวลมากขึ้น เนื่องจากพบการระบาดไวรัสโควิด-19 สายพันธ์เดลต้าในหลายประเทศ ทำให้ตลาดหุ้นไทยเริ่มกลับมาน่าสนใจอีกครั้ง หลังเริ่มเห็นสัญญาณที่ดีขึ้นของการระบาดโควิดในประเทศ ที่พบตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่รายวันชะลอตัวลง อีกทั้งดัชนีหุ้นไทยยังปรับขึ้นช้า (Laggard) เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นอื่นๆ อยู่มาก ในช่วงก่อนการระบาดโควิด จึงมองว่าสามารถเพิ่มน้ำหนักหุ้นไทย ขึ้นอีก 5% เป็น 30% ในพอร์ตการลงทุนรวม โดยเน้นการลงทุนในหุ้นผันผวนต่ำ หรือมีปัจจัยบวกเฉพาะตัวเป็นหลัก โดยแบ่งสัดส่วนการลงทุนเป็นหุ้นในประเทศ 30% หุ้นต่างประเทศ 30% ตราสารลงทุนอื่นๆ ให้เน้นลงทุนในผลิตภัณฑ์ที่ลงทุนในหุ้นไทย ให้น้ำหนัก 15% ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงจากสภาวะตลาดหุ้นผันผวน และขาดปัจจัยสนับสนุนได้เป็นอย่างดี พร้อมกับเพิ่มน้ำหนักตราสารหน้ีเป็น 20% ที่เหลืออีก 5% ให้ถือเงินสดรอจังหวะลงทุนเพิ่มเติมในเดือนต่อไป

“ตลาดหุ้นไทยถูกปกคลุมด้วยหลายปัจจัย โดยเฉพาะผลการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) เมื่อวันที่ 10 กันยายน ที่ผ่านมา ซึ่งผลการประชุมออกมาค่อนข้างผิดจากที่คาดการณ์ไว้ เนื่องจากที่ประชุมยังคงระดับมารตรการควบคุมโควิด-19 ไว้ตามเดิม จากท่ีคาดการณ์ว่าจะผ่อนคลายมาตรการต่างๆ มากขึ้น ซึ่งสาเหตุคาดว่าเป็นเพราะความกังวลจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดรายใหม่อาจกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้งได้ แต่ยังมีแรงบวกเข้ามาพยุงดัชนีหุ้นได้ จากการฉีดวัคซีนในประเทศ ท่ีมีอัตราเร่งสูงขึ้น ทำให้บางส่วนเร่ิมพูดถึงการเปิดประเทศมากขึ้นแล้ว โดยเรื่องที่เริ่มส่งผลกดดันและสร้างความกังวลมากขึ้น เป็นสถานการณ์ทางการเมือง ที่ดูเหมือนว่าพัฒนาการของเหตุการณ์ขณะนี้ อาจทำให้มองได้ว่า ประเทศไทยกำลังนับถอยหลังสู่การเลือกต้ังใหม่ในปี 2565 ซึ่งถือเป็นแรงกดดันต่อดัชนีหุ้นไทย โดยประเมินแนวโน้มดัชนีคาดว่า จะเคลื่อนไหวผันผวน ซึ่งให้บริเวณระดับ 1,630 จุด เป็นแนวรับแรก แนวรับถัดไปที่ 1,615 จุด ส่วนแนวต้านอยู่ท่ี 1,660 จุด รวมถึงแนะนำหุ้นเด่นๆ ได้แก่ เอโอที คอมเซเว่น และศุภาลัย เป็นต้น” นายเทิดศักดิ์ กล่าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image