กรอ.เตรียมลงดาบขบวนการลักลอบทิ้งกากอุตฯ จ.ลพบุรี

กรอ. ลงสำรวจพื้นที่การลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม จังหวัดลพบุรี ร่วมกับเจ้าหน้าที่จากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดลพบุรี และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณี การลักลอบทิ้งกากฯ และตรวจหาปริมาณและชนิดของสารเคมีที่ปนเปื้อนในดินและน้ำ เพื่อดำเนินคดีกับผู้ที่ กระทำความผิด

นายประกอบ วิวิธจินดา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้นายพฤกษ์ ศิโรรัตนเศรษฐ์ ผู้อำนวยการกองบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจสอบหาข้อเท็จจริงกรณีการลักลอบ ทิ้งกากอุตสาหกรรม ในพื้นที่จังหวัดลพบุรี โดยร่วมมือกับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดลพบุรี และเจ้าหน้าที่ ท้องถิ่น ซึ่งการลงพื้นที่ฯในครั้งนี้ เพื่อทำการขุดสำรวจลงไปในผิวดินเพื่อพิสูจน์ชนิดของสารเคมี โดยพบว่า บริเวณ ดังกล่าวมีกลิ่นสารเคมีเข้มข้นกระจายฟุ้งไปทั่ว ชี้ให้เห็นว่ามีการซึมลงไปในชั้นดิน โดยคาดว่าน่าจะเป็นความลึก ที่ประมาณ 1 – 2 เมตรจากผิวดิน โดยพบของเหลวสีขาวลักษณะหนืดข้น ส่วนหนึ่งปนเปื้อนน้ำสีดำ และสีแดง คล้ายสนิมเหล็กจำนวนมาก

โดยเจ้าหน้าที่ได้ทำการเก็บตัวอย่างของเหลวและดินที่ขุดขึ้นมาเพื่อนำไปพิสูจน์การ ปนเปื้อน ในห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ โดยกระบวนการคัดแยกชนิดสารเคมีได้สั่งการให้ห้องปฏิบัติการตรวจ วิเคราะห์ดำเนินการเร่งด่วนเป็นกรณีพิเศษเพื่อให้ได้ทราบองค์ประกอบของสารเคมีที่พบในดินและน้ำ จากนั้นจะรวบรวมหลักฐานเชื่อมโยงกับข้อมูลของโรงงานผู้ก่อกำเนิดของเสีย เพอส่งให้กับพนักงานสืบสวนดำเนินคดีต่อไป

นายพฤกษ์ ศิโรรัตนเศรษฐ์ ผู้อำนวยการกองบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม กล่าวว่า การดำเนินการขุดค้นเพื่อพิสูจน์ข้อสันนิษฐานการกระทำความผิดลักลอบฝังกลบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจาก ภาคอุตสาหกรรม เนื่องด้วยสภาพการมีองค์ประกอบหลายส่วนที่ทำให้เชื่อว่ามีการกระทำความผิดจริง โดยพบว่ามี กิจกรรมการฝังกลบเศษวัสดุเหลือใช้จากภาคอุตสาหกรรมบดผสมกับเนื้อดิน และการใช้เครื่องจักรซึ่งเป็นรถแบคโฮ 2 คัน มีกำลังแรงม้ามากกว่า 50 แรงม้าเข้าข่ายลักษณะโรงงาน ซึ่งถ้าพิสูจน์แล้วมีความผิดจริงจะมีความผิดฐาน ประกอบกิจการโรงงานจำพวก 3 โดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี ปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตาม พรบ.โรงงาน พ.ศ.2535

Advertisement

อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นได้ดำเนินการแจ้งความและร้องทุกข์กับเจ้าพนักสืบสวนสอบสวน สภ.พัฒนานิคม ด้วยความผิดฐานการครอบครองวัตถุอันตรายโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามมาตรา 23 วรรค 1 และมาตรา 73พ.ร.บ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และเมื่อทราบผลจากการตรวจสอบวิเคราะห์หาสารปนเปื้อนในดินและน้ำจะนำไปเชื่อมโยงกับโรงงานผู้ก่อกำเนิดของเสียจากอุตสาหกรรม และเป็นหลักฐานชี้ชัดในการดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดไม่ ว่าจะเป็นเจ้าของที่ดิน ผู้ขนส่งลักลอบทิ้งของเสีย และผู้รับบำบัดและกำจัดของเสียต่อไป

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image