กอนช. ถกแผนจัดการน้ำท่วม พร้อมจับตาพายุอีก 2 ลูก ช่วง 10 ต.ค.นี้ หวั่นกระทบ 3 เขื่อน

กอนช. ถกแผนจัดการน้ำท่วม พร้อมจับตาพายุอีก 2 ลูก ช่วง 10 ต.ค.นี้ หวั่นกระทบ 3 เขื่อน แก่งกระจาน-ปราณบุรี-บางลาง

วันที่ 6 ตุลาคม นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะทำงานด้านอำนวยการ ครั้งที่ 2/2564 ว่า จากอิทธิพลพายุโซนร้อน “เตี้ยนหมู่” ซึ่งที่ประชุมได้ร่วมกันวางแผนการบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ป่าสัก โดยขณะนี้ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา 2,749 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.)​/วินาที และปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนพระรามหกสูงสุดในอัตรา 762 ลบ.ม./วินาที โดยในเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ปริมาณน้ำไหลผ่าน อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2,784 ลูกบาศก์เมตร/วินาที โดยจะไหลออกสู่อ่าวไทย ในช่วงวันที่ 8-10 ตุลาคมนี้

นายสุรสีห์กล่าวว่า กรมชลประทานจะปรับลดการระบายน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ลงจากเดิมระบายวันละ 1,000 ลบ.ม./วินาที ลดลงเหลือ 800 ลบ.ม./วินาที ภายในเที่ยงวันนี้ เพื่อให้สถานการณ์น้ำท่วมลดระดับลง และกลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว ซึ่งปัจจุบันเขื่อนป่าสักฯ ระบาย 933 ลบ.ม./วินาที และจะทยอยปรับลดลงให้สอดคล้องกับน้ำไหลเข้าเพื่อลดระดับน้ำให้เข้าสู่เกณฑ์ควบคุมเพื่อเตรียมรองรับน้ำที่อาจมีเพิ่มขึ้นจากการคาดการณ์สภาพอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาที่อาจจะมีฝนเพิ่มขึ้นในช่วงระหว่างวันที่ 10 ตุลาคมนี้

นายสุรสีห์กล่าวอีกว่า สำหรับการบริหารจัดการน้ำเพื่อเร่งคลี่คลายสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มน้ำชี-มูล ในพื้นที่ลุ่มต่ำริมตลิ่งบริเวณ 9 จังหวัด ได้แก่ จ.เลย ขอนแก่น ชัยภูมิ ยโสธร นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ที่ประชุมได้มอบหมายการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟฝ.)​ ร่วมกับกรมชลประทานบริหารจัดการน้ำของเขื่อนอุบลรัตน์ โดยระบายน้ำในระดับที่ไม่มีผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ โดยเขื่อนอุบลรัตน์จะระบายน้ำด้วยอัตรา 20 ล้าน ลบ.ม./วัน ให้เร่งระบายน้ำที่ไม่สามารถเก็บกักได้ลงแม่น้ำโขงโดยเร็ว

Advertisement

นายสุรสีห์กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม จากปริมาณมวลน้ำหลากที่มีการบริหารจัดการโดยเก็บกักในพื้นที่ลุ่มต่ำ พื้นที่แก้มลิงต่างๆ สทนช.ได้เสนอกรอบทางร่วมกับหน่วยงานเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกรมชลประทานและกรมส่งเสริมการเกษตร ในการวางแผนนำน้ำที่ไหลหลากในทุ่งรับน้ำต่างๆ รวมถึงมวลน้ำในพื้นที่ลุ่มต่ำในปัจจุบันมาบริหารจัดการสำหรับฤดูแล้งหน้า ทั้งในลุ่มเจ้าพระยา ลุ่มน้ำมูล-ชี ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งมาตรการในเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการรับน้ำในฤดูฝนนี้สามารถทำการเกษตรนาปรัง หรือพืชใช้น้ำน้อย ก่อนเสนอเป็นมาตรการบริหารจัดการน้ำฤดูแล้งปี 2564/65 เสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะอำนวยการด้านบริหารจัดการทรัพยากรน้ำปลายเดือนนี้ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาโดยเร็วต่อไป ซึ่งจากการคาดการณ์ปริมาณน้ำสิ้นฤดูฝน

นายสุรสีห์กล่าวอีกว่า สำหรับกระแสข่าวพายุโซนร้อน 2 ลูกที่มีแนวโน้มจะเข้าประเทศไทย ในช่วงวันที่ 10 ตุลาคมนี้ ที่มีชื่อว่า “ไลออนร็อค” และ คมปาซุ” นั้น กอนช.ย้ำว่าจากการประเมินในเบื้องต้นพายุ 2 ลูกดังกล่าวยังเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำเท่านั้น ซึ่งยังไม่เกิดผลกระทบไทยจึงยังไม่ได้มีการสามารถระบุชื่อพายุที่ชัดเจน แต่อย่างไรก็ตาม ทาง กอนช.ไม่ได้นิ่งนอนใจ ปัจจุบันก็ได้เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ดังกล่าวไว้แล้ว

Advertisement

นายสุทัศน์ วีสกุล ผู้อำนวยการ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน. กล่าวว่า ทาง สสน.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังเฝ้าระวังย่อมความกดอากาศต่ำที่คาดว่าจะขึ้นไปทางเหนือของประเทศ ในระหว่างวันที่ 11-12 ตุลาคมนี้ และอาจมีการกระจายตัวไปที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเล็กน้อย ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในบางพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ แต่มั่นใจว่าจะไม่กระทบหรือเพิ่มจำนวนน้ำท่วมในพื้นที่ภาคกลาง ทั้งนี้จากการประเมินในเบื้องต้นเชื่อว่าเมื่ออากาศหนาวเข้ามาจะช่วยให้ความรุนแรงของพายุจะลดลงต่อไป

ด้าน นายกมล พรหมสาขา ณ สกลนคร ผู้อำนวยการส่วนวิเคราะห์ข้อมูลเรดาห์และดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา กรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า กรมอุตุนิยมวิทยาร่วมกับ สสน. ติดตามหย่อมความกดอากาศต่ำ 2 ลูก เพื่อเฝ้าระวังผลกระทบต่อประเทศไทย โดยคาดการณ์ว่าหย่อมความกดอากาศต่ำลูกแรกมีแนวโน้มต่ำที่จะพัฒนาเป็นพายุโซนร้อน เนื่องจากอิทธิพลของความกดอากาศสูงที่แผ่ลงมา แต่จะยังคงมีฝนอยู่ตามฤดูกาล ส่วนหย่อมความกดอากาศต่ำลูกที่สอง มีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงมากกว่าหย่อมความกดอากาศลูกแรก

นายกมลกล่าวอีกว่า โดย กอนช.จะมีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดอย่างต่อเนื่อง เพื่อวางแนวทางป้องกันพื้นที่เสี่ยงให้ประชาชนได้รับผลกระทบน้อยที่สุด โดยจังหวัดที่อาจจะได้รับผลกระทบคือ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด นครราชศรีมา กรุงเทพฯและปริมณฑล กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ระยอง และตราด

นายกมลกล่าวว่า อย่างไรก็ตาม พายุดังกล่าวจะส่งผลต่อพื้นที่ภาคใต้ตอนบนและภาคใต้ตอนล่าง ซึ่งคาดว่าตุลาคมนี้มีโอกาสฝนตกเพิ่มขึ้น อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในบางแห่ง พร้อมทั้งได้คาดการณ์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยพื้นที่ภาคใต้ เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2564 มีพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย จำนวน 668 ตำบล 125 อำเภอ 14 จังหวัด โดยจำแนกพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยในแต่ละจังหวัด โดยที่ประชุมได้ซักซ้อมความพร้อมรับมือสถานการณ์ เครื่องจักรเครื่องมือประจำจุดเสี่ยง จุดอ่อนไหวต่างๆ รวมถึงการบริหารจัดการน้ำในเขื่อนน้ำมากในเกณฑ์เฝ้าระวัง อาทิ เขื่อนแก่นกระจาน จ.เพชรบุรี เขื่อนปราณบุรี

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image