ส.เอสเอ็มอี ฝาก 5 ข้อเสนอให้รัฐบาลเร่งลงมือ หลังเปิดประเทศ

สมาพันธ์เอสเอ็มอี ชี้ผ่อน ศบค.คลายล็อก ดีต่อเศรษฐกิจ ฝาก 5 ข้อเสนอให้รัฐบาลเร่งลงมือ

นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย กล่าวถึงมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2564 ว่า การปรับเวลาเคอร์ฟิว เป็นเวลา 23.00-03.00 น. รวมถึงลดจำนวนพื้นที่ควบคุมเข้มงวดและสูงสุดลงนั้น เป็นผลดีเศรษฐกิจ ให้กิจกกรมต่างๆกลับมาเป็นปกติ ทั้งต่อประชาชนและผู้ประกอบการ ด้านการคมนาคม ด้านการขนส่งสินค้า ทำได้สะดวก ทางร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า ก็เพิ่มโอกาสในการค้าขายมากขึ้น

แต่จากการผ่อนคลายมาตรการนั้น นอกจากจะมีผลในด้านบวกแล้ว ก็ยังมีผลทางด้านลบ ด้วย เพราะถ้ามีการผ่อนคลายแล้ว การควบคุมหรือการเฝ้าระวังที่ไม่เพียงพอ อาจจะทำให้เชื้อโควิด-19 กลับมาแพร่ระบาดและมีอัตราการติดเชื้อสูงได้อีกครั้ง จึงอยากให้รัฐบาล เร่งดำเนินการตามข้อเสนอดังนี้ 1. เร่งกระจายวัคซีนให้ทั่วถึง ทุกคนทั้งประเทศ ไม่ใช่เร่งแค่เพียงในพื้นที่ ที่จัดเป็นพื้นที่ควบคุมเข้ม เนื่องจากผลของการระบาดนั้น เกิดขึ้นในทุกพื้นที่ ดังนั้นการกระจายให้ทั่วถึง ประชากรทุกคนโดยเร็ว จะช่วยป้องกันปัญหานี้ได้มากขึ้น

2.เรื่องของชุดตรวจโควิด-19 แบบแอนติเจนเทสต์คิต หรือ เอทีเค นั้น ในภาคธุรกิจก็ให้การสนับสนุนและพร้อมที่จะใช้ในการช่วยคัดกรองแรงงานตามที่รัฐบาลออกมาตรการ ซึ่งทางสมาพันธ์เอสเอ็มไทย ได้ร่วมกับ ผู้นำเข้าชุดตรวจเอทีเคที่ได้รับการรับรอง ในการจัดหาชุคตรวจ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะเอสเอ็มอี ให้เข้าถึงได้ง่าย และอยู่ในราคาที่เหมาะสม แต่ในปัจจุบัน ราคาที่หาได้ อยู่ที่ 77 บาทต่อชุด ซึ่งถือว่าราคาสูงกว่าที่รัฐบาลเคยประกาศไว้ ที่ว่าจะอยู่ 30-40 ทำให้ผู้ประกอบต้องมีภาระค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น

Advertisement

“จึงอยากเสนอให้ กระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้ามาควบคุมราคาชุดตรวจเอทีเค ให้ได้ในราคาไม่เกิน 40 บาท เชื่อว่าถ้าอยู่ในราคานี้ ผู้ประกอบการจะเข้าถึงและหามาใช้งานมากขึ้น จะเป็นอีกทางที่จะช่วยในการควบคุมการระบาดของโควิดได้” นายแสงชัย กล่าว

3. คืออยากให้รัฐบาลทำเอกสารประชาสัมพันธ์ เป็นความรู้เรื่องเกี่ยวกับข้อปฏิบัติ ภายใต้มาตรการเฝ้าระวังโควิด อาจจะเป็นเอกสาร คู่มือ ทางออนไลน์ หรือเป็นวิดีโอ ที่รวบรวมข้อมูลต่างๆ อาทิ เมี่อคลายล็อกดาวน์แล้วแต่ละกิจกรรมทำอะไรได้บ้าง หากกรณีผู้ประกอบการพบผู้ติดเชื้อ ควรทำอย่างไรต่อ เพื่อให้ทุกคนสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน

4.คือมาตรการเยียวยา ส่วนแรกขอชื่นชมในมาตรการช่วยเหลือกลุ่มอาชีพอิสระ คนขับแท็กซี่ และรถจักรยานยนต์รับจ้าง ที่อายุเกิน 65 ปี ที่เข้าไม่ถึงมาตรการเยียวยาก่อนหน้านี้ เข้าที่เพิ่งผ่านมติ คณะรัฐมนตรีไป เป็นสิ่งที่ช่วยได้อย่างมาก แต่ขณะนี้ ยังมีแรงงานอีกจำนวนมาก ที่ยังตกหล่น จึงอยากให้เร่งตรวจสอบ และติดตาม คนที่ต้องค้าง ให้ได้รับการเยียวยาโดยเร็ว นอกจากนี้ ก็อยากให้ช่วยเหลือทั้งผู้ประกอบการและคนขับแท็กซี่ หรือรถจักรยานยนต์รับจ้าง ในเรื่องของการผ่อนผันการชำระหนี้คงค้าง ไม่ให้ถึงยึดรถที่ใช้ประกอบอาชีพไป

Advertisement

5. เรื่องการเข้าถึงสินเชื่อฟื้นฟูต่างๆ ขณะนี้ยังพบปัญหาที่ว่า การจะขอสินเชื่อต้องใช้หลักฐาน ความสามารถในการชำระหนี้อยู่ ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ เอสเอ็มอี เข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุน ดังนั้นรัฐบาลควรดูแลให้เรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้ง นอกจากจะเติมทุน เป็นเงินแล้ว ควรสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ประการ พัฒนากิจการในเข้ากับสู่ยุคสมัยด้วย ทั้งทุนมนุษย์ คือการเติมความรู้ และทุนโอกาส คือทำอย่างไรให้เข้าถึงได้โดยง่าย กว้างขวาง ทำธุรกิจได้โดยที่มีต้นทุนต่ำลง เพราะกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี นั้นแตกต่างจากผู้ประกอบการขนาดใหญ่

“สุดท้ายนี้ ทั้ง 5 ข้อเสนอนี้ รวมถึงมาตรการต่างๆ หลังจากมีการผ่อนคลายล็อกดาวน์รัฐบาลออกไปแล้ว นั้น อยากฝากว่า ให้มีการประเมิน และสำรวจผู้ตกหล่นให้หมด และช่วยให้เข้าถึงอย่างเร็วที่สุด แล้วค่อยไปสู่ ข้อเสนอที่ 5 เพิ่มการเข้าถึงแหล่งทุน และนำไปสู่การพัฒนา เพิ่มขีดความสามารถให้ได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องเร่งทำโดยด่วน” นายแสงชัย กล่าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image