คมนาคม แจงแผนเตรียมรับ สปป.ลาว เปิดรถไฟเชื่อมจีน 2 ธ.ค.นี้ ยันไทยเปิดเฟสแรกปี’69

กระทรวงคมนาคม (คค.) ชี้แจงแผนการเตรียมความพร้อมรองรับการขนส่งระหว่างประเทศ ผ่านรถไฟไทย-ลาว-จีน เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชายแดนจังหวัดหนองคายและในประเทศ

เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2564 กระทรวงคมนาคมโดยกรมการขนส่งทางราง ได้ให้ข้อมูลเพื่อชี้แจงการเตรียมความพร้อมรองรับการขนส่งระหว่างประเทศผ่านรถไฟไทย-ลาว-จีน ซึ่งจะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 2 ธันวาคม 2564 โดยจะมีการเชื่อมต่อจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ผ่านสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เข้ามาบรรจบประเทศไทยในพื้นที่จังหวัดหนองคายเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชายแดนจังหวัดหนองคาย ด้วยมูลค่าการค้าชายแดนโดยมีการขนส่งสินค้า อีกทั้งมีการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นมูลค่าที่สำคัญทั้งในเชิงเศรษฐกิจและการส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทย การพัฒนาระบบการขนส่งทางรางเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศไทยได้ดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

โดยท่านนายกรัฐมนตรีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้มีนโยบายที่ชัดเจนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้ง
กระทรวงคมนาคมดำเนินงานเพื่อการรองรับการเชื่อมต่อระบบทางรถไฟไทย – สปป.ลาว – จีน โดยทำบันทึก
ข้อตกลงความร่วมมือ MOU ร่วมสามฝ่าย (ไทย – สปป.ลาว – จีน) ตั้งแต่ปี 2560 และท่านรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงคมนาคม นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ได้มีนโยบาย แผนการเตรียมความพร้อมรองรับการขนส่งระหว่าง
ประเทศผ่านรถไฟไทย-ลาว-จีน นับตั้งแต่ดำรงตำแหน่ง ในปี 2562 เพื่อขับเคลื่อนพร้อมผลักดัน โครงการรถไฟความเร็วสูง

มีการประกวดราคาและลงนามในสัญญาฉบับที่ 2.3 กับฝ่ายจีน ในเดือน ตุลาคม 2563 และเร่งรัดการแก้ไขปัญหากรณีสถานีอยุธยา นอกจากนี้ยังเร่งรัดการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงในระยะที่สอง ช่วงนครราชสีมา-ขอนแก่น รวมถึงการเร่งรัดโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ขนาด 1 เมตร ในช่วงขอนแก่น-หนองคาย และเตรียมการพัฒนาพื้นที่ ICD เพื่อเป็นพื้นที่พักสินค้าตรวจปล่อยของขาเข้าและบรรจุของขาออกที่จังหวัดหนองคายให้พร้อมรองรับการขนส่งสินค้าประเภทตู้คอนเทนเนอร์ผ่านระบบการขนส่งทางราง
โดยมีการเตรียมความพร้อม ดังนี้

Advertisement

1) การเตรียมความพร้อมรองรับการเดินทาง และการขนส่งสินทางทางรถไฟจากจีนตอนใต้ เชื่อมต่อกับ สปป.ลาว

การเชื่อมต่อการเดินทางและการขนส่งสินค้าข้ามแดน ผ่านทางรถไฟช่วงหนองคาย – เวียงจันทน์
แม้เส้นทางของรถไฟไทย-ลาว-จีน อยู่ระหว่างดำเนินงานเชื่อมต่อเป็นเส้นทางเดียวกันเข้ามายังประเทศไทย
แต่ก็ได้เตรียมการรองรับเพื่อแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีความพร้อม สร้างความเชื่อมั่น ทั้งการขนส่งสินค้าทางรถไฟ ได้มีแนวทางการดำเนินงานทั้งระยะสั้น และระยะยาว เพื่อรองรับการขนส่งระหว่างประเทศทั้งสินค้า
และผู้โดยสารในเส้นทางนี้ อีกทั้งได้บูรณาการกับแผนงานโครงการที่จะเกิดการบูรณาการส่งเสริมการคมนาคมขนส่งระบบโลจิสติกส์ผ่านการขนส่งทั้งทางราง ทางถนน เพื่อขนส่งสินค้าไปยังท่าเรือ สร้างโอกาสและอนาคตการส่งออกของประเทศไทยต่อไป

แนวเส้นทางโครงการรถไฟจีน – ลาว เตรียมที่จะเปิดดำเนินการในวันชาติของ สปป.ลาว มีระยะทางประมาณ 420 กิโลเมตร มีสถานีทั้งหมด 31 สถานีเริ่มต้นที่นครคุนหมิง มณฑลยูนนาน เชื่อมต่อที่เมืองบ่อเต็น สปป. ลาว และมีปลายทางที่นครหลวงเวียงจันทน์ซึ่งอยู่ใกล้กับจังหวัดหนองคาย โดยประเทศไทยอยู่ระหว่าง
ดำเนินการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 1 ช่วง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา มีระยะทาง 253 กม. กำหนดเปิด
ให้บริการ ปี 2569 สำหรับระยะที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย มีระยะทาง 356 กิโลเมตร ปัจจุบันได้ออกแบบ
รายละเอียดโดยมีกำหนดเปิดให้บริการ ปี 2571 โดยเตรียมหารือร่วมกันสามฝ่ายเพื่อเตรียมการเดินรถเชื่อมต่อไทย-ลาว-จีน ต่อไป

2) การพัฒนาระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมต่อ ไทย – ลาว – จีน

ขณะนี้ได้มอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) พิจารณาจัดขบวนรถรองรับการเดินทางช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์และรองรับปริมาณการขนส่งสินค้าทางรางที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นที่สถานีท่านาแล้ง
ของ สปป.ลาว นำไปสู่การเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างประเทศ จากเดิมปัจจุบัน ได้มีรถไฟของ รฟท.
ผ่านสะพานมิตรภาพฯ แห่งที่ 1 ขาไป 2 ขบวนและขากลับ 2 ขบวนนั้น รฟท. ได้เพิ่มเติมตารางเวลาการเดิน
รถซึ่งเมื่อมีการเชื่อมต่อในเส้นทางดังกล่าวแล้วจะเพิ่มขบวนรถขาไป 7 ขบวนและขากลับ 7 ขบวน รวมมี
การเพิ่มจำนวนขบวนรถเป็น 14 ขบวน อีกทั้งได้มีการให้ข้อมูลเพิ่มเติมด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
ทางรางของประเทศไทย ซึ่งการเตรียมความพร้อมของฝ่ายไทยในการเชื่อมโยงทางรถไฟไทย-ลาว-จีน ประเทศไทยได้มีการเตรียมความพร้อมในการเปิดเส้นทางรถไฟจีน – ลาว ไว้ โดยมีการพัฒนาสถานีหนองคายให้รองรับการขนส่งผ่านสะพานเดิม โดยพัฒนาบริเวณสถานีที่มีพื้นที่ประมาณ 80 ไร่ ให้เป็นพื้นที่ตรวจปล่อยสินค้าระหว่างประเทศ และการเปลี่ยนถ่ายจากถนนสู่ราง โดยให้เอกชนเช่าบริหารจัดการพื้นที่ 4 แปลง อีก 1 แปลงเป็นพื้นที่ส่วนกลาง

การจัดเตรียมพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับศูนย์ย่านเปลี่ยนถ่ายสินค้า (Transshipment Yard) สามารถรองรับการแลกเปลี่ยนสินค้าจากรถไฟที่เข้ามาจากจีนและลาว และส่งออกไปยังลาวและจีน
โดย ตั้งอยู่ในพื้นที่ด้านหลังของลานขนถ่ายสินค้า สำหรับกองเก็บตู้สินค้าประเภทต่างๆ รวมถึงอาคาร
สำนักงาน, คลังสินค้า และอาคารประกอบอื่นๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวกับการนำเข้า-ส่งออก รวมถึง
ศูนย์การเอ็กซเรย์(X-ray) ตู้สินค้า เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้มาใช้บริการแบบ One-Stop Service

3) การสร้างสะพานมิตรภาพรองรับการขนส่งทางรถไฟโดยเฉพาะ

พิจารณาการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ใกล้กับสะพานเดิมที่มีอยู่แล้ว โดยอาจจะแยกเป็นสะพานเฉพาะสำหรับการเดินรถไฟเท่านั้น รวมทั้งการจัดเตรียมพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับปริมาณ
การขนส่งที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคต โดยก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ซึ่งอยู่ห่างจากสะพานเดิม
ประมาณ 30 เมตร โดยเป็นสะพานรถไฟที่มีทั้งทางขนาด 1 เมตร และ 1.435 เมตร โครงสร้างสะพานจะเป็น
รูปแบบสะพานคานคอนกรีตอัดแรงรูปกล่องก่อสร้างโดยวิธีคานยื่นสมดุล ดังภา

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image