ดีพร้อมดันหุ่นยนต์ไทยเข้ารง.เอสเอ็มอี โชว์คุณภาพเท่าตปท.ราคาถูกกว่าเท่าตัว

ดีพร้อมดันหุ่นยนต์ไทยเข้ารง.เอสเอ็มอี โชว์คุณภาพเท่าตปท.ราคาถูกกว่าเท่าตัว กระตุ้นศก.แล้วเฉียด100ล้านบ.

นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม(กสอ.) หรือ ดีพร้อม เปิดเผยถึงความคืบหน้าการผลักดันอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ นโยบายของนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ว่า ปีงบ 2565 จะผลักดันคลัสเตอร์หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีหันมาใช้ในการผลิต ลดต้นทุน ลดพึ่งพาแรงงาน ลดการสัมผัสรองรับสังคมนิวนอร์มอลหลังเกิดโควิด-19 โดยหลังจากนี้จะดึงกลุ่มสถานประกอบการที่ต้องการใช้หุ่นยนต์เข้าร่วมคลัสเตอร์มากขึ้น ใช้กลไกการเงินสร้างแรงจูงใจ อาทิ มาตรการด้านภาษีจากสำนักงานคณะกรรมการส่งการเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมในอัตราต่ำจากแหล่งเงินทั้งกองทุน และธนาคารพาณิชย์ อาทิ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(เอสเอ็มอีดีแบงก์) จัดหาผู้เชี่ยวชาญให้ความรู้ และส่งเสริมแผนงานด้านการตลาดให้เป็นที่รู้จักที่มากขึ้น

นายณัฐพล กล่าวว่า คลัสเตอร์หุ่นยนต์ฯ เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2562 ปัจจุบันมีเอสเอ็มอีทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้ รวม 22 บริษัท แม้ยังน้อยแต่ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี มีเป้าหมายร่วมกันคือการเพิ่มกำลังการผลิต การลดนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ นำความเชี่ยวชาญของแต่ละบริษัทมาช่วยแก้จุดอ่อน ล่าสุดมีการซื้อขายระบบเทคโนโลยีรวมถึงหุ่นยนต์ระหว่างกันคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณ 95 ล้านบาท หรือ 4.75 ล้านบาทต่อกิจการ <span;>จุดเด่นของคุณภาพทัดเทียมต่างประเทศ คืนทุนได้เร็วเฉลี่ย1ปี ราคาถูกกว่าการนำเข้า 3–5 แสนบาทต่อเครื่อง จากปกติหลักล้านบาทขึ้นไป ลดการพึ่งพาแรงงาน ลดการสัมผัสรับสังคมนิวนอร์มอล

นายพชระ แซ่โง้ว กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูนิคัล เวิร์คส์ จำกัด ผู้ผลิตแขนกลยูนิบอท และกรรมการบริหารคลัสเตอร์หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ กล่าวว่า บริษัทมีแนวคิดผลิตหุ่นยนต์เพื่อเชิงพาณิชย์ให้ธุรกิจเข้าถึงในราคาถูกกว่าท้องตลาด แต่คุณภาพและบริการเทียบเท่า

Advertisement

นายสมควร จันทร์แดง กรรมการผู้จัดการบริษัท ยูเนี่ยน แอพพลาย จำกัด สมาชิกคลัสเตอร์หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ กล่าวว่า ในฐานะผู้ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่ผลิตภายในคลัสเตอร์ พอใจต่อเทคโนโลยี ราคา และประสิทธิภาพการทำงาน ปัจจุบันโรงงานนำแขนกลของ บริษัท
ยูนิคัล เวิร์คส์ มาใช้ในกระบวนการผลิตกระบอกไฮโดรลิก พบว่า คืนทุนในเวลาเพียง 10.4 เดือน ลดแรงงานที่ต้องทำงานซ้ำๆ ได้ 2 คน มูลค่า 252,000 บาทต่อปี ลดพลังงานไฟฟ้าจากเครื่องจักรถึง 3 เครื่อง ผลิตชิ้นส่วนกระบอกไฮโดรลิกจาก 18,000 ชิ้น เป็น 42,000 ชิ้นต่อปี มูลค่าจากการผลิตเพิ่มขึ้น 113% จาก 130,680 บาทต่อปี เป็น 278,760 บาทต่อปี และยังลดค่าซ่อมบำรุงและค่าเสื่อมสภาพได้ถึง 130,000 บาทต่อปี จากเดิม 240,000 บาท

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image