‘หยวนต้า’ คาดราคาหุ้น ‘ดีแทค-ทรู’ วิ่งขึ้นช้าลง หลังดีดตัวรับข่าวควบรวมแล้ว

{"source":"other","uid":"7CD8856F-73F4-4C98-B2EE-FAFDE0FD26FB_1637695357432","origin":"gallery","fte_sources":[],"subsource":"done_button","used_premium_tools":false,"used_sources":"{"version":1,"sources":[]}","source_sid":"7CD8856F-73F4-4C98-B2EE-FAFDE0FD26FB_1637695357437","premium_sources":[],"is_remix":false}

‘หยวนต้า’ คาดราคาหุ้น ‘ดีแทค-ทรู’ วิ่งขึ้นช้าลง หลังดีดตัวรับข่าวควบรวมแล้ว

นายณัฐพล คำถาเครือ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) หยวนต้า (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดหุ้นไทย เห็นดัชนีพักตัวลงมา หลังปรับขึ้นทดสอบระดับ 1,650 จุดแล้วไม่สามารถผ่านได้ เนื่องจากเห็นแรงขายกลุ่มแบงก์ ค้าปลีก และโมเมสติก ที่เป็นความกังวลเชื่อมโยงสถานการณ์การระบาดโควิด-19 ในต่างประเทศ ทำให้การท่องเที่ยวอาจไม่ได้ฟื้นตัวเร็วเหมือนที่คาดการณ์ไว้ โดยเห็นเม็ดเงินเข้าไปลงทุนเพื่อเก็งกำไรในหุ้นกลุ่มพลังงาน และกลุ่มสื่อสารสูงมาก โดยแนวโน้มตลาดหุ้นไทยในเดือนธันวาคม 2565 คาดว่ากรอบการเคลื่อนไหวของดัชนีคงไม่ได้กว้างมากนัก เพราะมีวันหยุดหลายวัน รวมถึงปี 2564 ดัชนีปรับขึ้นมาสูงมากแล้ว ให้กรอบการเคลื่อนไหวแนวรับที่ระดับ 1,600 – 1,615 จุด แนวต้าน 1,680 – 1,700 จุด โดยคาดว่าอัพไซในด์ช่วงที่เหลือของปีนี้คงไม่ได้เปิดกว้างมากนัก เพราะนอกจากเงื่อนไขวันหยุดหลายวันแล้ว ยังมีความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ และทิศทางการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อยู่ ซึ่งโค้งสุดท้ายในการประชุมช่วงกลางเดือนธันวาคมนี้ การลดวงเงินซื้อสินทรัพย์ในมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) จะยังเหมือนเดิมอยู่หรือไม่ คือลดลงเดือนละ 1.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ที่กำหนดเบื้องต้น 2 เดือนสุดท้ายของปีนี้ (พฤศจิกายน-ธันวาคม) ก่อน จึงต้องติดตามต่อว่าจะยังอย่างไรต่อไป ซึ่งอาจมีผลทำให้ตลาดผันผวนได้ แต่เชื่อว่าทางลงคงมีค่อนข้างจำกัด เพราะหุ้นกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวน่าจะเข้ามาช่วยสนับสนุนได้

นายณัฐพล กล่าวว่า สำหรับการควบรวมระหว่าง บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือทรู และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค โดยตั้งเป็นบริษัทใหม่ ที่กำหนดสัดส่วนการแลกหุ้น และการตั้งโต๊ะรับซื้อหุ้นคืนทั้งหมด (เทนเดอร์ฯ) ซึ่งทั้ง 2 บริษัทได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) แล้ว โดยต้องจับตาผู้กำกับดูแลหลักอย่างคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะให้ความเห็นอย่างไร ซึ่งเบื้องต้นเชื่อว่าอาจมีแรงกระเพื่อมบ้าง แต่ท้ายที่สุดการรวมกิจการน่าจะเกิดขึ้น ทำให้ความผันผวนของราคาคือโอกาสทยอยสะสม เพราะคาดว่าภาพหลังการรวมกิจการจะสดใส เราคาดการร่วมมือกันจะมีมูลค่าในระดับเกิน 1 หมื่นล้านบาทต่อปีได้ไม่ยาก จากการลดค่าใช้จ่ายด้านทุน (CAPEX) และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (OPEX) เพราะการบริหารจัดการคลื่นความถี่และการแข่งขันที่ลดลง ส่วนแนวโน้มราคาจะวิ่งได้ไกลเท่าใดนั้น ขณะนี้ราคาหุ้นทั้ง 2 ตัวปรับขึ้นตอบรับข่าวและกระบวนการต่างๆ แล้ว หลังจากนี้คาดว่าคงไม่ได้วิ่งไปไกลมากนัก แต่ระยะถัดไปจะเห็นเม็ดเงินเข้ามาในหุ้นกลุ่มสื่อสารมากขึ้น เพราะทรูกับดีแทค จะมีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้กำไรดีขึ้นตาม ซึ่งเมื่อหุ้นกลุ่มสื่อสารมีขนาดใหญ่ขึ้น จะเบียดน้ำหนักมูลค่าตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) ของหุ้นกลุ่มค้าปลีก แบงก์ พลังงาน ลดลง แต่เม็ดเงินที่ไหลเข้ากลุ่มสื่อสารจะไปเล่นที่แอดวานซ์ที่มีความโดดเด่นในช่วงรอกระบวนการควบรวมทั้ง 2 บริษัทก่อน หลังจากมีบริษัทใหมาขึ้นมาแล้ว ความสนใจจะมุ่งไปในหุ้นตัวใหม่แทน

“ผลที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภค ที่ผู้เล่นในตลาดลดลง มองว่าส่งผลเป็นกลางมากกว่า เพราะคนส่วนใหญ่อาจกังวลว่า เมื่อมีผู้เล่นน้อยรายมากขึ้นจะทำให้ราคาผลิตภัณฑ์สูงขึ้นหรือไม่ แต่จุดประสงค์ของการรวมบริษัทกันก็เพื่อต้องการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นการลดต้นทุนของตัวเอง คงไม่ได้คาดว่าเมื่อควบรวมบริษัทแล้วจะปรับราคาสูงขึ้นจนมีผลกระทบอะไร รวมถึงเมื่อเหลือผู้เล่นหลัก 2 รายเท่านั้น การแข่งขันจะยังมีอยู่ เพราะหากลูกค้าหลุดไปจากเจ้าใดเจ้าหนึ่ง จะเข้าไปอยู่กับอีกเจ้าทันที ทำให้ผลเชิงบวกกับผู้บริโภคคือ จะได้ใช้โครงข่ายที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นของทั้งคู่” นายณัฐพล กล่าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image