คิดเห็นแชร์ : แบตเตอรี่แห่งเอเชีย

คิดเห็นแชร์ : แบตเตอรี่แห่งเอเชีย

คิดเห็นแชร์ : แบตเตอรี่แห่งเอเชีย

ผมว่าเมื่อจั่วหัวเรื่องแบบนี้เป็นที่ทราบกันทันทีว่าสมญานามว่า “แบตเตอรี่แห่งเอเชีย” หมายถึง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ซึ่งมีเทพีแห่งโชคเกี่ยวกับทรัพยากรพลังงานและแร่ธาตุที่มีอยู่เหลือเฟือ และที่สำคัญคือ ทางรัฐบาลของ สปป.ลาว ก็มีวิสัยทัศน์และแผนงานที่จะให้ประเทศตัวเองเป็นแหล่งพลังงานสำรองของอาเซียนและเอเชียในอนาคต

ปัจจุบันมีการประเมินว่าทรัพยากรพลังงานของ สปป.ลาว มีมากกว่า 40,000 MW โดยแบ่งเป็น

ไฟฟ้าพลังน้ำ* 26,000 MW

Advertisement

พลังงานแสงอาทิตย์ ~10,000 MW

พลังงานลม 3,000 MW

ชีวมวล 1,000 MW

ก๊าซชีวภาพ 350 MW

รวม ~40,350 MW

โดยไฟฟ้าพลังน้ำถือเป็นขุมทรัพย์สำคัญในการพัฒนา ซึ่งในปัจจุบัน สปป.ลาว ได้ให้สัมปทานโครงการเขื่อนพลังน้ำต่างๆ ไปประมาณ 335 แห่ง ซึ่งมีระดับการพัฒนาที่แตกต่างกัน จาก 335 แห่งนี้ 61 แห่ง สร้างเสร็จและจ่ายไฟเข้าระบบแล้ว และอีก 234 โครงการ ไม่อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง ก็อยู่ระหว่างการศึกษา และโครงการต่างๆ 263 โครงการ จาก 335 เป็นโครงการขนาดเล็ก เล็กกว่า 15 MW มีเพียงไม่กี่เขื่อนที่จะมีขนาดเกินกว่า 1,000 MW ขึ้นไป เช่น เขื่อนไซยะบุรี เป็นต้น

แต่ที่ผมชวนให้ดูสถิติในวันนี้เพราะว่าหากทาง สปป.ลาว ปฏิรูประบบนโยบาย และแนวคิดการพัฒนาสักหน่อย ก็จะทำให้ศักยภาพพลังงานทดแทนทั้ง 40,000 MW มาใช้ประโยชน์ได้เต็มประสิทธิภาพครับ …. หัวใจสำคัญของงานนี้ คือ ระบบที่เรียกว่า “Integrated & Flexible Power Plant” หรือระบบโรงไฟฟ้าแบบผสมผสานที่ต้องนำศักยภาพจาก Solar & Wind มาผสมกับโครงการไฟฟ้าพลังน้ำต่างๆ คล้ายๆ กับที่ กฟผ. ของไทยทำที่เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี ซึ่งหากทำได้แบบพี่ไทยทำ… อีกหน่อย สปป.ลาว ก็จะเป็นแบตเตอรี่แห่งเอเชียได้โดยไม่ยากนะครับ

ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร
หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image