จอดป้ายประชาชื่น : คริปโทฯไทยไปไหนต่อ?

จอดป้ายประชาชื่น : คริปโทฯไทยไปไหนต่อ?

จอดป้ายประชาชื่น : คริปโทฯไทยไปไหนต่อ?

จากการไม่สนับสนุนของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในการใช้สกุลเงินดิจิทัลหรือคริปโทเคอร์เรนซี ใช้จ่ายชำระค่าสินค้าและบริการแทนเงินสกุลเงินบาท ทำให้หลายคนเกิดความวิตกว่าเงินดิจิทัลในประเทศไทยจะไปต่อได้หรือไม่ แต่ก็เป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจเท่าไหร่นัก เพราะหน้าที่ของธนาคารกลางในแต่ละประเทศ ต้องทำให้เงินในประเทศมีเสถียรภาพมากที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดความผันผวนของราคาสินค้าและบริการ

อย่างไรก็ตามในความเป็นจริงแล้ว แต่ละบริษัทที่รับคริปโทฯ ก็ไม่ได้มีการคิดราคาสินค้าแบบอิงตามคริปโทฯ อาทิ ขายคอนโด มูลค่า 1 Bitcoin แต่เป็นการแปลงมูลค่าคริปโทฯอิงกับราคาสินค้าที่เป็นเงินบาท ซึ่งเป็นแคมเปญทางการตลาดของแต่ละบริษัท ว่าให้ดูเข้าสู่สังคมยุคดิจิทัล ดูทันสมัย รวมถึงเป็นโอกาสที่จะได้ทดลองการใช้เงินดิจิทัลต่างๆ ด้วย

ด้าน ธปท. กังวลถึงคริปโทฯที่ไม่มีสินทรัพย์อื่นหนุนหลัง หรือแบล็งคอยน์ (Blank Coin) เพราะราคาจะมีความผันผวนสูง มูลค่าไม่คงที่ ส่วนคริปโทฯที่มีสินทรัพย์อื่นหนุนหลัง หรือสเตเบิลคอยน์ (Stable Coin) เหมือนกับธุรกิจอี-มันนี่ ซึ่ง ธปท.กำกับดูแลอยู่ โดย ธปท.จะดูทั้งโครงสร้างชำระเงิน ดูเรื่องความปลอดภัย รวมไปถึงมีความเป็นห่วงถึงบริษัทห้างร้านว่าจะลงบัญชีกันอย่างไร ต้นทุนทางบัญชีจะคิดอย่างไร จะทำให้ระบบเศรษฐกิจไม่มีประสิทธิภาพ และประชาชนจะต้องมีกี่กระเป๋าเงินดิจิทัลในการใช้จ่าย

Advertisement

ทาง ธปท. จึงร่วมกับทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เตรียมออกกฎการใช้จ่ายคริปโทฯในการซื้อสินค้าและบริการ เพื่อดูแลความเสี่ยง และการแข่งขันต้องให้เกิดความเท่าเทียมกัน ไม่ให้มีข้อได้เปรียบหรือเสียเปรียบ ซึ่งหากเอกชนรายใดที่ทำไปแล้ว สามารถกลับมาคุยกันได้ และไม่อยากให้เอกชนที่ทำไปแล้วพอมีเกณฑ์ออกมาจะเกิดต้นทุนในการทำธุรกิจ

ต้องดูกันต่อไปว่าการออกกฎในครั้งนี้ จะสร้างประโยชน์หรือผลเสียกับระบบนิเวศคริปโทฯไทยในอนาคตต่อไปอย่างไร

ศศวัชร์ คมนียวนิช

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image