ส่องโครงการยักษ์ 8.25 หมื่นล้านบาท ฟื้นคลองแสนแสบ ใน 11 ปี

ส่องโครงการยักษ์ 8.25 หมื่นล้านบาท ฟื้นคลองแสนแสบ ใน 11 ปี

หลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณ 82,563 ล้านบาทในการฟื้นฟูคลองแสนแสบ ระยะเวลา 11 ปี ตั้งแต่ปี 2564-2574 จึงเกิดคำถามว่าโครงการนี้มีแนวทางดำเนินการอย่างไร “มติชนออนไลน์”ได้นำโครงการส่วนหนึ่งของแผนการฟื้นฟูคลองแสนแสบมานำเสนอ

แผนการบริหาร พัฒนา อนุรักษ์ และฟื้นฟูคลองแสนแสบ หน่วยงานรับผิดชอบ 8 หน่วยงาน กรุงเทพมหานคร กรมโรงงานอุตสาหกรรม องค์การจัดการน้ำเสีย กรมควบคุมมลพิษ กรมเจ้าท่า กรมชลประทาน กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และจังหวัดฉะเชิงเทรา รวมทั้งสิ้น 84 โครงการ ดำเนินการ 3 ระยะ 1.ระยะเร่งด่วน (ปี 2564) 2.ระยะกลาง (ปี 2565-2570) 3.ระยะยาว (ปี 2571 -2574)

ตอบสนอง 5 เป้าประสงค์

Advertisement

1.เสริมสร้างความปลอดภัยการสัญจรทางน้ำของประชาชน 10 โครงการ ดำเนินการโดย กรุงเทพมหานคร กรมเจ้าท่า และจังหวัดฉะเชิงเทรา ระยะเร่งด่วน (ปี 2564) การเดินเรือในคลองแสนแสบมีส่วนต่อขยายเพิ่มเติม 10.50 กม. มีท่าเทียบเรือคลองแสนแสบส่วนต่อขยาย 8 ท่า ระยะกลาง (ปี 2565-2570) การพัฒนาและปรับปรุงท่าเทียบเรือในคลองแสนแสบ 10 ท่า เรือไฟฟ้าสัญจร 12 ลำ รองรับประชาชนใช้บริการเรือไฟฟ้าส่วนต่อขยายวัดศรีบุญเรืองถึงสำนักงานเขตมีนบุรี ได้ถึง 800 – 1,000 คนต่อวัน

2.การปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์บริเวณคลองแสนแสบ 14 โครงการ ดำเนินการโดย กรุงเทพมหานครและจังหวัดฉะเชิงเทรา ระยะเร่งด่วน (ปี 2564) ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและภูมิทัศน์พื้นที่ริมฝั่งคลอง 190 ตร.กม. คลองบางขนากมีการปรับปรุงภูมิทัศน์ชุมชนริมคลองและซ่อมแซมสะพานข้ามคลองพัฒนาและขยายผลพื้นที่ชุมชนริมฝั่งคลองต้นแบบ 21 แห่ง ระยะกลาง (ปี 2565-2570) มีสะพานข้ามคลองบางขนาก 4 แห่ง สามารถเพิ่มปริมาณการสัญจรได้ 4,000 คัน/วัน

3.การแก้ไขปัญหามลภาวะและคุณภาพน้ำในคลองแสนแสบ 44 โครงการ ดำเนินการโดย กรมควบคุมมลพิษ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรุงเทพมหานคร องค์การจัดการน้ำเสีย และจังหวัดฉะเชิงเทรา ระยะเร่งด่วน (ปี 2564) จัดระเบียบพื้นที่ภายในคลองแสนแสบ มีระบบรวบรวมน้ำเสียในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 1 แห่ง สามารถบำบัดน้ำเสียได้ 10,000 ลบ.ม./วัน การบังคับใช้กฎหมายเพื่อเฝ้าระวังและตรวจสอบกำกับดูแลโรงงานบริเวณคลองแสนแสบ การติดตามและตรวจสอบแหล่งกำเนิดมลพิษ อาคารประเภทต่างๆ ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดฉะเชิงเทรา ระยะกลาง (ปี 2565-2570) ระบบบำบัดน้ำเสียในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 5 แห่ง สามารถบำบัดน้ำเสียได้ 661,000 ลบ.ม./วัน และระบบบำบัดน้ำเสียรวมชุมชนในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา 2 แห่ง บำบัดน้ำเสียได้ 935 ลบ.ม./วัน ระยะยาว (ปี 2571 -2574) ระบบบำบัดน้ำเสียในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 5 แห่ง บำบัดน้ำเสียได้ 597,000 ลบ.ม./วัน และระบบบำบัดน้ำเสียรวมชุมชนในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา 24 แห่ง บำบัดน้ำเสียได้ 2,590 ลบ.ม./วัน

Advertisement

4.การป้องกันปราบปราม การบุกรุกทำลายทรัพยากรในคลองแสนแสบ 1 โครงการ ดำเนินการโดย กรุงเทพมหานครระยะเร่งด่วน (ปี 2564) สำรวจสิ่งก่อสร้างหรืออาคารต่างๆ ที่รุกล้ำลำคลองแสนแสบและคลองสาขา

5.การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในคลองแสนแสบ 15 โครงการ ดำเนินการโดย กรุงเทพมหานครกรมชลประทาน กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และจังหวัดฉะเชิงเทรา ระยะเร่งด่วน (ปี 2564)
กำจัดวัชพืชคลองบางขนาก ปริมาณ 14,700 ตัน ระยะกลาง (ปี 2565-2570) เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่บางส่วนของเขตบางกะปิ เขตสะพานสูง เขตบึงกุ่ม และเขตคันนายาว พื้นที่ 25 ตร.กม. ด้วยอุโมงค์ระบายน้ำในอัตราการระบายน้ำ 30 ลบ.ม./วินาที ความยาว 3.8 กม. การก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งระยะ 33.32 กม. มีพื้นที่ได้รับการป้องกันน้ำท่วม 130 ตร.กม. เป็นต้น

ข้อมูล:จากการประชุมของคณะอนุกรรมการบริหาร พัฒนา อนุรักษ์ และฟื้นฟูคลองแสนแสบ เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2564

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image