ปตท.ขอเป็นโซ่ข้อกลางรัฐ-เอกชน แจ้งเกิดแพลตฟอร์มรถอีวี

ปตท.ขอเป็นโซ่ข้อกลางรัฐ-เอกชน แจ้งเกิดแพลตฟอร์มรถอีวี

วันที่ 31 มกราคม นายบุรณิน รัตนสมบัติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่นวัตกรรมและธุรกิจใหม่บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) ร่วมสัมมนา”สู่ศักยภาพใหม่:Thailand 2022” รูแปบบไลฟ์สตรีมมิ่งผ่านเฟสบุ๊ก ในหัวข้อ”ศักยภาพใหม่ประเทศไทย”จัดโดยหนังสือพิมพ์มติชนว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลเปลี่ยนเร็ว ต้องตามให้ทัน ความยากคือฝั่งดีมานด์ ประเทศไทยมีประชากร 70 ล้านคน ถ้าเทียบตลาดบนโลกดิจิทัลหรือเทคโนโลยีนิดเดียว ต้องพูดถึงอาเซียน 600 ล้านคนหรือจะไปบวกจีน อินเดียต่างๆ เพราะบนโลกดิจิทัลพูดถึงคนประมาณ 5-6 พันล้านคน เป็นโลกที่ใหญ่มาก เราต้องไม่มองแค่ประเทศไทย

“เป็นเรื่องปกติ ไม่มีคนอยู่ในธุรกิจใหม่ เพราะเพิ่งสร้าง วิธีการจะระดมคนอย่างไร การทำธุรกิจใหม่ ต้องดูพาร์ตเนอร์ชิป เครือข่ายในประเทศและต่างประเทศ ไม่ใช่ทุกคนจะทำทุกเรื่องได้เหมือนกันหมด เรามีเอาท์ซอสบางเรื่อง สิ่งที่จะเกิดได้ไม่ว่าตลาด เทคโนโลยี ต้องออกแบบโครงสร้างไม่แข็งเกินไป ภาครัฐหรือบริษัทสามารถยืดหยุ่นได้ เพราะมูฟได้เร็ว ถ้าบอกว่ารับแต่คนไทย อาจจะไม่เกิด ต้องมีคนจีน อินเดีย ประเทศอื่นบ้าง “

อย่างปตท.กำลังทำเรื่องรถยนต์ไฟฟ้า(อีวี)  จะพูดถึงเชนใหญ่ ต้องออกแบบรถมีน้ำหนักเบา ทนทาน และอีวีจะสำเร็จต้องมีแบตเตอรี่ ทำให้ระบบแบตเตอรี่กับซอฟแวร์ส่งกำลังต้องไปด้วยกัน และอีวีไม่มีใครอยากลงทุนทันที เพราะใช้เงินมากและตลาดยังไม่มี เป็นที่มาปตท.มีโปรดักส์แพลตฟอร์ม จับมือจีพีเอสซีทำเรื่องแบตเตอรี่ แต่ยังยาก ไม่มีสินแร่ ต้องนำเข้า  จับมือกับฟ็อกซ์คอนน์ผู้รับจ้างผลิต (OEM)  ทำแพลตฟอร์มการผลิตรถอีวี ใครต้องการประกอบรถยนต์อีวี ซื้อเป็นโออีเอ็มไปและดีไซน์รูปลักษณ์เองและดูไปถึงนำรถอีอีจำหน่ายนำเพื่อสร้างดีมานด์ ยังลงทุนสถานีชาร์จไฟฟ้า ในปีนี้ตั้งเป้า 700 สถานี มีอีวีมี ให้คนใช้รถอีวีเช่า อาจจะลิงก์กับบิทคับได้เรื่องระบบชำระเงิน รวมถึงมอเตอร์ไซต์ไฟฟ้ามี “สวอพ แอนด์ โก” จุดชาร์จสลับแบตเตอรี่รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า

Advertisement

“เป็นภาพใหญ่ถ้าสร้างได้ จะทำให้เกิดการพัฒนาธุรกิจใหม่และประเทศไทยเป็นฐานการผลิตได้ เรามีการผลิตรถยนต์ปีละ 2 ล้านคัน ถ้าจุ่ๆเปลี่ยนเป็นอีวี ปรับตัวไม่ทัน ความเสียหายมหาศาล การจะทำแบบนี้ได้ ปตท.อยู่ในธุรกิจหลักบนฐานฟอสซิลต้องแยกทีมงานออกมา ตั้งทีมชีป อินโนเวชั่น แอนด์ นิวเวนเจอร์ มีจิ๊กซอว์ระหว่างนิวเวนเจอร์ ไม่ทำเองทั้งหมด มีจอยต์เวนเจอร์ ผ่านสตาร์ตอัพ หรือเอาท์ซอร์ซ  ความร่วมมือจำเป็น ไม่ยึดติดเกินไป ให้มีไดนามิก พร้อมที่จะทำ พร้อมที่จะเฟล  คำว่าเอกซ์โพเนนเชียลเวลาโตจะก้าวกระโดด แต่เวลาเฟลยังเรี่ยๆ เหมือนเดิม การไปทำเทคโนโลยีขั้นสูง ถ้าไม่สำเร็จอย่างน้อยมีความรู้ วิธีคิดไปต่อยอดทำธุรกิจอื่นได้ ซึ่งปตท.ขอเป็นโซ่ข้อกลางระหว่างความเป็นรัฐและเอกชน การตั้งโออีเอ็ม จะช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยจริงๆ เพราะเชื่อว่า 5 ปี 10 ปีข้างหน้าถ้าประเทศไทยไม่ขยับเราคงตามหลังคนอื่น” นายบุรณินกล่าว

การจะสร้างอีโคซิสเต็ม ต้องดูข้างในองค์กรก่อน เพราะเป็นการดิสทรัปตัวเองกลายๆ อีวีมาก็คือการแทนที่น้ำมัน การลงทุนช่วงแรกคงไม่ต้องพูดถึงการรีเทิร์น ซึ่งIRR(อัตราผลตอบแทน) จะต่ำตกท้องช้างเพราะมีการสร้างอินฟราสตรัคเจอร์ แต่ภาครัฐเริ่มสนับสนุน ออกอินเซนทีฟ(การจ่ายผลตอบแทน) เกี่ยวกับรถยนต์ แบตเตอรี่ แต่ทุกคนเห็นเรื่องอีโคซิสเต็ม ทุกประเทศในอาเซียนหรือประเทศอื่นๆ จะมีอินเซนทีฟที่แข่งกัน ปัญหามีตลอดทาง ต้องทำไปแก้ไป พยายามสร้างกัน เป็นทีม เชื่อว่าปัญหาจะเบา ภาครัฐเองพยายามเข้าใจปัญหา  แต่ต้องหากติกาให้ทุกคนเข้าถึงได้ ไม่ใช่บริษัทใดบริษัทหนึ่ง

ภาครัฐเองต้องยอมรับว่าช่วง 2 ปีหมดไปกับโควิดมาก ในเรื่องงบประมาณ วันนี้ภาคเอกชนต้องลุกขึ้นมาทำด้วยตัวเอง ภายใต้การสนับสนุนของรัฐ ถ้ารอรัฐเอื้อมมือมาดึงเราขึ้นไป ต้องคิดกลับว่าเราเดินเข้าไปเต็มที่ และติดอะไรเดินเข้าไปหารัฐ ทุกรัฐบาลพร้อมรับฟังเพราะมองเห็นปัญหาเดียวกัน ถ้าไม่ขยับตรงนี้อนาคตเราจะลำบาก สิ่งที่ฝาถึงกภาครัฐคือการพัฒนาบุคลากร การที่รัฐสนับสนุนให้บริษัทใหญ่ที่ขาดแคลนกำลังคนทักษะใหม่ๆ ไปจัดเทรนนิ่ง หากต้องใช้เงินจริงๆอยากให้รัฐลงทุนตรงนี้ เพื่อให้ได้คนมีศักยภาพ น่าจะเป็นทางออกที่ดี

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image