คิดเห็นแชร์ : ไม่ใช่แค่น้ำมันแพง ก๊าซ LNG ก็ (โค-ตะ-ระ) แพง!

คิดเห็นแชร์ : ไม่ใช่แค่น้ำมันแพง ก๊าซ LNG ก็ (โค-ตะ-ระ) แพง!

คิดเห็นแชร์ : ไม่ใช่แค่น้ำมันแพง ก๊าซ LNG ก็ (โค-ตะ-ระ) แพง!

ระหว่างที่ผมเขียนบทความนี้ รัสเซียยังยึดกรุงเคียฟ (Kyiv) ไม่ได้นะครับ แต่ไม่ว่าผลของสงครามที่ยูเครนคราวนี้จะจบลงแบบใด ผลของสงครามจะส่งผลกระทบที่กว้างขวาง และยาวนานต่อระบบภูมิรัฐศาสตร์ด้านพลังงานของโลกแน่นอนครับ

ผมขอปูพื้นก่อนนะครับว่าก๊าซ LNG เป็น “ก๊าซคนรวย” ด้วยต้นทุนการผลิตที่สูง เพราะว่าต้องแปลงสภาพก๊าซธรรมชาติ ไปๆ กลับๆ ระหว่างสถานะ “ก๊าซ (Gasified)” และ “ของเหลว (Liquefied)” ถึงอย่างน้อย 2 ครั้ง เพื่อที่จะขนส่งได้ในปริมาณมากได้ระยะทางไกล อีกทั้งการเก็บรักษาและขนถ่ายก๊าซก็แพง เพราะต้องลดอุณหภูมิลงเหลือ -170 เพื่อรักษาสภาพความเป็น “ของเหลว (Liquefied)” ตลอดระยะเวลาของการขนส่งและเก็บรักษาไว้ในถัง นอกจากสภาพต้นทุนที่แพงแล้ว ลักษณะตลาดก็ยังแคบ มีผู้เล่นไม่กี่ประเทศ และแต่ละประเทศที่ผลิตและใช้ LNG ก็เป็นประเทศที่มีรายได้สูงๆ ทั้งนั้น …ผมก็เลยขอมอบชื่อเล่นนี้ว่า “ก๊าซคนรวย”

ตลาด LNG – ก๊าซคนรวย ในโลกนี้มีอยู่ 2 จุดหลักๆ ก็คือ ตลาดยุโรป และตลาดในเอเชียที่มีญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพใหญ่ ที่ผ่านมาตลาดยุโรปจะได้เปรียบ เพราะว่าผู้ซื้อในยุโรปมีทางเลือกมากกว่า ว่าจะเลือกใช้ก๊าซธรรมชาติจากแหล่งใด เช่น ก๊าซท่อจากรัสเซีย ก๊าซท่อจากแอลจีเรีย ก๊าซท่อจากทะเลเหนือ หรือ LNG จากตะวันออกกลาง (เช่น Qatar) และ LNG จากทวีปอเมริกาเหนือ (เช่น จากสหรัฐอเมริกา หรือตรินิแดด) ในขณะที่ตลาดเอเชียมีแหล่งจำกัดมากกว่าเพราะแหล่งซื้อ-ขายหลัก จะมีแค่ LNG จากเกาะบอร์เนียว (เกาะเดียวที่มี 3 ประเทศแบ่งพื้นที่กัน) LNG จากตะวันออกกลาง LNG จากออสเตรเลีย และ LNG จากฝั่งตะวันตกของสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะเห็นว่า ด้วยเพราะในทวีปเอเชียไม่มีโครงข่ายระบบท่อก๊าซที่โยงใยเป็นใยแมงมุมแบบในยุโรป ทำให้ตลาด LNG ในเอเชียมี “Premium” หรือ มีราคาที่สูงกว่าในยุโรป

Advertisement

คราวนี้ เมื่อสงครามรัสเซีย-ยูเครน ระเบิดขึ้น ผลที่ตามมาก็คือ ราคา LNG ทั้งใน 2 ตลาดพุ่งทะลุฟ้า จากไม่ถึง 10 เหรียญต่อล้านบีทียู กลายเป็น 70-90 เหรียญต่อล้านบีทียู แถมการเคลื่อนไหวของราคารายวันก็ขยับกันครั้งละ 10 เหรียญต่อล้านบีทียู ทีเดียว แต่ผมคิดว่าผลกระทบนี้อาจจะเป็นเพียงแค่ระยะสั้น ผลระยะยาวอาจจะต้องติดตามกันต่อไปด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ

1.รัสเซียจะหันทิศทางการขายก๊าซทางท่อจากยุโรปมาขายเอเชียแทน โดยเฉพาะขายจีน และถ้าจีนทุ่มทุนสร้างโครงข่ายท่อก๊าซบนบกให้โยงใยไปถึงเกาหลี-ญี่ปุ่น หรือแม้แต่ไทย และเวียดนาม ก็ตาม โครงสร้างการค้าขายก๊าซธรรมชาติของโลกนี้ก็จะเปลี่ยนไป

2.ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นเจ้าพ่อ LNG ในเอเชีย อาจจะสูญเสียตำแหน่งผู้นำทางตลาด (Market Lead) ในตลาด LNG ก็เป็นได้ด้วย เพราะตลาด LNG ในปัจจุบันยัง “ลิงก์” หรือ ยึดโยงอยู่กับราคาน้ำมันดิบ และเงินสกุลดอลล่าร์อยู่ หากจีนทำตลาดค้าขาย LNG ใหม่ที่ “ดี-ลิงก์” หรือลดการยึดโยงกับราคาน้ำมันดิบและเงินดอลล่าร์ได้ละก็

Advertisement

…ผมว่าตลาด LNG และภูมิรัฐศาสตร์ด้านพลังงานของโลกอาจจะเปลี่ยนไปอย่างถาวรครับ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image