สินค้า-น้ำมันแพง ฉุดมู้ดสงกรานต์’65 ซึมรอบ 10 ปี ‘หอการค้า’ คาดเงินสะพัด 1.06 แสนล. ลดลง 5.4%
นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ประเมินว่าปีนี้เศรษฐกิจไทยพร้อมฟื้น จากผลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของประชาชนช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้ ส่วนใหญ่ไม่กังวลสถานการณ์โอมิครอน แม้ตัวเลขผู้ป่วยรวมเอทีเคติดเชื้อวันละ 5 หมื่นคน และสงกรานต์จะแพร่ขยายมากกว่านี้ แต่ไม่ใช่ปัจจัยบั่นทอน เพราะปัจจัยบั่นทองคือค่าครองชีพและราคาน้ำมัน
สำหรับราคาน้ำมันตอนนี้เริ่มมีสัญญาณที่ดีหลังสหรัฐอเมริกาและพันธมิตรนำน้ำมันสำรองฉุกเฉินออกมาใช้ 120 ล้านบาร์เรล จะเป็นตัวชี้ถ้าเติมน้ำมัน 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน จะใช้ได้อย่างน้อย 2 เดือน และไม่มีเหตุให้ราคาน้ำมันจะวิ่งขึ้นสูง แต่ช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมาจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ต้องเผชิญกับสภาะเงินเฟ้อ 5% ทำให้ราคาน้ำมันตลาดโลกวิ่งขึ้นสูงถึง 130 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แต่วันนี้ราคาน้ำมันอยู่ในตลาดสหรัฐอเมริกาต่ำกว่า 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จึงยังเป็นสัญญาณที่ดีต่อระบบเศรษฐกิจไทย
เงินสะพัด 1.06 แสนล.ขยายตัวลดลง5.4%
“สงกรานต์ปีนี้ซึมสุดในรอบ 10 ปี เพราะภาพบรรยากาศการเล่นสงกรานต์ไม่ชัดเจน ทางการประกาศไม่อยากให้มีการสาดน้ำ หลายที่งดจัดกิจกรรม ทำให้ไม่คึกคัก มาจากกังวลของแพง และเศรษฐกิจไม่ดี จึงระมัดระวังการใช้จ่าย ทำให้การใช้จ่ายช่วงสงกรานต์ปีนี้ลดลง 45.1% สูงสุดรอบ 17 ปีนับจากปี 2549 และคาดว่ามีเงินสะพัดอยู่ที่ 106,772.5 ล้านบาท ขยายตัวติดลบ 5.4% เมื่อเทียบปี 2564 มีเงินสะพัด 112,867 ล้านบาท และติดลบ 21.45% เมื่อเทียบปี 2562 เงินสะพัด 135,837 ล้านบาท” นายธนวรรธน์กล่าว
ส่วนใหญ่ชี้สงกรานต์ปีนี้ไม่สนุก
นายธนวรรธน์กล่าวว่า ด้านบรรยากาศของสงกรานต์มองว่าไม่สนุกสนานเหมือนปีที่แล้ว 46.2% สนุกสนานเหมือนเดิม 30.2% สนุกสนานน้อยกว่า 12.7% สนุกสนานมากกว่า 11% ขณะที่การจับจ่ายใช้สอยมาจากเงินเดือน/รายได้ตามปกติ 78.3% เงินออม 13.7% โบนัส/รายได้พิเศษ 4.7% เงินกู้ 1.8% เงินช่วยเหลือจากรัฐบาล 1.5% ส่วนความกังวลนั้น พบว่ามีความการแพร่ระบาดของโควิดมากที่สุด 63.3% ตามมาด้วยปัญหาการลวนลาม ละเมิดทางเพศ อุบัติเหตุ ความปลอดภัยในการเดินทาง การจราจรติดขัด
คนเน้นทำบุญมากกว่าซื้อของ สังสรรค์
ขณะที่การใช้จ่ายจะเป็นการทำบุญ 49.9% สินค้าอุปโภคบริโภค 22% สังสรรค์/จัดเลี้ยง 15.55 ซื้อสุรา 5.6% สินค้าคงทน เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องเรือน 5.4% สินค้าฟุ่มเฟื่อย เช่น เครื่องประดับ ทอง 1.6% ด้านสถานที่ท่องเที่ยวยังเป็นทะเล 43% ตามมาด้วยภูเขา สถานที่ท่องเที่ยวที่จัดทำขึ้น เช่น สวนน้ำ ล่องแก่ง น้ำตก สุขภาพ ธรรมชาติ
“เมื่อเทียบกับปี 2564 คนพร้อมเที่ยวมากขึ้น และเริ่มกลับมาซื้อของสินค้าคงทนถาวรมากขึ้น ส่วนสินค้าอุปโภคบริโภคพร้อมซื้อน้อยกว่า เพราะของเริ่มมีราคาแพง ต้องประหยัดในวงกว้าง แต่คนซื้อสินค้าคงทนเป็นคนชั้นกลางขึ้นไปที่มีเงินออม ขณะที่สินค้าอุปโภคบริโภคคนซื้อในสัดส่วนที่น้อยลงกว่า เพราะกังวลของแพง”
โดยการวางแผนเดินทางในช่วงสงกรานต์จะไปเที่ยวทำกิจกรรม 52.4% เช่น ในจังหวัดที่ตนอยู่ 40.3% เที่ยวในประเทศ 10.6% กลับบ้านและวางแผนไปเที่ยว 1.3% ไปท่องเที่ยวต่างประเทศ 0.2% โดยจังหวัดที่ได้รับความนิยม เช่น ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ กาญจนบุรี ตราด เชียงใหม่ เชียงราย น่าน นครราชสีมา เลย หนองคาย ภูเก็ต ตรัง นครศรีธรรมราช พังงา และกรุงเทพฯ ปริมณฑล โดยค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 4,779 บาท ส่วนใหญ่ไปเที่ยวเช้า-เย็นกลับ และค้างแรมมากกว่า 3 คืน เดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว เดินทางช่วงวันที่ 13 เมษายน กลับวันที่ 16 และ 17 เมษายน และเดินทางกับครอบครัว
คงกังวลโอมิครอนน้อยลง
นายธนวรรธน์กล่าวว่า ส่วนโอมิครอนทุกกลุ่มตัวอย่างยังมีความกังวลน้อย และอยู่ได้กับโควิด เพราะอาการไม่รุนแรง ไม่เสียชีวิต รักษาได้ ฉีดวัคซีนแล้ว ยกเว้นคนสูงอายุจะมัดระวังมากขึ้น โดยคนยังเชื่อว่าปรับตัวได้ ทำให้คนเริ่มใช้จ่ายใกล้เคียงปกติแทบทุกมิติ เช่น ออกทานข้าวนอกบ้าน ทำงาน ซื้อของในห้าง จะเห็นว่าในเขตเมืองและกรุงเทพฯ สถานที่ท่องเที่ยวเริ่มเต็มไปด้วยผู้คน เพราะคนเริ่มปรับตัวและจะอยู่ร่วมกับโควิดได้
“เรื่องของค่าครองชีพยังเป็นประเด็นที่มีผลกระทบมากในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ตอนนี้อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น แต่ภาคเอกชนยังไม่ได้ปรับตัวเรื่องการขึ้นราคามาก ถ้าช่วยกันประคับประคองเรื่องค่าครองชีพ หรือการขึ้นราคาสินค้า เศรษฐกิจพร้อมจะฟื้นได้ในกรอบที่เหมาะสม สัญญาณเงินเฟ้อในครึ่งปีแรกจะสูง เพราะฐานราคาน้ำมันสูง” นายธนวรรธน์กล่าว
มองเศรษฐกิจไทยยังขยายตัว3.5%
นายธนวรรธน์ประเมินว่า ในครึ่งปีหลังน่าจะประคับประคองได้ เพราะตอนนี้เริ่มเห็นสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน น่าจะนำไปสู่กรอบการเจรจาได้ง่ายขึ้น และเริ่มจะเปิดเส้นทางบินไปรัสเซีย และเห็นบรรยากาศการผ่อนคลาย ถ้าทำให้การแซงก์ชั่นรัสเซียอยู่ในโลกตะวันตก แต่ยังมีการจับจ่ายใช้สอย ปุ๋ยที่กังวลว่าจะแพง อาจจะมีสถานการณ์คลี่คลายตัวได้ ยังต้องติดตามภาวะเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 และมองว่าทั้งหมดจะทำให้เศรษฐกิจพร้อมจะฟื้นในครึ่งปีหลังนี้
สำหรับทรรศนะการขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจของไทยพบว่า 42.9% คาดว่าขยายตัวต่ำกว่า 2.5% สัดส่วน 24% คาดขยายตัว 2.51-3% และ 16.3% คาดขยายตัว 3.01-3.50% ในส่วนของมุมมองของศูนย์ยังมองว่ายังเติบโตใกล้เคียง 3.5% ภายใต้สมมุติฐาน 1.สถานการณ์โอมิครอนอยู่ในกรอบที่คนอยู่กับโอมิครอนได้แม้สัญญาณติดเชื้อ 5 หมื่นรายต่อวัน หรือมากกว่านี้ 2.การส่งออกยังขยายตัว 4-5% 3.สถานการณ์รัสเซีย-ยูเครนน่าจะค่อยๆ นิ่งและคลายตัวได้ แม้ยังมีการแซงก์ชั่น เชื่อว่าบรรยากาศน่าจะผ่อนคลายในไตรมาสที่ 2
4.คาดหวังรัฐบาลจะใช้มาตรการคนละครึ่งเฟส 5 เพราะยังมีความต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ เนื่องจากมาตรการกระตุ้นถูกใช้ไปหมดแล้ว หากเริ่มในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน เป็นช่วงให้คนเริ่มจับจ่ายใช้สอย จะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ โดยมุมมองเอกชนการใช้ มาตรการคนละครึ่งอีกครั้ง ด้วยวงเงิน 45,000 ล้านบาท จะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ในไตรมาสที่ 2
5.ส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านโครงการเราเที่ยวด้วยกันในช่วงรอยต่อไตรมาสที่ 2 และ 3 ก่อนที่การท่องเที่ยวจากต่างประเทศจะมีสัญญาณฟื้นตัวโดดเด่น 6.การผ่อนระบบเทสต์แอนด์โกให้มีอุปสรรคน้อยที่สุดในการเดินทาง 7.การดูแลค่าเงินบาทให้ทรงตัวอ่อนอยู่ที่ 33 บาทบวกลบจะเป็นผลดีต่อการส่งออก และ 8.การสนับสนุนให้เอกชนเข้าถึงสินเชื่อดูแลสภาพคล่องยังเป็นประโยชน์เศรษฐกิจ
นอกจากนี้จากการสอบถาม คนทำบุญมากถึง 49.9% จังหวัดใกล้ๆ อย่างอยุธยาเชื่อว่าจะมีคนไปมาก ทำให้โครงสร้างการจับจ่ายใช้สอยยังไม่เปลี่ยนแปลงจนผิดสังเกตุเพียงแต่ยังไม่กลับมาเป็นปกติเมื่อเทียบก่อนเกิดโควิด”
นายธนวรรธน์กล่าวว่า ด้านการวางแผนการท่องเที่ยวพบว่า 52.4% ไปเที่ยว และ 47.6% ไม่ไปเที่ยว เพราะน้ำมันแพง แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่ออกต่างจังหวัด ซึ่งบรรยากาศการไปเที่ยวปีนี้ต่างกับกับปีที่แล้วที่มีความกังวลสถานการณ์เดลต้าแพร่ระบาดรุนแรงเหมือนปีนี้ แต่รัฐบาลไม่ได้ห้ามมาก เพียงแต่ปีนี้โอมิครอนมียอดติดเชื้อค่อนข้างมากคนจะรู้สึกว่าไม่มีอาการรุนแรง คนเสียชีวิตเพราะไม่ฉีดวัคซีน
“การใช้จ่ายช่วงสงกรานต์ปีนี้ลดลง 45.1% สูงสุดนับจากปี 2549 หรือ 17 ปี ของแพง ความเสี่ยงสูง จึงไม่อยากใช้จ่ายมาก จึงระมัดระวัง แต่พอถึงหน้างานจริงๆ ยังจ่ายเหมือนเดิม และคุมการใช้เงิน โดยใช้เงินเดือนมาจับจ่ายมาสุด 78.4% จะไม่ใช้เงินออม
เงินสะพัดปีนี้ 106,772.5 ล้านบาท ขยายตัวติดลบ 5.4% เมื่อเทียบปี 2564 มีเงินสะพัด 112,867 ล้านบาท และติดลบ 21.45% เมื่อเทียบปี 2562 เงินสะพัด 135,837 ล้านบาท
หมายความว่าบรรยากาศสงกรานต์ปีนี้ไม่ค่อยคึกคัก คนระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอย เพราะของแพง ยังวิตกกังวลสถานการณ์โควิด ห่วงเศรษฐกิจยังไม่ฟื้น ขยายตัวน้อยลง 5.4%
ทั้งนี้ ทุกกลุ่มตัวอย่างยังมีความกังวลน้อยและอยู่ได้กับโควิด เพราะอาการไม่รุนแรง ไม่เสียชีวิต รักษาได้ ฉีดวัคซีนแล้ว ยกเว้นคนสูงอายุจะมัดระวังมากขึ้น ทั้งนี้ คนยังเชื่อว่าปรับตัวได้ ทำให้คนคนเริ่มใช้จ่ายใกล้เคียงปกติแทบทุกมิติ เช่น ออกทานข้าวนอกบ้าน ทำงาน ซื้อของในห้าง จะเห็นว่า ในเขตเมือง กรุงเทพฯ สถานที่ท่องเที่ยวเริ่มเต็มไปด้วยผู้คน เพราะคนเริ่มปรับตัวและจะอยู่ร่วมกับโควิดได้
เรื่องค่าครองชีพยังเป็นประเด็นที่มีผลกระทบมากในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ตอนนี้อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น แต่ภาคเอกชนยังไม่ได้ปรับตัวเรื่องการขึ้นราคามาก ถ้าช่วยกันประคับประคองเรื่องค่าครองชีพ หรือการขึ้นราคาสินค้า เศรษฐกิจพร้อมจะฟื้นได้ในกรอบที่เหมาะสม สัญญาณเงินเฟ้อในครึ่งปีแรกจะสูงเพราะฐานราคาน้ำมันสูง ในครึ่งปีหลังน่าจะประคองได้ ตอนนี้เริ่มเห็นสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน น่าจะนำไปสู่กรอบการเจรจาได้ง่ายขึ้น เริ่มจะมีการเปิดเส้นทางบินไปรัสเซีย และเห็นบรรยากาศการผ่อนคลาย และทำให้การแซงก์ชั่นรัสเซียอยู่ในโลกตะวันตก แต่ยังมีการจับจ่ายใช้สอย ปุ๋ยที่กังวลว่าจะแพง อาจจะมีสถานการณ์คลี่คลายตัวได้
ฉะนั้น การติดตามภาวะเศรษฐกิจอยู่ในไตรมาสที่ 2 ที่จะดูในมุมมองสถานการณ์น้ำมันที่ผ่อนคลาย การแซงก์ชั่นรัสเซียไม่กว้างขวาง การจับจ่ายใช้สอยกับรัสเซียในหลายสินค้าน่าจะเป็นประโยชน์ ทำให้เศรษฐกิจพร้อมจะฟื้นในครึ่งปีหลัง
เมื่อเปรียบเทียบการใช้จ่ายปี 2565 กับปี 2564 คนพร้อมเที่ยวมากขึ้น และเริ่มกลับมาซื้อของสินค้าคงทนถาวรมากขึ้น เช่น รถ บ้าน ส่วนสินค้าอุปโภคบริโภคพร้อมซื้อน้อยกว่า เพราะของเริ่มมีราคาแพง ต้องประหยัดในวงกว้าง แต่คนซื้อสินค้าคงทนถาวรเป็นคนชั้นกลางขึ้นไปที่มีเงินออม ซึ่งสินค้าอุปโภคบริโภคที่คนซื้อในสัดส่วนที่น้อยลงกว่า เพราะกังวลของแพง