‘เฟทโก้’ ส่งหนังสือถึง ‘รมว.คลัง’ ค้านเก็บภาษีหุ้น ชี้ฉุดหุ้นไทยเสียมากกว่าได้

‘เฟทโก้’ ส่งหนังสือถึง ‘รมว.คลัง’ ค้านเก็บภาษีหุ้น ชี้ฉุดหุ้นไทยเสียมากกว่าได้

เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (เฟทโก้) เปิดเผยว่า ในช่วงเช้าวันที่ 5 พฤษภาคม ที่ผ่านมา เฟทโก้ได้ทำหนังสือปิดผนึกส่งถึงนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อแสดงจุดยืนและความเห็นในเรื่องการเรียกเก็บภาษีการขายหุ้น เฉพาะ 0.1% ของมูลค่าขายตั้งแต่บาทแรกในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ที่ไม่เห็นด้วยกับมาตรการดังกล่าว เนื่องจากผลกระทบที่เกิดขึ้นจะกระทบเป็นลูกโซ่

โดยเฉพาะมูลค่าหลักทรัพย์ที่มีโอกาสปรับลดลง โดยครั้งนี้ได้ส่งความเห็นแบบเป็นลายลักษณ์อักษรไปให้แล้ว หากคลังต้องการหารืออะไรเพิ่มเติม ก็ยินดีที่จะเข้าไปให้ข้อมูลซ้ำอีก เพราะที่ผ่านมาก็ได้เข้าไปพูดคุยและให้ข้อมูล 2 รอบแล้ว โดยหากคลังยืนยันว่าจะดำเนินการจัดเก็บภาษีขายหุ้นจริง ในฐานะที่ต้องปฏิบัติตามก็คงต้องประเมินสถานการณ์หลังจากนั้นใหม่ แต่ก็หวังว่าคลังจะทบทวนแนวคิดดังกล่าวอีกครั้ง

นายไพบูลย์ กล่าวว่า รายละเอียดที่ส่งให้กระทรวงการคลัง มี 5 เรื่อง ได้แก่ 1.เฟทโก้ไม่เห็นด้วยที่จะมีการเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะจากการขายหลักทรัพย์ เนื่องจากจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสภาพคล่องของตลาด เป็นภาระและส่งผลกระทบต่อการซื้อขาย รวมถึงด้อยค่าหลักทรัพย์ที่ผู้ถือหุ้นถือครองอยู่ โดยเฉพาะนักลงทุนรายย่อยกว่า 2 ล้านคนท่ีลงทุนทางตรง และอีก 17 ล้านคนที่ลงทุนทางอ้อมผ่านกองทุนรวมและกองทุนสวัสดิการต่างๆ รวมถึงนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนต่างประเทศ โดยการศึกษาในต่างประเทศพบว่า การจัดเก็บภาษีดังกล่าวจะส่งผลให้ประชาชนต้องออมเพิ่มขึ้นอีก 2-3 ปี เพื่อให้มีเงินเพียงพอในยามเกษียณ

2.ภาระภาษีที่เพิ่มขึ้นจะเป็นต้นทุนท่ีเพิ่มขึ้นสาหรับ Market Markers (MM) ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตลาดทุนใหม่ๆ ที่ส่งผลต่อการพัฒนานวัตกรรมและขีดความสามารถในการแข่งขันของตลาดทุนไทยในเวทีโลก

Advertisement

3.ตลาดหลักทรัพย์ในประเทศที่พัฒนาแล้ว หากจัดเก็บภาษี จะนิยมให้การยกเว้นแก่กลุ่ม MM อาทิ ฮ่องกง อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน และกลุ่มกองทุน รวม กองทุนบานาญ กองทุนสวัสดิการ เพื่อลดผลกระทบต่อการออมการลงทุนของประชาชนในวงกว้าง และการพัฒนาเชิงนวัตกรรมของตลาดหลักทรัพย์ในประเทศ ซึ่งในกรณีของไทย นักลงทุนทั้ง 2 กลุ่มทำธุรกรรมขายรวมกัน 12-17% ของมูลค่าขาย ทั้งหมดในตลาด (สถาบันในประเทศ 7% และ MM 5-10%) ทำให้การยกเว้นภาษีต่อไปถือว่าคุ้มค่า หากเปรียบเทียบเม็ดเงินภาษีดังกล่าวกับผลประโยชน์ในวงกว้างต่อประชาชนและการพัฒนาศักยภาพของตลาดหลักทรัพย์ไทยในระยะยาว

4.อัตราภาษีธุรกิจเฉพาะ 0.1% ถูกกำหนดขึ้นตั้งแต่ปี 2534 เมื่ออัตราเปอร์เซ็นต์การซื้อขาย (commission) อยู่ที่ระดับ 0.5% ซึ่งจากสภาวะการแข่งขันทั้งในและ ต่างประเทศที่มีมากขึ้น อัตราเปอร์เซ็นต์การซื้อขาย จึงลดลงเหลือเพียง 0.08% ในปัจจุบัน ทำให้มูลค่าภาษีที่จัดเก็บตามอัตราภาษีที่ 0.1% และเมื่อรวมภาษี ท้องถิ่นอีก 0.01% เป็น 0.11% จะสูงถึง 0.7 เท่าของมูลค่าค่าธรรมเนียมการซื้อขายที่จัดเก็บในปัจจุบัน ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อขายอย่างมีนัยสาคัญ

โดยเฉพาะในภาวะที่ตลาดทุนทั่วโลกมีความผันผวนสูงจากสถานการณ์โควิด-19 สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน รวมทั้งการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งผลให้ดัชนีหุ้นทั่วโลก อัตราแลกเปลี่ยน และเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ มีความผันผวนมาก การจัดเก็บภาษีดังกล่าวจะเป็นการตอกย้าความผันผวนดังกล่าว

Advertisement

และ 5. ต้นทุนการระดมทุน (cost of capital) ที่สูงขึ้นเมื่อสภาพคล่องในตลาดลดลง ทำให้บริษัทจดทะเบียน (บจ.) ชะลอหรือลดการลงทุนขยายธุรกิจ มีกำไรลดลง ส่งผลกระทบต่อจีดีพีของประเทศ ภาษีนิติบุคคลที่บริษัทจ่ายได้จะลดลงตามไปด้วย ซึ่งผลเสียจะกระทบรุนแรงกับกลุ่มบริษัทขนาดกลางและเล็ก (เอสเอ็มอี) ที่มีทางเลือกของแหล่งเงินทุนที่จำกัดมากอยู่แล้วในปัจจุบัน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image