แบงก์ชาติ เปิดสาเหตุเงินทุนสำรองประเทศไทยลดลงมากในปัจจุบัน

แบงก์ชาติ เปิดสาเหตุเงินทุนสำรองประเทศไทยลดลงมากในปัจจุบัน

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ได้ออกมาให้ความรู้เกี่ยวกับเงินทุนสำรองและเสถียรภาพการเงินของไทย โดยระบุว่า

 

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเงินทุนสำรองและเสถียรภาพการเงินของไทย

Advertisement

 

ดร. เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุในงาน Meet the Press | 22 ก.ค. 65 ว่า

 

Advertisement

“เงินทุนสำรองฯ ของไทยที่ลดลงมากในปัจจุบัน หลัก ๆ เกิดจากการตีมูลค่าสินทรัพย์ (valuation) เป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เพราะเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นมาก ทำให้สินทรัพย์ในรูปสกุลเงินอื่น ๆ มีมูลค่าลดลงเมื่อตีกลับเป็นรูปดอลลาร์ และขอย้ำว่าเสถียรภาพด้านต่างประเทศของไทยยังแข็งแกร่งและต่างจากช่วงปี 40 โดยสิ้นเชิง”

 

อ่าน ส่องส่วนต่างดอกเบี้ยแบงก์ไทย เทียบ 4 ประเทศชั้นนำในอาเซียน

 

โดย 3 ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ

 

1.การตีมูลค่าสินทรัพย์ เป็นดอลลาร์สหรัฐฯ ปัจจัยหลักในปัจจุบัน

 

-ปกติธนาคารกลางไม่ได้ถือเงินทุนสำรองฯ เฉพาะในรูปสกุลเงินตอลลาร์สหรัฐฯแต่ยังถือรูปสกุลเงินอื่น ๆ ด้วย เช่น ยูโร ปอนด์ และ เยน

 

-ตั้งแต่ต้นปีที่เงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่า การตีมูลค่าสินทรัพย์สกุลอื่นๆ จึงมีมูลค่าลดลงเมื่อแปลงเป็นรูปสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ

 

2.การดำเนินนโยบายเพื่อดูแลค่าเงิน

 

ไทยดำเนินนโยบายค่าเงินลอยตัวแบบมีการจัดการ (managed float)

 

-เน้นดูแลค่าเงินไม่ให้ผันผวนสูงเกินไป จนกระทบการปรับตัวของเศรษฐกิจของแบงก์ชาติ

 

-มีความจำเป็นในการเข้าดูแลน้อยกว่าระบบค่าเงินแบบคงที่ (เช่น ผูกค่าเงินบาทไว้กับดอลลาร์สหรัฐฯ)

 

3.ผลตอบแทนจากการนำเงินทุนสำรองฯ ไปลงทุน

 

-ผลตอบแทนเป็นบวก (กำไร) เงินทุนสำรองฯ เพิ่มขึ้น

 

-ผลตอบแทนติดลบ (ขาดทุน) เงินทุนสำรองฯ ลดลง

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image