อัพเดตยอดใช้น้ำมันทุกชนิดตลอด 7 เดือนของปีนี้ กับสาเหตุที่รัฐต้องตรึงดีเซล!!

อัพเดตยอดใช้น้ำมันทุกชนิดช่วง 7 เดือนของปีนี้ กับสาเหตุที่รัฐต้องตรึงดีเซล!!

น.ส.นันธิกา ทังสุพานิช อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กล่าวว่า ภาพรวมการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง 7 เดือน(มกราคม – กรกฎาคม 2565) อยู่ที่ 151.04 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้น 13.5% โดยกลุ่มดีเซลเพิ่มขึ้น 16.2% น้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์ เพิ่มขึ้น 69.5% น้ำมันเตาเพิ่มขึ้น 18.9% แอลพีจีเพิ่มขึ้น 9.4% และการใช้เอ็นจีวีเพิ่มขึ้น 5.6% กลุ่มเบนซินเพิ่มขึ้น 2.4% และน้ำมันก๊าดลดลง 3.2% โดยความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นจากมาตรการภาครัฐที่ช่วยผลักดันเศรษฐกิจ อาทิ การผ่อนคลายการเดินทางเข้า-ออกประเทศ การเปิดสถานบันเทิง ราคาน้ำมันเริ่มลดลง

เมื่อแยกรายประเภท พบว่า กลุ่มเบนซินการใช้ช่วง 7 เดือน เฉลี่ย 29.80 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้น 2.4% แบ่งเป็น แก๊สโซฮอล์ 91 อยู่ที่ 7 ล้านลิตรต่อวัน อี20 อยู่ที่ 5.63 ล้านลิตรต่อวัน เบนซิน95 อยู่ที่ 0.54 ล้านลิตรต่อวัน แก๊สโซฮอล์ 95 อยู่ที่ 15.66 ล้านลิตรต่อวัน และอี85 0.97 ล้านลิตรต่อวัน

ขณะที่กลุ่มดีเซล 7 เดือนเฉลี่ย 73.44 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้น 16.2% จากมาตรการช่วยเหลือโดยตรึงราคาให้ไม่เกิน 30-35 บาทต่อลิตร จนถึงเดือนกันยายนนี้ โดยปริมาณการใช้ดีเซลถือว่าสูงมาก 73.44 ล้านลิตรต่อวัน ขณะที่กลุ่มเบนซิน 29.80 ล้านลิตรต่อวัน รัฐบาลจึงตัดสินใจตรึงดีเซลในช่วงที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน

Advertisement

การใช้น้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์ (Jet A1) เฉลี่ย 7.59 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้น 69.5% เนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการการบินและการเดินทางเข้า-ออกประเทศ โดยผู้เดินทางที่ถือสัญชาติไทยและชาวต่างชาติไม่ต้องลงทะเบียนผ่านระบบ Thailand Pass สามารถเดินทางเข้าได้ตามปกติ
ไม่ต้องกักตัว แต่ต้องแสดงเอกสารรับรองการได้รับวัคซีนครบ หรือผลตรวจ RT-PCR / Professional ATK ที่ออกภายใน 72 ชั่วโมงก่อนเดินทาง โดยไม่ต้องมีประกันสุขภาพ

การใช้แอลพีจี เฉลี่ย 18.17 ล้านกก.ต่อวัน เพิ่มขึ้น 9.4% เนื่องจากการใช้ในทุกภาคเพิ่มขึ้น โดยภาคขนส่ง 2.13 ล้านกก.ต่อวัน เพิ่มขึ้น 23.6% ภาคปิโตรเคมี 8.27 ล้านกก.ต่อวัน เพิ่มขึ้น 11.4% ภาคอุตสาหกรรม 2.03 ล้านกก.ต่อวัน เพิ่มขึ้น 10.2% และภาคครัวเรือน 5.74 ล้านกก.ต่อวัน เพิ่มขึ้น 2.2%

การใช้เอ็นจีวี เฉลี่ย 3.39 ล้านกก.ต่อวัน เพิ่มขึ้น 5.6% โดยราคาเอ็นจีวีปรับตัวสูงขึ้น ภาครัฐจึงได้ขอความร่วมมือ ปตท. ขยายระยะเวลาการคงราคาขายปลีกที่ 15.59 บาทต่อกก. และราคาขายปลีกสำหรับรถแท็กซี่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่ 13.62 บาทต่อกก. จนถึงวันที่ 15 กันยายน 2565 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนทุกภาคส่วน

Advertisement

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image