คิดเห็นแชร์ : แนวทางใหม่ สำหรับยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต

คิดเห็นแชร์ : แนวทางใหม่ สำหรับยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต

คิดเห็นแชร์ : แนวทางใหม่ สำหรับยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ผมมีแนวคิดเบื้องต้นว่า สังคมไทยต้องมีระบบการเรียนรู้คู่ขนาน ที่ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้จากแหล่งเรียนรู้นอกรั้วโรงเรียนและนอกรั้วมหาวิทยาลัย โดยแนวทางใหม่ๆ ผมขอนำเสนอโดยคร่าวๆ ดังนี้ครับ

จัดกระบวนการ Foresight KM เพื่อเลือกเฟ้นความรู้ที่คนไทยต้องรู้ในห้วงเวลานี้และในอีก 10 ปีข้างหน้า รวมทั้งแนวโน้มของโลก ความเปลี่ยนแปลงในอนาคตและศึกษาแนวทางการมองอนาคต “Strategic Foresight” เพื่อให้ได้ซึ่งข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและทิศทางการพัฒนา “กระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต” โดยมองอนาคตในมุมมองต่างๆ อาจต้องคาดการณ์ให้เห็นถึงเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นหรือฉากทัศน์ (Scenario) เนื่องจากสถานการณ์โลกปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในหลายมิติ จึงต้องรู้และเข้าใจปัจจัยที่เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น (Scenario Driver) ทั้งนี้การจัดการองค์ความรู้ ข้อมูล ข่าวสารทั้งในอดีตและปัจจุบันโดยใช้ระบบสารสนเทศที่ทันสมัย จะช่วยให้สามารถคาดเดาหรือพยากรณ์แนวโน้มที่อาจจะเกิดขึ้นได้แม่นยำยิ่งขึ้น ซึ่งถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญต่อการบริหารจัดการบนฐานความรู้ และกำหนดองค์ความรู้ เป้าหมายในแต่ละวาระ ผมเชื่อว่า OKMD จะสามารถมีบทบาทที่จะช่วยทำให้สังคมและประเทศชาติเห็นว่า “อะไรกำลังจะมา” ในอนาคต “อะไรคือเทรนด์” “ความรู้สำคัญอยู่ที่ไหน” โดยในช่วง 5 ปีแรกจะเน้นองค์ความรู้เหล่านี้ก่อน ได้แก่ องค์ความรู้ด้าน Financial Literacy, Digital Literacy, Health Literacy, Sustainability, Creative Space Architecture และ Human Capital Development

พัฒนาเยาวชนตามหลักการพัฒนาสมอง ผ่านกระบวนการอบรม บ่มเพาะพัฒนาทักษะแก่ เด็ก เยาวชน และถ่ายทอดให้ความรู้ผ่านสื่อดิจิทัลบนฐานการพัฒนาเนื้อหาองค์ความรู้สำหรับการพัฒนาศักยภาพและทักษะของวัยรุ่นเยาวชน โดยขับเคลื่อนองค์ความรู้กระจายสู่ภูมิภาคในเชิงรุกผ่านเครื่องมือเทคโนโลยีดิจิทัลที่หลากหลาย (Digital Knowledge Platform) ส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายเกิดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการสื่อสารเชิงดิจิทัลในรูปแบบต่างๆ โดยสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของประเทศที่มุ่งสู่การเติบโตเป็นประเทศไทย 4.0 เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ พัฒนาทักษะที่สอดรับกับทักษะในศตวรรษที่ 21

Advertisement

การจัดการองค์ความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพเศรษฐกิจฐานราก โดยจัดทำต้นแบบกระบวนการจัดการความรู้เพิ่มศักยภาพเศรษฐกิจฐานราก ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร นำองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม

มาสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับเกษตรกรไทย โดยใช้องค์ความรู้ซึ่งจะเชื่อมโยงข้อมูลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมต่างๆ จากหน่วยงานพันธมิตร โดยอยู่ภายใต้การให้คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรที่ลงมือปฏิบัติจนเกิดเป็นแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practices) แล้วส่งมอบต้นแบบกระบวนการจัดการความรู้ให้แก่หน่วยงานหลักหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ประโยชน์ต่อยอดขยายผลต่อไปได้

การจัดการองค์ความรู้ในเรื่องประวัติศาสตร์สังคม ประเพณี วัฒนธรรมและความเป็นไทย (Thainess) ซึ่งในการเผยแพร่องค์ความรู้ที่ถูกจัดทำขึ้นจะถูกนำเสนอในเครื่องมือที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นงานนิทรรศการ งานสัมมนาทางวิชาการ ซึ่งถือได้ว่าเป็นหนึ่งในรากฐานสำคัญของการพัฒนาบุคลากรของประเทศให้มีคุณภาพต่อไปในอนาคต

Advertisement

ส่งเสริมการอ่าน ตลอดจนเปิดโอกาสให้เด็ก เยาวชน และประชาชน ได้เรียนรู้ที่หลากหลาย จากสื่อสร้างสรรค์และกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ อาทิ นิทรรศการ การเสวนา การสาธิต การอบรมเชิงปฏิบัติการ การแสดง ฯลฯ โดยเป็นทางเลือกของการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่เด็กและเยาวชน ประชาชนทั่วไปสามารถแสวงหากิจกรรมที่เสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่ตนเองสนใจ รวมถึงเป็นเวทีแสดงความสามารถและผลงานการสร้างสรรค์ของเยาวชน

รณรงค์ส่งเสริมการอ่านในระดับเมืองหรือจังหวัด ให้ประชาชนเกิดความตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญของการอ่านหนังสือและการแสวงหาความรู้ และมีส่วนร่วมตามความต้องการของท้องถิ่นและสอดคล้องกับบริบทของจังหวัดพื้นที่เป้าหมาย

ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงความรู้ (Knowledge based Tourism) เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน กระตุ้นการท่องเที่ยวบนฐานองค์ความรู้ ส่งเสริมการเดินทางและท่องเที่ยวเพื่อแสวงหาความรู้โดยตรง โดยจัดให้มีผู้รู้ในเรื่องต่างๆ ร่วมเดินทางและแนะนำความรู้ในเชิงลึกให้กับผู้ร่วมเดินทาง

เร่งรัดพัฒนาพื้นที่ย่านวัฒนธรรมสร้างสรรค์ โดยเฉพาะในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ ที่ได้ร่วมมือทำงานเชื่อมโยงกับพันธมิตร องค์การ กลุ่มคนที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มนักเรียน นักศึกษา คนในชุมชน ผู้สูงวัย ศิลปิน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในการนำเนื้อหา (Content) ที่มีคุณค่าโดยเฉพาะเนื้อหาด้านประวัติศาสตร์ไทย โดยให้กลุ่มคนต่างๆ ได้เรียนรู้พร้อมทั้งสามารถเป็นผู้ถ่ายทอดเรื่องราวได้อย่างมีคุณภาพเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับครัวเรือน และชุมชนได้อีกครั้ง

พัฒนาระบบห้องสมุดออนไลน์ ที่สามารถกระจายโอกาสการเข้าถึงหนังสือให้กับเยาวชนและประชาชนได้อย่างทั่วถึง ช่วยลดปัญหาการเหลื่อมล้ำของประชาชนในสังคมในการเข้าถึงบริการภาครัฐ รวมทั้งส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ รักการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

พัฒนานิทรรศการเสมือนจริง (Virtual Exhibition) และจัดทำสื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ผ่านวิดีโอเกม Game and Learning รวมทั้งพัฒนาคลังข้อมูล-ความรู้ที่ให้บริการดิจิทัลคอนเทนต์ที่หลากหลาย อาทิ บทความ e-book คลิปวิดีโอ ไฟล์เสียงดิจิทัล ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ใน 4 มิติ คือ มิติที่ 1 การพัฒนาชีวิตและสร้างสังคมที่ดี ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ มีนิสัยใฝ่รู้ รู้จักคิด วิเคราะห์ รักการเรียนรู้ สอดรับกับทักษะในศตวรรษที่ 21 มิติที่ 2 ช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานที่ต้องการลดปัญหาความเหลื่อมล้ำของประชาชนในสังคมในการเข้าถึงองค์ความรู้อย่างกว้างขวางและครอบคลุมมากยิ่งขึ้นผ่านช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ มิติที่ 3 การประหยัดค่าใช้จ่าย เมื่อเข้ามาใช้บริการที่แหล่งเรียนรู้ต้นแบบ สามารถนำไปต่อยอดเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตได้ และมิติที่ 4 ประโยชน์อื่นๆ เช่น ความสนุกสนานเพลิดเพลิน การได้ติดตามเรื่องที่ทันสมัย การได้พบเจอเพื่อนใหม่ๆ และช่วยให้ต่อไปสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิผล เป็นต้น

ข้างต้นนี้เป็นแนวคิดที่ผมเตรียมนำมาจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) ของสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ หรือ OKMD คอยติดตามตอนต่อไปนะครับ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image