เปิดแนวคิดซีอีโอหญิงแกร่ง เมกาบางนา “พลินี คงชาญศิริ” ไม่ขีดกรอบแค่ศูนย์การค้า

เปิดแนวคิดซีอีโอหญิงแกร่ง เมกาบางนา “พลินี คงชาญศิริ” ไม่ขีดกรอบแค่ศูนย์การค้า

เปิดแนวคิดซีอีโอหญิงแกร่ง เมกาบางนา
“พลินี คงชาญศิริ” ไม่ขีดกรอบแค่ศูนย์การค้า

เหลืออีกไม่กี่วันก็จะโบกมือบ๊ายบาย ลาทีปีเสือที่แสนลำบาก ที่หลายคนบอกว่าเป็นการนับถอยหลังเพื่อเข้าสู่โหมดชีวิตที่ดีขึ้น หลังเจอมรสุมโควิด-19 มายาวนาน เจอสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ซ้ำเข้าอีก ทั่วโลกเจอข้าวยากหมากแพงจากต้นทุนสินค้าที่พุ่งสูงขึ้น ทั้งน้ำมัน การขาดแคลนวัตถุดิบอย่างพืชผลเกษตร และตามมาด้วยภาวะเงินเฟ้อในประเทศยักษ์ใหญ่ อย่างสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และสหภาพยุโรป และอีกหลายประเทศบนโลกใบนี้ รวมถึงปัญหาภายในของจีน ทั้งเรื่องฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ ปัญหาจากการเอาชนะโควิดเป็นศูนย์

แต่ไม่ว่าจะยังไง ชีวิตก็ต้องเดินต่อไป ธุรกิจก็ต้องปรับตัวสู้กับภาวะผันผวนและสิ่งที่ไม่คาดคิด!

ธุรกิจค้าปลีกเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เต็ม ๆ เช่นกัน จากช่วงแรกที่รัฐบาลสั่งล็อกดาวน์ ให้ทุกคนอยู่แต่ในบ้าน ศูนย์การค้า-ห้างสรรพสินค้าโดนปิด วันนี้เลยขอฟังไอเดียผู้บริหารธุรกิจค้าปลีก คุณพลินี คงชาญศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ศูนย์การค้าเมกาบางนา ที่มาถึงวันนี้ศูนย์การค้าเมกาบางนามีอายุครบ 10 ปี มาดูกันว่าทางทีมงานรับมือและฝ่าวิกฤตนี้ยังไง

Advertisement
พลินี คงชาญศิริ

คุณพลินีได้แชร์แนวคิดที่น่าสนใจเกี่ยวกับการทำงานสมัยก่อนเกิดโควิดว่า เราทำงานบนการอ้างอิงจากเทรนด์ หรือ Seasonal และพื้นฐานความต้องการของลูกค้า โดยอาจจะแยกเป็นกลุ่ม ๆ มีการวางแผนเพียงหนึ่งแผนและแผนสำรองอีกหนึ่งแผน แต่ตอนนี้ต้องมีแผนหลากหลายเป็น Scenario อาจจะมีถึง 4 – 5 แผนต่อ 1 งาน และการวางแผนงานต่าง ๆ ต้องคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยของลูกค้า ขณะที่งานจะต้องยังสามารถสร้างประสบการณ์ที่ดี และตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในยุค New Normal ให้ได้มากที่สุด

“วิกฤตการณ์โควิด-19 ทำให้ Retail Landscape ต้องปรับตัวมากขึ้นอันเป็นผลมาจากเทรนด์ทั้ง E-commerce และ Social Commerce ซึ่งก่อนหน้าก็เริ่มมีหลายๆ ธุรกิจกระโดดเข้ามาทำเรื่องนี้ แต่ในช่วงหลังจากเกิดโควิด ผู้คนเริ่มเรียนรู้และใช้ชีวิตอยู่กับสมาร์ทโฟนและสื่อออนไลน์มากขึ้น สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องลงมือทำอย่างจริงจังและปรับตัวอย่างเร่งด่วนคือ Online Shopping Platform จึงทำให้ Retail และหลาย ๆ ศูนย์การค้าตื่นตัวกับการทำ Omnichannel มากขึ้นตาม แต่เมกาบางนาไม่มีสินค้าเพื่อจำหน่าย สินค้าของเราคือพื้นที่และบริการ ประสบการณ์ที่ส่งมอบให้กับลูกค้า จึงเน้นการนำสื่อออนไลน์และเทคโนโลยีมาใช้สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกและสื่อสารกับลูกค้าเพื่อให้เข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น โดยได้นำเทคโนโลยีมาพัฒนาระบบ E-valet, Kids Tracker, Online Parking Reservation และ Indoor Navigating Directory ให้ลูกค้าสะดวกสบายเมื่อมาใช้บริการ”

Advertisement

คุณพลินีขยายความอีกว่า สิ่งที่ได้เรียนรู้คือเรื่อง Mall Culture ซึ่งคนไทยมีวัฒนธรรมการเดินห้างที่แข็งแรง จึงไม่คิดว่า ศูนย์การค้าแบบค้าปลีกจะหายไปจากเมืองไทย เพราะคนไทยชอบเดินห้าง อยู่ในแอร์เย็น ๆ และไลฟ์สไตล์ที่ชอบเดินศูนย์การค้าในช่วงวันหยุดหากไม่มีแผนไปเที่ยวก็ยังเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมหรือเป็นกิจกรรมอันดับต้น ๆ ของคนไทย แต่สิ่งที่จะตายและหายไปคือห้างแบบดั้งเดิมต่างหาก ห้างหรือศูนย์การค้าที่เน้นแค่ขายสินค้าและบริการ ขาดความน่าสนใจ เรื่องนี้คือโจทย์ที่ท้าทายของผู้บริหารศูนย์การค้าที่ต้องวางแผน และมีกลยุทธ์ในการสร้างความตื่นเต้นให้กับศูนย์การค้าตลอดเวลา ด้วย Offer ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าและการสร้างความแตกต่างในแบบที่สื่อออนไลน์ทดแทนไม่ได้

“Offer ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงแค่สินค้าหรือบริการเท่านั้น แต่หมายถึง Experience & Value ที่ให้ความรู้สึกมากกว่าการมาจับจ่าย เช่น ลูกค้าบางท่านอาจจะแค่อยากแต่งตัวสวย ๆ ออกมาลองกล้องมือถือที่เพิ่งซื้อมาใหม่ถ่ายรูปลงโซเซียลมีเดีย เราก็ต้องคิดว่า มีมุมไหนสวย ๆ ให้คนกลุ่มนี้เลือกมาที่เราหรือไม่ หรือถ้าจะพาคุณตาคุณยายที่อาจจะเดินไม่สะดวก ต้องการนั่งรถเข็นมาช้อปปิ้งกับที่บ้านได้ เราก็มีบริการรถเข็น มีทางลาดเชื่อมต่อส่วนต่าง ๆ ของศูนย์ให้ได้รับความสะดวกที่สุด ดังนั้น ศูนย์การค้าในวันนี้ คือ สถานที่ที่ลูกค้าจะมาสร้าง Journey x Experience x Moment และเป็น Stage for self-validation (เวทีที่แสดงคุณค่าของตัวเอง) ได้อีกด้วย”

ดังนั้น ภารกิจของศูนย์การค้าหลังจากที่ทุกอย่างคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น คือการดึงลูกค้าให้เข้ามาใช้บริการที่ศูนย์การค้ามากขึ้น นั่นคือการสร้างประสบการณ์ที่ลูกค้าจะหาไม่ได้
จากโลกเสมือนหรือการซื้อสินค้าออนไลน์ ซึ่งเมกาบางนาทำเรื่องนี้ได้อย่างโดดเด่น สิ่งที่ทำหลังจากโควิดรอบแรกคือการปรับปรุงภูมิทัศน์โซนเมกา ฟู้ดวอล์ค และการสร้างพื้นที่สีเขียวให้ลูกค้าได้นั่งพักผ่อนในบรรยากาศ Relax หรือแม้กระทั่งการดึงร้านค้า Magnet เปิดให้บริการที่เมกาบางนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความหลากหลายและเติมเต็มประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้ลูกค้า ตามแนวคิด “We CreateA Better Everyday Life for the Many People”

คุณพลินีบอกว่า แนวคิดนี้ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้น แต่กำหนดไว้ตั้งแต่เริ่ม “เมกาบางนา” ได้วางเป้าหมายให้เป็น Meeting Place (สถานที่เพื่อการพบปะสังสรรค์) ที่ดีที่สุด คำว่า “Many People” เมกาบางนาต้องการสื่อสารว่า เป็นศูนย์การค้าเพื่อตอบโจทย์ให้ครบทุกไลฟ์สไตล์ของทุกคนในครอบครัว จึงเป็นที่มาของการเปิดตัวโครงการ “เมกาซิตี้” (MEGACITY) โครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รูปแบบ “มิกซ์ ยูส” มูลค่ากว่า 67,000 ล้านบาท บนพื้นที่รวม 400 ไร่ เพื่อสร้างสถานที่ที่ตอบโจทย์คำว่า We Create A Better Everyday Life for the Many People คือการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของลูกค้า ตั้งแต่ตื่นจนเข้านอน

“สำหรับโครงการเมกาซิตี้ ก็เป็นอีกแผนพัฒนาระยะยาวของเมกาบางนาที่ต้องการสร้างเมืองที่ส่งมอบประสบการณ์ที่เหนือกว่า และกิจกรรมที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของลูกค้า รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของลูกค้าอย่างแยกกันไม่ออก ด้วยความได้เปรียบในเรื่องของพื้นที่ที่เรามีพื้นที่กว่า 400 ไร่ สามารถจะสร้างเมืองแห่งนี้ได้แบบไม่ไกลเกินฝัน ล่าสุด ได้เปิดตัว TOPGOLF @ MEGACITY สปอร์ตเอนเตอร์เทนเมนท์แห่งใหม่ ที่ให้ลูกค้าได้ทำกิจกรรมที่แตกต่างออกไป ซึ่งจะหาจากที่ศูนย์การค้าอื่นไม่ได้”

ถามถึงสถานการณ์ของศูนย์การค้าในปัจจุบัน คุณพลินีกล่าวว่า จำนวนผู้ใช้บริการของเมกาบางนาในปีนี้ นับจนถึงช่วงเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาเฉลี่ยเดือนละ 4 ล้านคน และบางเดือนตัวเลขกระโดดสูงกว่าปี 2562 ด้วย อย่างเดือนตุลาคม มีผู้ใช้บริการสูงสุดถึง 4.3 ล้านคน จึงคาดว่าตัวเลขรวมของปีนี้จะใกล้เคียงกับปี 2562 ซึ่งเป็นปีที่ดีที่สุดของเมกาบางนาช่วงก่อนเกิดโควิด นั่นคือประมาณ 48 ล้านคน”

และในปีนี้ เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เมกาบางนามีอายุครบรอบ 10 ปีพอดี แน่นอนว่าทางศูนย์ฯ ได้จัดกิจกรรมต่าง ๆ แบบ 360 องศา ตั้งแต่ต้นปี ทั้งการจัด Decoration ให้ลูกค้าได้ถ่ายภาพเป็นที่ระลึกเพื่อร่วมเฉลิมฉลองกับทางศูนย์ฯ การมอบรางวัลพิเศษ และแคมเปญโปรโมชั่น พร้อมทั้งยังมีไฮไลท์ส่งท้ายปี ซึ่งถือเป็น Best Time of the Year เป็น High Season ของธุรกิจศูนย์การค้า เมกาบางนาจึงทุ่มงบประมาณกว่า 70 ล้านบาทในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี (พ.ย.-ธ.ค.) จัดกิจกรรม Mega Happiness Season 2022 : The Magic Factory มาในธีม “โรงงานสร้างความสุข ส่งมอบของขวัญสุดพิเศษ” แบ่งกิจกรรมหลักเป็น 4 ส่วน คือ

1. Christmas Decoration : ภายใต้คอนเซ็ปต์ ‘The Magic Factory’ เรื่องราวของโรงงานของขวัญสุดมหัศจรรย์ในแอตแลนติก (Atlantic) ไฮไลท์อยู่ที่ต้นคริสต์มาสูงถึง 12 เมตร พร้อมด้วยเรื่องราวของซานตาคลอส และผองเพื่อน ที่ผนึกกำลังกันเตรียมของขวัญ

2. Mega Wish : ตั้งแต่วันนี้ – 3 มกราคม 2566 สมาชิกเมกา สไมล์ รีวอร์ดส ช้อปครบ 2,500 บาทขึ้นไป/ใบเสร็จ หรือใช้คะแนนเมกา สไมล์ รีวอร์ดส 3 คะแนน แลกรับ 1 สิทธิ์ ลุ้นรับของรางวัลรวมมูลค่ากว่า 1.8 ล้านบาท ผ่านแอพพลิเคชันเมกาบางนา อาทิ รางวัลใหญ่รถยนต์ HONDA CITY TURBO RS CVT, บัตรกำนัลแทนเงินสดจากร้านค้าที่ร่วมรายการ มูลค่า 100,000 บาท และของรางวัลอื่น ๆ รวมกว่า 31 รางวัล

3. Advent Calendar : โดยผู้เช่าภายในศูนย์กว่า 80 ร้านร่วมแคมเปญกับเมกาบางนาให้ลูกค้าลุ้นรางวัลใหญ่ได้ทุกวัน ทั้งหมด 68 รางวัล มูลค่ารางวัลละ 10,000 บาทขึ้นไป รวมกว่า 5 ล้านบาท อาทิ บัตรกำนัลแทนเงินสด เซ็ตเครื่องสำอาง เครื่องประดับ จี้เพชร เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องดนตรี หรืออุปกรณ์ไอที รวมไปถึงสินค้าแฟชั่น เป็นต้น ถือเป็นกลยุทธ์การสร้าง Relationship ที่ดีระหว่างศูนย์ฯ กับผู้เช่า ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ประสบความสำเร็จเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในทุกปี

และ 4. Mega Countdown 2023 งานเคาท์ดาวน์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออก พร้อมคอนเสิร์ตจากศิลปินชื่อดังระดับแถวหน้าของไทย ได้แก่ POLYCAT, MEAN X SLAPKISS, THE TOYS, BOWKYLION, COCKTAIL, SLOT MACHINE และ GETSUNOVA และร่วมเฉลิมฉลองส่งท้ายโอกาสครบรอบ 10 ปีศูนย์การค้าเมกาบางนาด้วยการแสดง แสง สี เสียงชุดพิเศษ

“ในปีนี้เริ่มจัดกิจกรรม On – Ground อย่างเต็มรูปแบบ แต่สิ่งที่เราให้ความสำคัญจะเป็นเรื่องของกิจกรรมที่สร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้า เติมเต็ม Moment และประสบการณ์ที่ดีขึ้นให้กับลูกค้า” คุณพลินีกล่าวถึงก้าวย่างของเมกาบางนาในวัย 10 ปี และก้าวต่อไปในปีที่ 11 ที่ยังเน้นการสร้างความยั่งยืนของการดึงดูดลูกค้ามาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นภารกิจสำคัญและท้าทายสำหรับทีมงานเมกาบางนาทุกคน จากโจทย์นี้จึงเป็นที่มาของการพัฒนาโครงการเมกาซิตี้อย่างที่กล่าวแล้ว เชื่อว่าเรื่องนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความยั่งยืนเรื่องของจำนวนผู้ใช้บริการที่จะเข้ามาใช้บริการในศูนย์การค้าได้ หากโครงการนี้แล้วเสร็จคาดว่าจะสามารถดึงดูด Visitation ได้มากถึง 250,000 คนต่อวัน

“ในอีก 10 ปีข้างหน้า ภาพที่เราจะเห็น คือภาพที่ได้วาดไว้ตั้งแต่ก่อตั้งเมกาบางนา นั่นคือการสร้างเมืองที่สมบูรณ์แบบ ให้ผู้คนสามารถใช้ชีวิต 24 ชั่วโมงได้อย่างมีคุณภาพ เดินทางได้สะดวก ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ากลุ่มครอบครัว ครบทุก Wallet Sizes เหมาะกับทุกกลุ่ม Community ทั้ง Family & Friend, Pet lover, Senior, Food Lover, Aging Society รวมไปถึง LGBTQ+” คุณพลินี กล่าวทิ้งท้าย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image