333 วัน สงคราม ‘ยูเครน-รัสเซีย’ สะเทือนเศรษฐกิจโลก กระทบ ‘พลังงาน-อาหาร’

REUTERS

ครบ 333 วัน สงคราม ‘รัสเซีย-ยูเครน’ สำรวจผลสะเทือนเศรษฐกิจโลก

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ ได้จัดทำบทวิเคราะห์ผลกระทบความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ที่จะครบ 333 วัน ในวันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม 2566 นี้ ดังนี้

การเผชิญหน้าระหว่างรัสเซียและยูเครนดำเนินมาเป็นระยะเวลากว่า 333 วันแล้ว นับจากวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 65 ที่รัสเซียเริ่มเข้าไปฏิบัติการพิเศษทางทหารในยูเครนด้วยชนวนเหตุจากกรณีพิพาทเรื่องดินแดน จนนำไปสู่การคว่ำบาตร รัสเซียจากนานาประเทศ

ผลจากความขัดแย้งดังกล่าวยังคงเป็นวิกฤตการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการค้า โลกมาจนถึงขณะนี้และยังคงดำเนินอยู่อย่างไม่มีท่าทีว่าจะสิ้นสุดลง

24 กุมภาพันธ์ เริ่มปฏิบัติการทางทหาร

พัฒนาการความขัดแย้งที่สำคัญตลอดช่วงระยะเวลา 333 วัน 3 วันก่อนเกิดการสู้รบในยูเครน รัสเซียประกาศรับรองเอกราชของแคว้นลูฮันสก์และโดเนตสก์ ที่ตั้ง อยู่ในภูมิภาคดอนบาสของยูเครน ซึ่งเป็นพื้นที่อิทธิพลของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่ฝักใฝ่รัสเซีย

Advertisement

หลังจากนั้น การสู้รบ ก็ได้เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 65 เมื่อรัสเซียเริ่มปฏิบัติการทางทหารโจมตียูเครน โดยให้เหตุผลว่าเพื่อรักษา สันติภาพในแคว้นลูฮันสก์และโดเนตสก์ และเพื่อปกป้องความมั่นคงจากการขยายอิทธิพลของชาติตะวันตก และ NATO

ชาติตะวันตก ประกาศคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ

ทางด้านชาติตะวันตกหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าทางการทหารกับรัสเซีย ด้วยการประกาศคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ เพื่อกดดันรัสเซียให้ยุติการปฏิบัติการ โดยในช่วง 3 เดือนแรกของการสู้รบทั้ง 2 ฝ่ายมีความพยายามที่จะเจรจา สันติภาพกันหลายครั้ง โดยมีตุรกีเป็นสื่อกลาง แต่การเจรจาก็หยุดชะงักลงตั้งแต่ช่วงเดือนพฤษภาคม 65 ซึ่งเป็นช่วงที่รัสเซีย เข้ายึดครองเมืองมาริอูปอล ซึ่งเป็นเมืองท่าและศูนย์กลางการขนส่งที่สำคัญในทะเลดำ

ทำให้การขนส่งสินค้าของยูเครน ออกจากท่าเรือในทะเลดำถูกปิดกั้น และเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่ฟินแลนด์และสวีเดนประกาศละทิ้งความเป็นกลาง ทางการทหารด้วยการสมัครเข้าเป็นสมาชิก NATO

Advertisement

ลงนาม Black Sea Grain Initiative

อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายเดือน กรกฎาคม 65 มีความคืบหน้าด้านบวก ที่สำคัญ คือการที่รัสเซียและยูเครนลงนามในข้อตกลง Black Sea Grain Initiative โดยมีตุรกีและสหประชาชาติเป็นสื่อกลาง เพื่อเปิดทางให้ยูเครนส่งออกธัญพืชและสินค้าเกษตรอื่น ๆ ผ่านทะเลดํา

ขณะที่ในอีกด้านหนึ่ง ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยุโรปในด้านพลังงานก็มีความตึงเครียดมากขึ้น เนื่องจากรัสเซียยุติการ จ่ายก๊าซธรรมชาติผ่านท่อ Nord Stream 1 ซึ่งเป็นช่องทางหลักในการส่งก๊าซไปยังยุโรป โดยให้เหตุผลว่า ผลจากมาตรการคว่ำบาตรของชาติตะวันตกทำให้รัสเซียยังไม่ได้รับคืนอุปกรณ์สำคัญของท่อส่งก๊าซที่ส่งไปซ่อมบำรุง พร้อมทั้ง ตั้งเงื่อนไขว่าจะไม่จัดส่งก๊าซจนกว่าจะมีการยกเลิกมาตรการคว่ำบาตร

โจมตีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยูเครน

หลังจากนั้นไม่นานรัสเซียก็เข้าไปโจมตี โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาปอริเซียของยูเครน จนสร้างความกังวลถึงการเกิดสงครามนิวเคลียร์ สถานการณ์ความขัดแย้งยกระดับความรุนแรงขึ้นอีกขั้นในช่วงเดือน กันยายน 65 หลังจากรัสเซียสั่งระดม กำลังสำรองเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 จำนวนกว่า 300,000 นาย ไปร่วมการต่อสู้ในยูเครน และ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 65 รัสเซียได้ประกาศผนวก 4 แคว้นของยูเครนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย ได้แก่ โดเนตสก์ ลูฮันสก์ เคอร์ซอน และซาปอริเชีย

ขณะที่ชาติตะวันตกไม่ยอมรับการผนวกดินแดนดังกล่าว และในวันเดียวกันยูเครน ก็ตอบโต้ด้วยการยื่นคำขอเข้าร่วมเป็นสมาชิก NATO ซึ่งขัดต่อเงื่อนไขการยุติการสู้รบที่รัสเซียเคยเสนอเมื่อครั้งที่มีการ เจรจาสันติภาพ หลังจากนั้นไม่นานก็เกิดเหตุระเบิดที่สะพานไครเมียโดยฝ่ายรัสเซียได้กล่าวหาว่า เป็นฝีมือของฝ่าย ยูเครน ซึ่งทำให้รัสเซียนำมาใช้เป็นข้ออ้างในการระงับข้อตกลง Black Sea Grain Initiative ชั่วคราว แต่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 65 ก็ได้มีการตกลงขยายระยะเวลาบังคับใช้ออกไปจนถึงเดือนมีนาคม 66

ในช่วงเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม 65 จนถึงปัจจุบัน การสู้รบมีแนวโน้มยืดเยื้อและยกระดับรุนแรงมากขึ้น เป็นลำดับ หลังรัสเซียยกระดับปฏิบัติการทางทหารด้วยการโจมตีโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานของยูเครนจนเสียหาย กว่า 50% ทำให้ยูเครนยืนยันว่าจะไม่ยอมเจรจาจนกว่ารัสเซียจะถอนกำลังทหาร และยอมรับอธิปไตยและบูรณภาพ 2 แห่งดินแดนของยูเครน

ขณะที่ชาติพันธมิตร NATO ให้คำมั่นว่าจะจัดส่งอาวุธยุทโธปกรณ์และให้การสนับสนุนทาง ทหารในการต่อสู้กับรัสเซียจนถึงที่สุด ฝ่ายรัสเซียก็มีการลงนามความร่วมมือทางการทหารครั้งใหญ่กับเบลารุสเมื่อช่วง ต้นเดือนมกราคม 66 สะท้อนว่าสถานการณ์ความขัดแย้งน่าจะยังไม่สิ้นสุดในเร็ววันนี้

ชาติพันธมิตรตะวันตก งัด 3 มาตรการศก.คว่ำบาตร รัสเซีย

3 มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจที่สำคัญ พันธมิตรชาติตะวันตกซึ่งนำโดย สหรัฐ สหภาพยุโรป (EU) และกลุ่ม G7 ได้ร่วมกันประกาศใช้มาตรการ คว่ำบาตรทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุมรอบด้านและรุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งเท่าที่เคยมีมา โดยหวังที่จะสร้างแรงกดดัน ต่อเศรษฐกิจรัสเซียอย่างหนัก เพื่อกดดันให้รัสเซียยุติการสู้รบ หรือเพื่อใช้เป็นเครื่องมือต่อรองในการเจรจา

การคว่ำบาตรด้านการเงิน การธนาคาร การลงทุน อาทิ การตัดธนาคารของรัสเซียออกจากระบบการ ชำระเงิน SWIFT การอายัดเงินสำรองของธนาคารกลางและสถาบันการเงินของรัสเซีย การห้ามลงทุนเพิ่มในรัสเซีย การคว่ำบาตรด้านพลังงาน อาทิ สหรัฐ สหราชอาณาจักร แคนาดา สั่งห้ามนำเข้าน้ำมันและก๊าซจากรัสเซียทั้งหมด, EU ระงับการนำเข้าถ่านหิน ระงับการนำเข้าน้ำมันดิบจากรัสเซียทางทะเล และจะห้ามนำเข้า ผลิตภัณฑ์น้ำมันจากรัสเซียตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 66

EU G7 และออสเตรเลียใช้มาตรการจำกัดเพดานราคาน้ำมันดิบ ที่นำเข้าจากรัสเซียที่ 60 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล

การคว่ำบาตรด้านการค้าสินค้าและบริการ อาทิ จำกัดการส่งออกสินค้าที่เกี่ยวข้องกับภาคอุตสาหกรรม ที่สำคัญทางเศรษฐกิจและการทหารของรัสเซีย เช่น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีขั้นสูง อุปกรณ์โทรคมนาคม เครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์ ทองคําและผลิตภัณฑ์ทองคำ ห้ามนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยจากรัสเซีย และระงับการให้บริการ ขนส่งสินค้าแก่รัสเซีย

ทางด้านรัสเซียก็ตอบโต้มาตรการคว่ำบาตรของชาติตะวันตก ด้วยการประกาศรายชื่อประเทศที่ไม่เป็นมิตรซึ่งเป็นประเทศที่ร่วมคว่ำบาตรรัสเซียจำนวน 48 ประเทศ เพื่อกำหนดมาตรการเฉพาะ อาทิ การห้ามส่งออก สินค้ามากกว่า 200 ประเภท เช่น ด้านโทรคมนาคม การแพทย์ยานพาหนะ การเกษตร และเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์

การห้ามธนาคารรัสเซียทำธุรกรรมเกี่ยวกับหุ้น หรือ การโอนหุ้น การกำหนดให้บริษัทรัสเซียจ่ายหนี้ต่างประเทศ ด้วยสกุลเงินรูเบิล ห้ามขายหุ้นในธนาคารและธุรกิจที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ต่อรัสเซีย ตลอดจนการห้ามส่งออก น้ำมันให้ประเทศที่ร่วมมาตรการจำกัดเพดานน้ำมันรัสเซีย

ผลพวงความขัดแย้ง กระทบ วิกฤตอาหาร

3 วิกฤตกระทบเศรษฐกิจ วิกฤตอาหาร ผลพวงจากความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานการผลิตอาหารโลก และทำให้ราคาอาหารเพิ่มสูงขึ้นมากตามอุปทานที่ลดลง เนื่องจากรัสเซียและยูเครนซึ่งเป็นผู้ผลิตและส่งออกธัญพืช รายใหญ่ของโลกหลายชนิด อาทิ ข้าวสาลี ข้าวโพด เมล็ดทานตะวัน และข้าวบาร์เลย์ การส่งออกสินค้าเหล่านี้ไปยัง ตลาดโลกได้ลดลง

นอกจากนี้ ราคาปุ๋ยและเคมีภัณฑ์ทางการเกษตรก็ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากรัสเซียเป็นผู้ส่งออก วัตถุดิบสำหรับปุ๋ยเคมีรายใหญ่ของโลก ทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูป รวมทั้งผลิตภัณฑ์อาหารต่าง ๆ ราคาสูงขึ้นตามไปด้วย ยิ่งไปกว่านั้น ความกังวลเกี่ยวกับการขาดแคลนอาหาร ทำให้มากกว่า 30 ประทศ ประกาศระงับการส่งออกสินค้าเพื่อความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ

ทั้งนี้ ข้อมูลจากองค์การอาหารและเกษตร แห่งสหประชาชาติ(FAO) ระบุว่า ในปี2565 ดัชนีราคาอาหารโลกอยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์โดยเพิ่มขึ้น 14.3% จากปีก่อน

ราคาน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติพุ่งสูงทั่วโลก

วิกกฤตพลังงาน การจำกัดการนำเข้าพลังงานจากรัสเซียตามมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซียของชาติตะวันตก ส่งผลให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากความกังวลว่าความขัดแย้งดังกล่าวจะกระทบต่ออุปทาน 3 ของการผลิตน้ำมันทั่วโลก เพราะรัสเซียเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันดิบรายใหญ่ของโลก และยังเป็นประเทศผู้ส่งออก ก๊าซธรรมชาติมากที่สุดในโลก

โดยราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุน การใช้เชื้อเพลิงในการแปรรูปเป็นพลังงานไฟฟ้า ภาคการขนส่ง และภาคการผลิตสินค้าอื่น ๆ ที่ใช้เชื้อเพลิงเป็นวัตถุดิบ อีกทั้งส่งผลกระทบทางอ้อมผ่านต้นทุนการผลิตและค่าขนส่ง ผลักดันราคาสินค้าโภคภัณฑ์ต่าง ๆ ให้เพิ่มสูงขึ้น

นอกจากนี้ การที่รัสเซียระงับการส่งออกก๊าซธรรมชาติไปยังยุโรป ยังส่งผลให้ประเทศในยุโรปซึ่งส่วนใหญ่พึ่งพาก๊าซ จากรัสเซียเผชิญความเสี่ยงด้านการขาดแคลนพลังงาน

ราคาพลังงานโลก เพิ่มสูงขึ้น 60%

ทั้งนี้ ธนาคารโลกรายงานข้อมูลดัชนีราคาพลังงานโลกในปี 2565 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 60% โดยราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 40.6% และราคาก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นถึง 65.4% วิกฤตเงินเฟ้อและค่าครองชีพ ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อ เป็นแรงผลักดันให้เงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น เป็นประวัติการณ์ ผ่านราคาพลังงานและอาหาร ทำให้ต้นทุนสินค้าบริการปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนกระทบ ค่าครองชีพและกำลังซื้อของประชาชน

โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดว่า เงินเฟ้อเฉลี่ยทั่วโลกจะเพิ่มจาก 4.7% ในปี 2564 เป็น 8.8% ในปี 2565 ซึ่งผลจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นในหลายประเทศทำให้ประเทศต่าง ๆ ต้องดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดเพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อ ด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้เกิดการชะลอการลงทุนของภาคการผลิตและการลดใช้จ่ายของผู้บริโภคและนำมาสู่การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก รัสเซีย-ยูเครน

วิกฤตการณ์ที่ฉุดรั้งเศรษฐกิจโลก ตลอดระยะเวลา 333 วันที่ผ่านมา นับตั้งแต่รัสเซียเข้าไปปฏิบัติการทางทหารในยูเครน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า วิกฤตการณ์ในครั้งนี้เป็นปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบรุนแรงที่สุดต่อเศรษฐกิจโลกในปี 2565 และยังส่งผลกระทบสืบเนื่อง มาจนถึงขณะนี้

โดยธนาคารโลกประเมินว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2565 จะขยายตัว 2.9% ซึ่งชะลอลงอย่างมากจาก ที่ขยายตัว 5.9% ในปี 2564 และต่ำกว่าคาดการณ์เมื่อต้นปีก่อนเกิดวิกฤตในยูเครนที่ 4.1% และนับจากนี้เศรษฐกิจ โลกจะเข้าสู่ภาวะชะลอตัวที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น บ่งชี้จากดัชนี PMI ภาคการผลิตโลกจนถึงเดือนธันวาคม 65 ที่ชะลอตัวลง ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 และอยู่ในภาวะหดตัวติดต่อกัน 4 เดือน

เศรษฐกิจโลก ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 30 ปี

และสอดคล้องกับที่ธนาคารโลกคาดการณ์ล่าสุดว่า เศรษฐกิจโลกในปี 2566 จะขยายตัวเพียง 1.7% ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวต่ำสุดในรอบกว่า 30 ปีหากไม่นับวิกฤต การเงินโลกในปี 2552 และปี 2563 ที่เกิดวิกฤตโควิด-19

ขณะที่การค้าโลกที่จะขยายตัวเพียง 1.6% การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่ชัดเจนขึ้นในช่วงปลายปี 2565 เริ่มแสดงให้เห็นถึงผลกระทบต่อ เศรษฐกิจของประเทศที่มีสัดส่วนพึ่งพาภาคต่างประเทศสูง หรือพึ่งพาการส่งออกมาก

เช่น ไทยที่การส่งออกสินค้า หดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 20 เดือน โดยหดตัวต่อเนื่องติดต่อกันในเดือนตุลาคม และ พฤศจิกายน 65 เช่นเดียวกับประเทศ อื่น ๆ ในภูมิภาคที่การส่งออกมีทิศทางชะลอตัวลง

และตราบใดที่วิกฤตรัสเซีย-ยูเครนยังยังคงดำเนินต่อไป ก็จะยังคงเป็น ความเสี่ยงสำคัญที่กดดันเศรษฐกิจและการค้าโลกที่อยู่ในภาวะชะลอตัวให้อ่อนแอลงไปอีก และจะส่งผลกระทบต่อ เส้นทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ในฐานะประเทศที่พึ่งพาภาคต่างประเทศในระดับสูง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image